Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/149
Title: การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตสุราพื้นบ้านของชุมชนในประเทศไทย กรณีศึกษาการผลิตเหล้าขาวในจังหวัดเชียงรายและแพร่
Other Titles: An economic analysis of local liquor production : a case study of Chiang Rai and Phrae
Authors: ปิยวรรณ สุขศรี, 2520-
Advisors: นวลน้อย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Nualnoi.T@chula.ac.th
Subjects: สุรา--นโยบายของรัฐ--ไทย
อุตสาหกรรมสุรา--ไทย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิวัฒนาการทางการผลิต แบบแผนและกรรมวิธีในการผลิตสมการการผลิต ต้นทุน รายได้ และกำไรจากการผลิต รวมทั้งวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรค ในการผลิตและจำหน่ายเหล้าขาวของชุมชน โดยออกแบบสอบถามสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้ผลิตเหล้าขาว ในจังหวัดเชียงราย 35 ครัวเรือนและจังหวัดแพร่ 31 ครัวเรือน รวมเป็น 66 ครัวเรือน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทั้งในเชิงพรรณนาและในเชิงปริมาณ ซึ่งการวิเคราะห์สมการการผลิต มีการใช้รูปแบบสมการการผลิตแบบคอบบ์ดักลาส จากการศึกษาพบว่า การผลิตเหล้าขาวของชาวบ้านเป็นการผลิตในครัวเรือน ใช้แรงงานในครัวเรือนในการผลิต วิธีการผลิตไม่ซับซ้อน ลงทุนไม่สูง เหล้าขาวส่วนใหญ่ที่ผลิตทำจากข้าวเหนียวขาว ลูกแป้งเหล้าและน้ำ มีแรงแอลกอฮอล์ 40-50 ดีกรี ส่วนใหญ่ผลิตประมาณ 2-5 รอบต่อเดือน แต่ละรอบมีระยะเวลา 7-15 วันแล้วแต่สูตร กลุ่มตัวอย่างในจังหวัดเชียงราย ได้กำไรจากการผลิตเหล้าขาว 10.59 บาทต่อขวด หรือมีรายได้ (กำไร+ผลตอบแทนค่าแรงตนเอง) เท่ากับ 6,837.68 บาทต่อเดือน ส่วนกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดแพร่ได้กำไรแค่ 0.23 บาทต่อขวด สาเหตุที่ได้กำไรน้อย เพราะราคาขายต่อขวดต่ำมาก เนื่องจากเป็นการขายส่งให้พ่อค้าที่มารับไปขายต่อ มีการแข่งขันสูง และชาวบ้านผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการกำไรจากการผลิตเหล้า แต่ต้องการกากที่เหลือจากการกลั่นไปเลี้ยงสุกร ช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ และสามารถทำกำไรจากการขายสุกรได้ ส่วนรายได้จากการผลิตต่อเดือน (กำไร+ผลตอบแทนค่าแรงตนเอง) พบว่าเท่ากับ 3,961.88 บาท เมื่อวิเคราะห์สมการการผลิต พบว่า ปัจจัยการผลิตที่มีความสำคัญในการเพิ่มปริมาณเหล้า ได้แก่ ข้าว น้ำ และจำนวนวันหมัก ถ้าเพิ่มข้าวเหนียวขึ้น 1 กิโลกรัม เพิ่มจำนวนวันหมักขึ้น 1 วัน หรือถ้าเพิ่มปริมาณน้ำขึ้น 1 ลิตร จะผลิตเหล้าได้เพิ่มขึ้น 0.8256 ขวด 0.768 ขวด และ 0.0031 ขวด ตามลำดับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 รัฐอนุญาตให้มีการผลิตและจำหน่ายสุราได้อย่างเสรี แต่ยังไม่มีการเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตรายย่อยสามารถผลิตและจำหน่ายสุราได้ เนื่องจากมีความกังวลในด้านคุณภาพสุรา สิ่งแวดล้อม และรายได้ของรัฐ จากการศึกษาพบว่า การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ผลิตรายย่อยผลิตเหล้าขาว ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายสามารถทำได้เนื่องจาก ในการศึกษาครั้งนี้มีการส่งตัวอย่างเหล้าขาวไปตรวจ ไม่พบว่ามีสารให้โทษในสุราตามกฎหมาย และการผลิตของชาวบ้าน สามารถนำกากที่เหลือจากการกลั่นไปใช้ประโยชน์ได้ จึงไม่เหลือของเสียใดๆ และรัฐยังสามารถเก็บภาษีสุราและค่าใบอนุญาตเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากผู้บริโภคเหล้าขาวในปัจจุบันไม่ใช่ผู้บริโภคเหล้าโรงอยู่แล้ว ถ้ามีการอนุญาติให้ผลิตและเก็บภาษีอย่างถูกต้อง จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก เป็นการผลิตรายย่อย ดังนั้น การเก็บภาษีจะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: To study local liquor production pattern, production method, production function, cost, profit, and revenue, and to analyze obstructions in local liquor production and distribution. The survey was conducted on 35 producers (household) in Chiang Rai and 31 ones in Phrae, totally 66 households. The study employed descriptive and quantitative analysis, which Cobb-Douglas production function had been used. The study found local liquor is produced of white sticky rice, liquor powder ball, and water, having 40-50 degree of alcohol, with non-complicated technique and low investment. Most local liquor is produced 2-5 times a month, 7-15 days each time. Producers in Chiang Rai get profit of 10.59 baht each bottle or income (profit+labor payment) of 6,837.68 baht per month; whereas, those of Phrae get profit of 0.23 baht per bottle or income of 3,961.88 baht a month. This is because most of them sell liquor in low wholesale price and actually do not want profit from liquor sale but want leftover from liquor distillation to feed pigs, making lots of profit later. As for its production function, production factors that significantly increase liquor products are rice, water, and fermentation days. If 1 kilogram of rice, 1 fermentation day, or 1 liter of water is increased, liquor rises 0.8256, 0.768, and 0.0031 bottle, respectively. Since 1999 liquor production liberalization policy has been implemented. But all regulations still do not open a chance for a small producer due to concerns about liquor quality, environmental impact, and government revenue. Nevertheless, the study found that a small- scale production can produce good non-toxic liquor that leaves no waste and the government can collect more fee and liquor tax
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/149
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.519
ISBN: 9741705808
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.519
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.