Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1961
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนกพร จิตปัญญา | - |
dc.contributor.author | ศิริจันทร์ ภัทรวิเชียร, 2513- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-19T04:37:56Z | - |
dc.date.available | 2006-08-19T04:37:56Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9741762623 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1961 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ใส่ท่อช่วยหายใจ 2) เปรียบเทียบความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตน และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่หลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (อายุ 18-59 ปี) ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมโดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกันในเรื่องเพศ อายุ ยาบรรเทาปวด และยาทำให้สงบที่ได้รับหลังผ่าตัดกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1.1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย 1.2 แบบประเมินความทุกข์ทรมานของ Johnson (1973) 2. เครื่องมือดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตนใช้แนวคิดของ Girvin (1999) ซึ่งประกอบด้วยแผนการสอนแนะการปฏิบัติตน แผนการสอนและคู่มือการปฏิบัติตนเพื่อลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 3. เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อลดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้วิจัยนำแบบประเมินความทกข์ทรมาน โปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตนและแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อลดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหา (content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน การหาความเที่ยงผู้วิจัยนำแบบประเมินความทุกข์ทรมาน โปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตน และแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อลดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจไปทดลองใช้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดและมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มที่จะศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ 1. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความถี่และร้อยละ 2. เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของระดับความทุกข์ทรมานระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนแนะการปฏิบัติตนและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ใส่ท่อช่วยหายใจมีระดับความทุกข์ทรมานมาก 2. คะแนนความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตนไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนเฉลี่ยความทุกข์ทรมานในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตนมค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเป็นปกติ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this quasi-experimental research was to study the distress level of postoperative patients with mechanical ventilation and compare the distress of postoperative patients with mechanical ventilation between the group received coaching regarding self practice program and the group received a routine nursing care. The sample consisted of 30 post opened-heart surgery patients ranging in age from 18-59 who admit in critical care unit at Ramathibodi Hospital and were selected into an experimental group and a control group. The two groups were similar in sex, age, the same of analgesic and sedative drugs. The experimental group received coaching regarding self practice program, while the control group received a routine nursing care. Collected data instruments were Distress Scale (Johnson, 1973) and a demographic data form. Experimental instrument was coaching regarding self practice program based on coaching concept (Girvin, 1999). The experimental instrument consisted of coaching regarding self practice plan, teaching plan, and self practice manual for decrease the distress of mechanically ventilated patients. The controlled-experimental instrument was interviewed form about practice to decrease the distress of mechanically ventilated patients. The Distress Scale, coaching regarding self practice program, and interviewed form about practice to decrease the distress of mechanically ventilated patients were tested for the content validity by 5 experts. For reliability, the Distress Scale and coaching regarding self practice program were used by post opened-heart surgery patients who similar to the subjects. Independent t-test was used for statistical analysis. Results were as follows: 1. Postoperative mechanically ventilated patients have severe distress. 2. The distress in mechanically ventilated patients receiving coaching regarding self practice program and receiving a routine nursing care were not significantly at the .05 level. | en |
dc.format.extent | 1048723 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เครื่องช่วยหายใจ--การฝึก | en |
dc.subject | ความทุกข์ | en |
dc.subject | หัวใจ--ศัลยกรรม--การพยาบาล | en |
dc.title | ผลของโปรแกรมการสอนแนะการปฏิบัติตนต่อความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ | en |
dc.title.alternative | Effect of coaching regarding self practice program on distress in mechanically ventilated patients | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirichan.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.