Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12750
Title: ผลกระทบด้านการจราจรของการจำกัดช่องจราจรสำหรับรถยนต์บรรทุกบนทางหลวง
Other Titles: Impact of truck lane restriction on highway traffic
Authors: ปิติ โรจน์วรรณสินธุ์
Advisors: เกษม ชูจารุกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kasem.Choo@Chula.ac.th, kasem.c@eng.chula.ac.th
Subjects: ช่องเดินรถบรรทุก -- ไทย -- กรุงเทพฯ
จราจร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลกระทบด้านการจราจรของการจำกัดช่องจราจรสำหรับรถยนต์บรรทุกบนทางหลวง โดยพิจารณารูปแบบการจำกัดช่องจราจร 4 รูปแบบ ได้แก่ การไม่มีการจำกัดช่องจราจรสำหรับรถยนต์บรรทุก การให้รถยนต์บรรทุกใช้ช่องจราจรช่องซ้าย การให้รถยนต์บรรทุกใช้ช่องจราจรตรงกลาง และการให้รถยนต์บรรทุกใช้ช่องจราจรช่องขวา ในการศึกษานี้ผู้วิจัยประยุกต์ใช้การพัฒนาแบบจำลองสภาพการจราจรด้วยโปรแกรม PARAMICS โดยพิจารณาตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการจราจร ได้แก่ ความเร็วแตกต่างระหว่างรถยนต์ขนาดเล็กกับรถยนต์บรรทุก ความหนาแน่นของการจราจร และจำนวนการเปลี่ยนช่องจราจร ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการจำกัดช่องจราจรสำหรับรถยนต์บรรทุกที่เหมาะสม ผลจากการวิจัยพบว่า การให้รถยนต์บรรทุกใช้ช่องจราจรช่องซ้ายมีความเหมาะสมกับทั้งทางหลวง 3 ช่องจราจรไม่มีทางร่วมเข้าทางหลัก และทางหลวง 3 ช่องจราจรมีทางร่วมเข้าทางหลัก โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของทางหลวง ซึ่งวัดได้จากความเร็วแตกต่างระหว่างรถยนต์ขนาดเล็กกับรถยนต์บรรทุกที่เพิ่มขึ้น และความหนาแน่นของการจราจรบนทางหลวงที่ลดลง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจำกัดช่องจราจรสำหรับรถยนต์บรรทุกดังกล่าว ด้วยแบบจำลองสภาพการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ช่วงระหว่าง กม. 16+570 ถึง กม. 19+852 โดยจากการวิเคราะห์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าการให้รถยนต์บรรทุกใช้ช่องจราจรช่องซ้าย น่าจะสามารถเพิ่มความเร็วแตกต่างระหว่างรถยนต์ขนาดเล็กกับรถยนต์บรรทุกได้ 23% ในทิศทางขาเข้า และมากถึง 82% ในทิศทางขาออก และสามารถลดความหนาแน่นของการจราจรได้ 27% ในทิศทางขาเข้าและ 13% ในทิศทางขาออก และลดจำนวนครั้งในการเปลี่ยนช่องจราจร 2% ทั้งทิศทางขาเข้าและทิศทางขาออก
Other Abstract: To investigate the impact of truck lane restriction on highway traffic. Four types of truck lane restriction were analyzed, including no truck lane restriction, restricting trucks on the left lane, restricting trucks on the middle lane, and restricting trucks on the right lane. In this study, a traffic simulation model was developed using PARAMICS, considering 3 measures of effectiveness, i.e. the differential speed between car and truck, traffic density, and the number of lane changes. Results revealed that restricting trucks on the left lane was the most appropriate strategy for both 3-lane highway without entrance ramp and 3-lane highway with entrance ramp. With such strategy, traffic operation and mobility can be improved. The improvements can be seen by the increase in the differential speed between car and truck, and the decrease in traffic density. In addition, this study illustrated the efficiency of truck lane restriction by evaluating a case study of the National Highway number 338 between km.16+570 until km.19+852. Analysis results showed that the differential speed between car and truck can be increased by 23% for the inbound direction and 82% for the outbound direction. Traffic density was decreased by 27% and 13% for the inbound direction and outbound direction, respectively. In addition, the number of lane changes was decreased by 2% in both directions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12750
ISBN: 9741434723
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piti.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.