Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11618
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชูเวช ชาญสง่าเวช | - |
dc.contributor.author | มงคล สมหมายไชยา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2009-11-02T03:02:04Z | - |
dc.date.available | 2009-11-02T03:02:04Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740302939 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11618 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ทำการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงจากคลังน้ำมันซึ่งเป็นกรณีศึกษาไปยังสถานีบริการน้ำมันที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ โดยมุ่งความสนใจไปที่การจัดสรรจำนวนรถขนส่งและหัวจ่ายน้ำมันแต่ละชนิดให้เหมาะสม โดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เวลาตั้งแต่ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจนกระทั่งรถขนส่งเดินทางไปถึงสถานีบริการหรือเวลาตอบสนองมีค่าไม่เกินระดับที่ลูกค้าต้องการ คือ 6 ชั่วโมง การวิจัยนี้ใช้แบบจำลองปัญหาเพื่อศึกษาการจัดสรรจำนวนรถขนส่งและหัวจ่ายน้ำมันแต่ละชนิด ให้สามารถลดเวลาตอบสนองในการสั่งซื้อน้ำมันของลูกค้าได้ภายในเวลา 6 ชั่วโมง โดยใช้เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมต่ำที่สุด จากผลการรันแบบจำลองปัญหาที่สร้างขึ้นเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของจำนวนรถขนส่งและหัวจ่ายน้ำมันแต่ละชนิดที่มีต่อเวลาตอบสนอง พบว่า การเพิ่มจำนวนรถขนส่งน้ำมันเบนซิน 91, เบนซิน 95 และดีเซลจากเดิมชนิดละ 10 คัน เป็น 12, 13 และ 18 คัน และการลดจำนวนหัวจ่ายน้ำมันแต่ละชนิดจาก 3 หัวจ่าย เหลือ 2 หัวจ่าย ทำให้เวลาตอบสนองมีค่าไม่เกิน 6 ชั่วโมง โดยใช้เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายในการเพิ่มรถขนส่งจำนวน 13 คันเท่ากับ 42,509,313.60 บาท ในขณะที่การลดจำนวนหัวจ่ายน้ำมันลง 3 หัวจ่ายและนำไปใช้ประโยชน์อื่น สามารถเพิ่มรายได้เท่ากับ 89,902,080 บาท ดังนั้น การจัดสรรจำนวนรถขนส่งและหัวจ่ายน้ำมัน นอกจากจะสามารถแก้ปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นได้แล้ว ยังทำให้มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 47,392,776.40 บาทอีกด้วย การจัดสรรจำนวนรถขนส่งและหัวจ่ายน้ำมันโดยใช้เทคนิคการจำลองแบบปัญหา สามารถแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งน้ำมันโดยใช้เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมไม่มากนัก โดยมุ่งเน้นการลดเวลารอรับบริการจากรถขนส่งและหัวจ่ายลง ในขณะที่การวิจัยอื่นในด้านนี้ มุ่งเน้นการลดจำนวนเที่ยวและเวลาในการจัดส่งน้ำมันโดยการจัดเส้นทางรถขนส่งน้ำมัน การนำวิธีการทั้ง 2 วิธีมาใช้ควบคู่กันอย่างเหมาะสมและถูกวิธี จะช่วยให้คลังน้ำมันมีประสิทธิภาพในการจัดส่งน้ำมันมากขึ้น สามารถลดต้นทุนและจัดส่งน้ำมันแก่ลูกค้าได้ทันต่อความต้องการ | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis involves research for solving the tardiness problem in petrol distribution from petrol terminal to the gas stations. The focus is on each petrol type tank truck and loading arm suitable allocation. The purpose is the reduction of time spent from customer's order receipt until the tank truck arrival at the gas station (response time) to be not more than 6 hours as per customer's requirement. The simulation technique is used to reallocate each petrol type tank truck and loading arm for the reduction of response time until it is lower than 6 hours with lowest investiment and expenses. The simulation for the studying of the effect between the number of tank truck & loading arm and response time shows that the increase of the number of tank trucks from 10 trucks to 11, 13 and 18 trucks, respectively for Benzene 91, Benzene 95 and Diesel and the decrease of the number of each petrol type loading arm from 3 to 2 arms can improve the response time to be not more than 6 hours. The investiment and expenses for 13 trucks increment is 42,509,313.60 Baht. Three idle loading arms are assigned for another usage and an extra income of 89,902,080 Baht is obtained. Therefore, the tardiness problem can be solved and a net income of 47,392,776.40 Baht is achieved in the process. The tank truck and loading arm allocation can solve the tardiness problem and involve not much investment and expenses. It concentrated on tank truck and loading arm waiting time decrement. Most of the previous works in this area concentrated on transportation time and round decrement. However, the use of these 2 methods together enables the terminal to transport petrol more efficiently, and helps reduce cost and ensures more customer satisfaction. | en |
dc.format.extent | 13138665 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | น้ำมันเชื้อเพลิง -- การขนส่ง -- ไทย | en |
dc.title | การแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้เทคนิคการจำลองแบบปัญหา | en |
dc.title.alternative | Solving the tardiness problem in petrol distribution by simulation technique | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chuvej.C@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mongkol.pdf | 12.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.