Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/108
Title: ผลของรูเปิดบนครอบฟันต่อการยึดเกาะของฟันปลอมบนรากเทียมที่ยึดด้วยซีเมนต์
Other Titles: The effect of crown venting on retention of cement-retained implant prosthesis
Authors: ณัฐวรรธน์ ปลื้มสำราญ, 2511-
Advisors: ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Parnupong.W@chula.ac.th
Subjects: ทันตกรรมรากเทียม
ฟันปลอม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา ผลของรูเปิดบนครอบฟัน และชนิดของซีเมนต์ ต่อการยึดเกาะของฟันปลอมบนรากเทียมที่ยึดด้วยซีเมนต์ วัสดุและวิธีการวิจัย: ยึดรากเทียมระบบ Spline (Calcitek, Carlsbad, CA) ในแท่งเรซิน ที่ละคู่จำนวน 4 ชุด ขันตัวหลัก ไททาเนียมเข้ากับตัวรากเทียมด้วยประแจควบคุมแรงบิดที่ 28.2 นิวตัน-ซ.ม. สร้างครอบฟันด้วยโลหะผสมนิเกิลโครเมียม ยึดครอบฟันโดยใช้ซีเมนต์สามชนิดคือ HY-Bond(R) (ซิงก์ฟอสเฟตซีเมนต์), IRM(R) (ซิงค์ออกไซด์ยูจินอลซีเมนต์เสริมแรงอัด) และ Resiment(R) (เรซินซีเมนต์) นำไปทำเทอร์โมไซคลิง (Thermocycling) ที่อุณหภูมิ 5 ํC, อุณหภูมิห้อง และที่ 55 ํC ใช้เวลา 30 วินาทีในแต่ละอุณหภูมิ จำนวน 1500 รอบ นำไปทำ ไซคลิกโหลดดิง (Cyclic loading) ด้วยเครื่อง Dynamic UTM Instron กำหนดแรงกดต่ำสุดและสูงสุด ที่ 125 และ 290 นิวตัน ตามลำดับ ความถี่ 5 Hz. จำนวน 100,002 รอบ นำไปทดสอบการดึงด้วยเครื่อง UTM Instron ที่ความเร็วในการดึง 5 มม./นาที จนครอบฟันหลุด บันทึกค่าที่ได้ไว้เพื่อนำไปคำนวณหาค่าเฉลี่ยแรงดึงที่ทำให้ครอบฟันหลุด จากนั้นเจาะรูบนครอบฟันแล้วทำการทดสอบในลักษณะเดียวด้วยซีเมนต์ทั้งสามชนิด แล้วนำผลทั้งหมดไปวิเคราะห์หาความแตกต่างทางสถิติ ด้วย Mann-Whitney U Test ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % (p is less than or equal to 0.05) ผลการทดลอง: ค่าเฉลี่ยแรงดึงที่ทำให้ครอบฟันหลุดในแต่ละชนิดของซีเมนต์ (n=10) ดังนี้ เมื่อไม่มีการเจาะรูที่ตัวครอบฟัน เรียงจากมากไปน้อยตามชนิดของซีเมนต์ IRM(R),Resiment(R) และ HY-Bond(R) มีค่า 254.44 +- 63.33, 233.50 +- 70.72 และ 191.22 +- 64.24 นิวตัน ตามลำดับ เมื่อทำการเจาะรูบนตัวครอบฟัน เรียงจากมากไปน้อยตามชนิดของซีเมนต์ Resiment(R),IRM(R) และ HY-Bond(R) มีค่า 312.72 +- 85.78 , 236.30 +- 77.16 และ 152.67 +- 54.98 นิวตัน ตามลำดับ วิเคราะห์ความแตกต่างที่ละคู่ทางสถิติ ได้ผลดังนี้ ค่าเฉลี่ยของแรงดึงที่ทำให้ครอบฟันหลุดระหว่างการที่มีกับไม่มีรูเปิดบน ครอบฟันไม่มีความแตกต่างกันเมื่อยึดด้วย HY-Bond(R) และ IRM(R) แต่มีความแตกต่างกันเมื่อยึดด้วย Resiment(R) กรณีไม่มีรูเปิดบน ครอบฟัน ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างซีเมนต์ทุกชนิด แต่ในกรณีมีรูเปิดบนครอบฟัน พบว่ามีความแตกต่างระหว่าง HY-Bond(R) กับ IRM(R) และมีความแตกต่างระหว่าง HY-Bond(R) กับ Resiment(R) แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่าง IRM(R)กับ Resiment(R) สรุปผลวิจัย: รูเปิดบนครอบฟันมีผลต่อค่าการยึดเกาะของฟันปลอมเมื่อทำการยึดด้วย Resiment(R) แต่ไม่มีผลเมื่อทำการยึดด้วย HY-Bond(R) และ IRM(R) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กรณีไม่มีรูเปิดบนครอบฟันพบว่าชนิดของซีเมนต์ไม่มีผลต่อการยึดเกาะของ ฟันปลอมบนรากเทียมที่ยึดด้วยซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กรณีมีรูเปิดบนครอบฟันพบว่าชนิดของซีเมนต์ มีผลต่อการยึดเกาะของฟันปลอมบนรากเทียมที่ยึดด้วยซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
Other Abstract: Objective: The purposes of this study are to study the effect of crown venting and type of cement on retention of cemented-retained implant prosthesis.Materials and Methods: Eight Spline Calcitek implants were mounted in acrylic resin blocks in pair. A titanium abutment was placed on each implant and torqued at 28.2 Ncm. The crowns were casted with Nikel-Cromium alloy in pair and tested with three different cements. The three cements were: HY-Bond(R) (Zinc Phosphate Cement), IRM(R) (Reinforced Zinc-oxide eugenol) and Resiment(R) (Resin cement). After cementation, implant-abutment-casting assemblies were thermocycled in water bath at 5 ํC, room temperature and 55 ํC for 30 second dwell time per bath and 1500 cycles. Cyclic loading was applied with Instron Dynamic UTM with peak load between 125 and 290 N at speed of 5 Hz. for 100,002 cycles. Samples were subjected to a pull-out test using Instron UTM at crosshead speed of 5 mm./min. The load required to de-cement each coping was recorded and mean values for each group calculated. The crowns were vented and tested with the same method with different cements mentioned. Mean and standard deviations of loads at failure were analyzed using Mann-Whitney U Test. Statistical significant was set at p[is less than or equal to] 0.05. Result: The mean values (+-SD) of loads in Newtons at failure (n=10) for the various cements were as follows: In non-vented crowns of IRM(R), Resiment(R) and HY-Bond(R) were 254.44 +- 63.33, 233.50 +- 70.72 and 191.22 +- 64.24, respectively. In vented crowns of Resiment(R), IRM(R) and HY-Bond(R) were 312.72 +- 85.78, 236.30 +- 77.16 and 152.67 +- 54.98, respectively. Statistical test revealed no significant difference between vented and non-vented crowns for HY-Bond(R) and IRM(R) except for Resiment(R). In non-vented crowns there were no significant differences among any cement. In vented crowns there were significant difference between HY-Bond(R) and IRM(R) and between HY-Bond(R) and Resiment(R), but no significant difference between IRM(R) and Resiment(R). Conclusion: Venting has effect on retention when using Resiment(R), but not with HY-Bond(R) and IRM(R) at p[is less than or equal to] 0.05. In non-vented crowns, type of cement has no effect on retention at p[is less than or equal] 0.05. In vented crowns, type of cement has effect on retention at p[is less than or equal] 0.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/108
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.591
ISBN: 9741721641
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.591
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nathawat.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.