Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10325
Title: แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั้งยืน : โรงแรมตากอากาศ
Other Titles: Architectural design guidelines for ecotourism and sustainable tourism development : resort hotels
Authors: เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: hvimolsi@arch.tu.ac.th, hvimolsiddhi@hotmail.com
Subjects: โรงแรม -- การออกแบบ
สถานตากอากาศ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การออกแบบสถาปัตยกรรม
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรงแรมตากอากาศเป็นอาคารสาธารณะที่มีประโยชน์ใช้สอยที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและคนทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ เพื่อผลประโยชน์ในทางธุรกิจ ในปัจจุบันเริ่มมีกระแสการเปลี่ยนแปลงแผนการท่องเที่ยวทั่วโลกเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน แนวทางการออกแบบโครงการประเภทนี้สถาปนิกและนักออกแบบเคยปฏิบัติกันมาในอดีต แน่ไม่อาจจะรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างสมบูรณ์และเป็นรูปธรรม เนื่องจากสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั่งยืนยังไม่มีรูปแบบและเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และยังมีข้อจำกัดในการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องใหม่ อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลา 3-5 ปีที่ผ่านมา ได้มีการตื่นตัวและมีความพยายามในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้มีลักษณะดังกล่าว ดังเห็นได้จากโครงการที่ได้รับรางวัลต่างๆ เช่น รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือรางวัลดีเด่นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษางานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั่งยืน และศึกษาโครงการตัวอย่างที่ได้รับรางวัลต่างๆ โดยศึกษาจากลักษณะทางกายภาพพร้อมกันนี้ได้ศึกษาความคิดเห็นจากสถาปนิกผู้ออกแบบ สถาปนิกแกนนำที่เป็นคณะกรรมการตัดสินให้รางวัลโครงการสถาปนิกแกนนำที่เคยมีผลงานด้านการออกแบบโครงการหรือผลงานด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถาปนิกแกนนำนักบริหารด้านการท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และความคิดเห็นจากผู้ใช้สอยอาคาร เพื่อนำไปสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการยอมรับลักษณะสถาปัตยกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั่งยืน สำหรับโรงแรมตากอากาศ เพื่อใช้สอบถามกลุ่มสถาปนิกและกลุ่มบุคคลทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มสถาปนิกและกลุ่มบุคคลทั่วไปมีความเห็นว่า สถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั่งยืน ควรให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและบริบททางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ท้องถิ่น ผสมผสานสอดคล้องกับเทคโนโลยีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ส่วนแนวทางการพัฒนาการออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายใน ควรเคารพสถานที่ตั้ง และสภาพดั้งเดิมของพื้นที่ สะท้อนสถาปัตยกรรมดั้งเดิมหรือเอกลักษณ์ท้องถิ่นมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ คำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติในการประหยัดพลังงาน มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เคารพต่อกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง มีการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง รวมทั้งคำนึงถึงชุมชนที่ตั้งและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันพบว่า ทั้งสองกลุ่มยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันบ้างในบางประเด็น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประสบการณ์ในการรับรู้ลักษณะสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั่งยืนที่แตกต่างกัน ดังนั้น สถาปนิกควรตระหนักถึงการรับรู้ลักษณะสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและยั่งยืนของกลุ่มบุคคลทั่วไปด้วย โดยการนำความคิดเห็นไปประกอบการพิจารณาในการออกแบบอาคารและโครงการต่อไป
Other Abstract: The paradigms in sustainable development and sustainable tourism have changed drastically at present, especially in ecotourism. Resort hotels which are created for commercial purpose are now more concerned about those movements. Thus, a new design and related methodology must be created as well as the new approach to tourism development. In fact, the concept of ecotourism and sustainable tourism development in terms of architecture still faces significant barriers and limitations. Its character and its identity are not quite identified. However, over the past 3-5 years the environmentally responsible design has been defined universally. General public and architects themselves are becoming more concerned in the environmental impact of the projects that they have created as can be seen in various awarded projects given by ASA (Association of Siamese Architects under Royal Patronage) and Ministry of Science Technology and Environment. In the first place, previous research studies and related theories had been used as a guideline. Secondly, awarded projects related to this research topic had been used as case studies as well as the opinions of the project architects. Then the leading architects who were members of the ASA award committee, building users, and experts in environmentally conscious design had been interviewed to provide the information basis for structuring a comprehensive questionnaire. Finally, the questionnaire dissecting the awareness of architecture for ecotourism and sustainable tourism development were delivered to architects and general public, 150 sibkects om eacj group. The results show that both architects and the general public agree that the architecture for ecotourism and sustainable tourism development should be responsive to the environment and cultural contexts, local identity and should be properly integrated to environmental management technology. Furthermore, the design guidelines in term of architecture, interior design, and landscape architecture have to be appropriate to the given region and reflect the vernacular architecture. Passive methods of energy-conserving strategies regarding the local climate should be incorporated. The approach in using proper materials which can minimize the use of new resources and the ecological effect has to be considered in architectural design. As architects and the general public have expressed different points of view on the same issue due to their own perception and experiences, architects must allow the latter to participate in design procedures, so that their viewpoints would be taken into considerations.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: 9743328033
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10325
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khiensak_Se_front.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_ch2.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_ch3.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_ch4.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_ch5.pdf883.83 kBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_ch6.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_ch7.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Khiensak_Se_back.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.