Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12251
Title: การย่อยสลายพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโดยแบคทีเรียที่ย่อยสลายอะซีแนพธีน
Other Titles: Biodegradation of polycyclic aromatic hydrocarbons by acenaphthene degrading bacteria
Authors: อรสุภาว์ สายเพชร
Advisors: สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: fscisth@chulkn.car.chula.ac.th
Subjects: การย่อยสลายทางชีวภาพ
โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน
แบคทีเรีย
อะซีแนพธีน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กลุ่มแบคทีเรีย ซึ่งคัดแยกได้จากตัวอย่างน้ำเสียที่ปนเปื้อนจากน้ำมัน น้ำมันเครื่องสามารถย่อยสลายอะซีแนพธีน ฟีแนนทรีน ฟลูออรีน และฟลูออแรนธีน เพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงานได้ กลุ่มแบคทีเรียดังกล่าวประกอบด้วยแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ SP2 เป็นหนึ่งในแบคทีเรียที่คัดแยกจากกลุ่มแบคทีเรีย จำแนกชนิดโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีวเคมี ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16 เอสไรโบโซมัลดีเอ็นเอ Sphingomonas sp. สายพันธุ์ SP2 สามารถย่อยสลายอะซีแนพธีน เพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงานได้ แต่ไม่สามารถย่อยสลายแนพธาลีน อะซีแนพธิลีน ไดเบนโซฟูแรน ฟีแนนทรีน แอนทราซีน ฟลูออรีน ฟลูออแรนธีน และไพรีนได้ โดยสามารถย่อยสลายอะซีแนพธีนความเข้มข้น 900 มก.ต่อลิตร ได้ภายใน 6 วัน ตรวจสอบปริมาณอะซีแนพธีนที่ลดลงโดยไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี การย่อยสลายอะซีแนพธีนโดย Sphingomonas sp. สายพันธุ์ SP2 พบสารมัธยันตร์ทั้งหมด 6 ชนิด ภายหลังจากการเลี้ยงเชื้อ 54 ชั่วโมง และตรวจสอบชนิดของสารมัธยันตร์หลัก 3 ชนิด โดยโครมาโตกราฟีแบบแผ่นบาง และไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี พบสารมัธยัตร์ที่มีลักษณะคล้ายกับอะซีแนพธีนควิโนน และกรดแนพธาลีน 1,8-ไดคาร์บอกซิลิก โดยเทียบกับสารมาตรฐาน Sphingomonas sp. สายพันธุ์ SP2 ถูกยับยั้งการเจริญ และการย่อยสลายอะซีแนพธีน เมื่อโคเมตาบอลิสมร่วมกับ แนพธาลีน อะซีแนพธิลีน และไดเบนโซฟูแรน แต่ละชนิด ที่ความเข้มข้น 200, 75 และ 75 มก.ต่อลิตร ตามลำดับ
Other Abstract: A bacteria consortium, isolated from waste water contaminated with gas and oil, was found capable of degrading a range of PAHs including phenanthrene, acenaphthene, fluorene and fluoranthene. The consortium contains three predominant isolates, one of which was identified as Sphingomonas sp. Via its morphological and biochemical characteristics along with 16S rDNA gene sequencing and consequently designated as Sphingomanas sp. SP2. The organism was able to use acenaphthene as carbon and energy source but unable to use naphthalene, acenaphthylene, dibenzofuran, phenanthrene, anthracene, fluorene, fluoranthene, and pyrene. Cultivation of the organism in minimum medium supplemented with acenaphthene. revealed that the organism could utilize 900 mg/L acenaphthene down to undetectable amount via HPLC within 6 days of which six metabolic products were detected by TLC after 54 h of cultivation. The three major metabolites were further isolated, purified and identified by TLC and HLPC with reference to standard compounds, one of which was likely either acenaphthenequinone or naphthalene 1,8-dicarboxylic acid. It was also found that growth and degradative ability toward acenaphthene of Sphingomanas sp. SP2 was inhibited during cometabolism with 75 mg/L acenaphthene, 200 mg/L naphthalene or 75 mg/L dibenzofuran.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12251
ISBN: 9741732023
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aornsupa.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.