Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18620
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์ | - |
dc.contributor.author | ดลฤดี สุจิตตานนท์รัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-24T09:47:15Z | - |
dc.date.available | 2012-03-24T09:47:15Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745646474 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18620 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับการพัฒนาการสอนสังคมศึกษาในประเทศไทย ในด้านหลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชา แบบเรียน สื่อการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผล 2.เพื่อเปรียบเทียบการสอนสังคมศึกษาของไทยในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การศึกษายังไม่เป็นแบบแผน (สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) จนถึงสมัยการศึกษาที่มีแบบแผน (สมัยรัชการที่ 5 ถึงสมัยปัจจุบัน) วิธีดำเนินการวิจัย การดำเนินการวิจัย ใช้วิธีศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปผลเสนอในรูปความเรียง ผลการวิจัย งานที่วิจัยนี้ได้ศึกษาพัฒนา การสอนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 1826 จนถึงปี พ.ศ.2524 ปรากฏว่าการเรียนการสอนสังคมศึกษา ปรากฏครั้งแรกในหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2438 และได้มีการปรับปรุงเรื่อยมา ทั้งในด้านหลักสูตร หนังสือเรียน กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนการสอนสอนระยะเวลาที่ใช้หลักสูตรแต่ละหลักสูตรแตกต่างกันไปไม่แน่นอน ในระยะแรกการเรียนการสอนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาพงศาวดารภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์ภูมิภาค ต่อมาได้ได้มีการเพิ่มวิชาจรรยาซึ่งในภายหลังขยายเป็นวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม วีการสอนใช้วิธีบรรยายครูเป็นศูนย์กลางการเรียน วัดผลการเรียนโดยการสอบปากเปล่า และการสอบข้อเขียน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอบปากเปล่าและสอบข้อเขียนด้วย การสอบข้อเขียนเป็นการทำสอบแบบที่เรียกในปัจจุบันว่าข้อสอบแบบอัตนัย การเรียนการสอนสังคมศึกษาของไทยในระดับมัธยมศึกษาที่นับได้ว่ามีการพัฒนามากที่สุดคือ หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบัน (ฉบับ พ.ศ. 2524) ซึ่งได้มีการปรับปรุงเป็นโครงการใหญ่ในด้านวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระหนังสือเรียน สื่อการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนการสอน จากการศึกษาพัฒนาการการสอนสังคมศึกษานี้พบว่า จุดมุ่งหมายสังคมศึกษานั้น มุ่งพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตลอดมา นับตั้งแต่การศึกษาอย่างไม่เป็นแบบแผนจนถึงสมัยปัจจุบัน หากแต่ขยายขอบเขตของความเป็นพลเมืองดีของชุมชน ไปสู่การเป็นพลเมืองดีของชาติและโลก เกี่ยวกับหนังสือซึ่งมีเพิ่มขึ้นมาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายเนื้อหาสาระในหลักสูตรที่มีการเพิ่มเติมรายวิชาและมีการบูรณาการแนวคิดของวิชาในหมวดสังคมศาสตร์มากขึ้น เพื่อขยายโลกทัศน์เกี่ยวกับชุมชนไปสู่โลกกว้าง ดังนั้นกระบวนการเรียนการสอนจึงได้พัฒนาจากการที่ครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้เป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้วิชาการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อค้นพบคำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวใหม่ ๆ และให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกทางวิทยาการและเทคโนโลยี และฝึกให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ จึงมีการใช้สื่อการสอนชนิดต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน อาจนำมาดัดแปลงใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน วิชาสังคมศึกษาได้เกือบทั้งสิ้น การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนสังคมศึกษา ได้ขยายจากการวัดความรู้ความจำ เป็นการประเมินผลพัฒนาของผู้เรียนให้ครบถ้วนทั้งด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัยและเจตพิสัย | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes 1.To study the data on the development of social studies instruction in Thailand concerning curriculum, objectives, content, textbooks, audio visual aids, instructional process and evaluation techniques in the push up to the present time. 2.To compare the methods of teaching social studies in the past and in the present time which were devided into non-formal education period (sukhothai period-the first part of Ratanakosintr period) and formal education period. (the reign of King Rama v-present) Procedures Research procedures are by means of analyzing and summarizing in description data collected from books, documents and other related research works. Result: The research was done on the development of Social studies at the secondary education level in Thailand from B.E.1826 to B.E. 2524. The instruction of social studies first appeared in Thai curriculum of B.E.2438. Gradual improvements concerning curriculum, textbooks, instructional process and evaluation were since them introduced. Period used in each curriculum varied. The instruction was initially about chronicle of physical and regional geography. Ethics, which became civics and morals, was added later. Lecture was a method of teaching, and teachers were the centre. Students’ achievement was assessed by either oral or written test (presently known as subjective test), or both. The current curriculum (B.E.2524) was considerably improved. Improvement was on objective, contents of textbooks, audio-visual media, instructional process and evaluation. This research showed that the aim of social studies teaching, from early non-formal education to the present education, was to make students good citizens for their community, then for their country and finally for the world. Quality and quantity of textbooks was improved greatly, to respond to the more increasingly integrated subjects in the curriculum and to extend community concept to wide world. The instructional process changed from teacher-center to learner-center. Students were encouraged in self-study to acquire new knowledge and to get along with academic progress and technological advances in the world. They were also trained how to think, act, and solve problems by themselves. Thus, audio-visual media were widely introduced. Almost everything in everyday life could be adapted as audio-visual media for social studies teaching. The instructional evaluation altered to evaluation of students’ cognitive, effective and psycho-motor development instead of knowledge measurement. | - |
dc.format.extent | 281930 bytes | - |
dc.format.extent | 276358 bytes | - |
dc.format.extent | 567779 bytes | - |
dc.format.extent | 998302 bytes | - |
dc.format.extent | 310328 bytes | - |
dc.format.extent | 835943 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.title | พัฒนาการการสอนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Development of social studies teaching at secondary education level in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | มัธยมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Donrudee_Su_front.pdf | 275.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Donrudee_Su_ch1.pdf | 269.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Donrudee_Su_ch2.pdf | 554.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Donrudee_Su_ch3.pdf | 974.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Donrudee_Su_ch4.pdf | 303.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Donrudee_Su_back.pdf | 816.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.