Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14581
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อวยพร เรืองตระกูล | - |
dc.contributor.author | ลลิตา สีลาลักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-02-05T08:07:00Z | - |
dc.date.available | 2011-02-05T08:07:00Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741424132 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14581 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินการผ่านช่วงชั้นในแต่ละองค์ประกอบที่ใช้เทคนิคการรวมคะแนนแบบพหุ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ (1) เพื่อศึกษาผลการประเมินการผ่านช่วงชั้นในแต่ละองค์ประกอบที่ใช้เทคนิคการรวมคะแนนแบบพหุ 3 เทคนิค ได้แก่ การรวมคะแนนแบบเกณฑ์ขั้นต่ำ (Conjunctive approach) การรวมคะแนนแบบชดเชย (Compensatory approach) และการรวมคะแนนแบบผสม (Mixed approach) (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินการผ่านช่วงชั้นระหว่างเทคนิคการรวมคะแนนแบบพหุที่ต่างกัน (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการรวมคะแนนแบบพหุที่เหมาะสมกับแต่ละองค์ประกอบของการประเมินการผ่านช่วงชั้นตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายที่ผู้วิจัยได้นำข้อมูลจริงมาวิเคราะห์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 618 คน จากโรงเรียนนำร่องในการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ที่มีคะแนนผลการสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (BET) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการวิจัยโดยการสังเคราะห์ความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญถึงแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการรวมคะแนน และพัฒนาเกณฑ์การตัดสินรวมทั้งเก็บข้อมูลคะแนนนักเรียนที่มาจากแหล่ง ข้อมูลต่างๆที่ได้จากการสังเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การรวมคะแนนนักเรียนด้วยเทคนิคการรวมคะแนนแบบพหุ 3 เทคนิค เพื่อศึกษาผลการรวมคะแนนแต่ละเทคนิคในแต่ละองค์ประกอบของการตัดสินการผ่านช่วงชั้น ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการรวมคะแนนด้วยสถิติ cochran’s Q และหาความสอดคล้องของผลการประเมินระหว่างเทคนิคการรวมคะแนนในแต่ละองค์ประกอบนำเสนอผลวิเคราะห์ที่ได้กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยการจัดสนทนากลุ่ม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะแนวทางการรวมคะแนนแบบพหุที่เหมาะสมกับแต่ละองค์ประกอบของการตัดสินการผ่านช่วงชั้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้(1) การรวมคะแนนด้วยเทคนิคการรวมคะแนนแบบชดเชย ส่งผลให้มีผู้ผ่านการประเมินมากที่สุดในทุกองค์ประกอบ และยังส่งผลให้มีผู้ผ่านการตัดสินการผ่านช่วงชั้นมากที่สุด รองลงมาคือ เทคนิคการรวมคะแนนแบบผสมและเกณฑ์ขั้นต่ำตามลำดับ (2) เทคนิคการรวมคะแนนที่ต่างกันส่งผลให้การประเมินแตกต่างกันทุกองค์ประกอบของการตัดสินการผ่านช่วงชั้น โดยเทคนิคการรวมคะแนนแบบเกณฑ์ขั้นต่ำเหมาะสมกับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เทคนิคการรวมคะแนนแบบชดเชยเหมาะสมกับการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ส่วนการประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้ถ้าเป็นโรงเรียนที่เน้นวิชาการมากเหมาะกับการรวมคะแนนแบบเกณฑ์ขั้นต่ำ ถ้าเน้นวิชาการปานกลางเหมาะกับการรวมคะแนนแบบชดเชยและผสม (3) เทคนิตการรวมคะแนนแบบเกณฑ์ขั้นต่ำเหมาะกับสถานศึกษาที่เน้นวิชาการมาก ส่วนเทคนิคการรวมคะแนนแบบผสมและชดเชยเหมาะกับสถานศึกษาที่เน้นวิชาการปานกลาง | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the results of grade level passing assessments in each factor of using multiple measures. The purpose can be devided in to 3 parts: (1) to study the results of grade level passing assessments in each factor of using multiple combining techniques; conjunctive, compensatory and mixed approaches (2) to compare the results of grade level passing assessments using multiple measures with different score combining techniques, (3) to suggest the suitable multiple combining techniques for each factor of grade level passing assessments in Based Education B.E. 2544 curriculum. This research used comparison method that using the real data analysis. The sample were 618 third grade level student in Based Education B.E. 2544 curriculum pilot school and examine Based Educational Test (BET) in Bangkok and surrounding. The research methodologies were to synthesize the specialists’s opinion in data sources that used for combining score, to develop decised criterions and to collecte student scores from those multiple sources, that were analyzed by combining score with multiple combining techniques, to study result of score combining in each factor of grade level passing assessments, and to test correlation by cochran’s Q test and find conform belong results of assessments among combining techniques in each factor. Take the results in a focus group of the specialists for giving the suggestion. The research findings were summarized as follow: (1) Score combining with compensatory approach causes the most students passing an assessment for all factors and caused those students decided about grade level passing assessments. New score combinings were mixed approach and conjunctive approach respectively. (2) Different score combining techniques caused differently assessable results for all factors. Conjunctive approach was suitable for satisfying characteristics assessment and developed student activity assessment, compensatory approach was suitable for reading, analysis and writing assessment. In content group assessment found that: 1) Conjunctive approach was suitable for high academic school, 2) compensatory and mixed approach were suitable for average academic schools. 3) Concisely, Conjunctive approach was suitable for high academic schools, while compensatory and mixed approaches were suitable for average academic schools. | en |
dc.format.extent | 8428772 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การวัดผลทางการศึกษา | en |
dc.title | การเปรียบเทียบผลการประเมินการผ่านช่วงชั้นที่ 3 ด้วยการวัดแบบพหุที่ใช้เทคนิควิธีการรวมคะแนนที่ต่างกัน | en |
dc.title.alternative | A comparison of the results of grade level passing assessments for the third grade level using multiple measures with different score combining techniques | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Auyporn.R@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Lalita.pdf | 8.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.