Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14223
Title: การหลีกหนีการเปิดรับของผู้ชมรายการโทรทัศน์วงเวียนชีวิตและรายการโทรทัศน์สกู๊ปชีวิต
Other Titles: Exposure escape of audiences of "Wong Wien Chevit" and "Scoop Chevit" TV programs
Authors: ภิญญาพัชญ์ ถิรกุลชญา
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์เนื้อหา
รายการโทรทัศน์
วงเวียนชีวิต (รายการโทรทัศน์)
สกู๊ปชีวิต (รายการโทรทัศน์)
การหลีกหนี (จิตวิทยา)
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบเนื้อหา (ภาพและเสียง) และวิธีการนำเสนอของรายการโทรทัศน์วงเวียนชีวิต ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และรายการโทรทัศน์สกู๊ปชีวิต ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 โดยเก็บรวบรวมข้อูลจากการศึกษาเทปรายการ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งสิ้น ผลการวิจัยพบว่า รายการโทรทัศน์วงเวียนชีวิต และรายการโทรทัศน์สกู๊ปชีวิต ได้มีการนำเสนอเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และได้มีการนำเสนอภาพที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของความถูกทอดทิ้งให้ต้องโดดเดี่ยวเดียวดาย ความอดอยากยากจน การสร้างภาระให้กับผู้สูงอายุ ปัญหาที่อยู่อาศัย และความทุพพลภาพของผู้สูงอายุ และยังรวมถึงเสียงบรรยายที่ได้เข้ามาเพิ่มบทบาทของภาพ เนื่องจากเสียงจะบรรยายในสิ่งต่างๆ ที่นอกเหนือจากการที่ภาพสามารถปรากฏออกมาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผลของการศึกษายังพบว่า บทบาทของเนื้อหาและวิธีการนำเสนอของรายการ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมรายการรู้สึกสงสาร หดหู่ เวทนา ดังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการหลีกหนีรายการดังกล่าวได้
Other Abstract: The purpose of this qualitative research about exposure escape of audiences of "Wong Wien Chevit” (Thai TV 3) and "Scoop Chevit” (BBTV Channel 7) TV programs is to understand the content components (vision and voice), as well as the presentation. All research data were collected through the use of video tape. Both programs focus on the quality of life of low-income senior citizens and deal with specific issues, such as loneliness, poverty, homelessness and illness. The research indicated that both program’s content and presentation caused viewers to feel compassion and pity for the subjects, which in turn leads to exposure escape of audiences.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14223
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.481
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.481
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinyapatch_th.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.