Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20221
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระพงษ์ บุญโญภาส | - |
dc.contributor.author | ชุลีมาศ อัตถจรรยากุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-06-10T03:31:25Z | - |
dc.date.available | 2012-06-10T03:31:25Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20221 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การฟอกเงินถือเป็นปัญหาสำคัญของนานาประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เพราะกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้น ประเทศไทยจึงได้จัดตั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(สำนักงาน ปปง.) เพื่อเป็นหน่วยงานหลักสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีเลขาธิการ ปปง. เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่บังคับบัญชาและรับผิดชอบดูแลหน่วยงาน โดยมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายและอำนาจในการบริหารหน่วยงาน จึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญยิ่ง ดังนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องมีความรู้ความสามารถและมีคุณสมบัติตามที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กำหนดไว้ และต้องปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว โดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ที่ลดบทบาทของเลขาธิการ ปปง. ลงในหลายมาตรา ทำให้เกิดปัญหาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของเลขาธิการ ปปง. หลายประการ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ทำการศึกษาในเรื่องอำนาจหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายของเลขาธิการ ปปง. ภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฟอกเงิน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายของเลขาธิการ ปปง. เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง และจากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติบางมาตราที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมทำให้กฎหมายฟอกเงินมีความสมบูรณ์และรัดกุมมากขึ้น เช่น การตรวจสอบการทำงานจากหน่วยงานภายนอกสำนักงาน ปปง. เป็นต้น แต่การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในส่วนของเลขาธิการ ปปง. กลับส่งผลกระทบต่อการทำงานของเลขาธิการ ปปง. มากเช่นกัน โดยมีการลดอำนาจและบทบาทในการบังคับใช้กฎหมายของเลขาธิการ ปปง. ผู้เขียนจึงได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวและได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาไว้ โดยผู้เขียนหวังว่า ข้อเสนอแนะนี้จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฟอกเงินในส่วนของเลขาธิการ ปปง. ในอนาคตให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | Money laundering is one of the crucial problems for many countries including Thailand because it leads to various economical and social impacts. As a result, Thailand established the Anti-Money Laundering Office (AMLO), an independent organization under the Constitution, to be in charged of the prevention and suppression of the Money Laundering. The AMLO's Secretary General, the chief who authorized to enforce the law and manage the organization, is the very important position which required a person who must be capable and qualified under the requirements as specified in the Anti - Money Laundering Act B.E. 2542 (the "Act") as well as be able to conduct his duty independently under the Constitution. Nevertheless, the Act was amended by the Anti - Money Laundering Act (No. 2) B.E. 2551, the role of the Secretary General had been reduced and caused many difficulties. This Thesis, therefore, focused on the authorization and the enforcement of the law concerning the Secretary General of the AMLO after the amendment of the Act whether such enforcements are pursuant to the actual intention of the Act. After the study, it was found that many provisions have been amended in order to make the Act become complete and concise i.e. the external audit by the non-AMLO organization.However, such amendment, especially the amendment in the part of the Secretary General, also caused problems on the operation of the AMLO' Secretary General, particularly the reduction of his authorization. The writer hereby analysis such problems and suggests the solutions, hoping that such solutions will be benefit for the amendment of the Act in the future | en |
dc.format.extent | 4760112 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1088 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 | en |
dc.subject | การฟอกเงิน | en |
dc.title | พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 : ศึกษากรณีอำนาจหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายของเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 | en |
dc.title.alternative | The anti-money laundering act b.e.2542 : a study of the authority of the secretary general of the anti-money laundering office under the anti-money laundering act (no.2) b.e.2551 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | vboonyobhas@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1088 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chuleemas_At.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.