Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20242
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธวัศ สัมพันธ์พานิช-
dc.contributor.authorกมลทิพย์ ดอกประทุม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-06-10T15:33:31Z-
dc.date.available2012-06-10T15:33:31Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20242-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของสารคีเลต คือ EDTA ต่อการดูดซับโครเมียม และตะกั่วด้วยมวลชีวภาพจากต้น และใบของสับปะรด โดยการทดลองแบบแบตช์ และคอลัมน์ ซึ่งการทดลองแบบแบตช์ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพ และความสามารถในการดูดซับโครเมียม และตะกั่ว เมื่อมีการแปรค่าพีเอช ความเข้มข้นของ EDTA และเพื่อหาประสิทธิภาพการดูดซับของมวลชีวภาพ โดยทำการทดสอบไอโซเทอมของมวลชีวภาพ ส่วนการทดลองแบบคอลัมน์ได้ศึกษาถึงประสิทธิภาพการกำจัดโครเมียม และตะกั่ว และปริมาตรน้ำเสียที่กำจัดได้ให้อยู่ในมาตรฐานน้ำทิ้งของโครเมียม และตะกั่ว คือ 0.25 และ 0.20 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ผลการทดลองในแบบแบตช์พบว่า ประสิทธิภาพในการดูดซับโครเมียม และตะกั่วด้วยมวลชีวภาพจากต้น และใบของสับปะรดสูงขึ้นเมื่อค่าพีเอชต่ำลง ในช่วงพีเอชที่ทำการศึกษา และเมื่อมีการเติมสาร EDTA ลงไปพบว่า ที่ระดับความเข้มข้นของ EDTA เท่ากับ 150 มิลลิกรัมต่อลิตร มวลชีวภาพมีประสิทธิภาพในการดูดติดผิวโครเมียม และตะกั่วได้ดีที่สุด ซึ่งคาดว่า EDTA มีผลต่อแรงดึงดูดที่ใช้ในการดูดติดผิวของมวลชีวภาพ ซึ่งถ้าเติมสาร EDTA เข้าไปในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมก็สามารถช่วยให้มวลชีวภาพมีประสิทธิภาพในการดูดติดโครเมียม และตะกั่วได้มากขึ้น แต่ถ้าเติมสาร EDTA ในระดับที่มากเกินพอก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดติดผิวของมวลชีวภาพลดลง จากการทดสอบไอโซเทอมการดูดซับพบว่า ค่า R2 ของไอโซเทอมแบบแลงมัวร์ และไอโซเทอมแบบฟรุนดลิชนั้นมีค่าที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า การดูดติดผิวโครเมียม และตะกั่วบนมวลชีวภาพนั้นเป็น ไอโซเทอมแบบแลงมัวร์หรือไอโซเทอมแบบฟรุนดลิช และความสามารถในการดูดซับโครเมียม และตะกั่วเท่ากับ 81.15 และ 40.19 มิลลิกรัมต่อกรัมมวลชีวภาพ ตามลำดับ สำหรับผลการทดลองแบบคอลัมน์พบว่า สามารถบำบัดน้ำเสียให้มีความเข้มข้นต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ทุกการทดลอง และภาวะที่เหมาะสมของมวลชีวภาพที่ระยะเวลากักเก็บเท่ากับ 150 นาที โดยมีประสิทธิภาพการดูดติดผิวโครเมียม และตะกั่วจนถึงจุดเบรคทรูจ์เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 99.46 และ 99.57 ตามลำดับ ซึ่งใช้เวลาเข้าสู่สมดุลมากกว่าการทดลองแบบแบตช์ 20 เท่าen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to investigate the effects of chelating agent, ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA), on chromium and lead adsorption from synthetic solution by biomass of Ananas comosus (L.) Merr. in both batch and column experiments. The aims of the batch experiment were to study efficiencies and adsorption capacities of biomass in removing chromium and lead at different pH, EDTA concentration. In order to find ability of adsorbent, isotherm test was conducted. The aim of column experiments were to study the efficiencies of chromium and lead removal measuring in term of wastewater pass through the column before the chromium and lead concentrations in water exceed the industrial wastewater standards. The batch experiment results shown that chromium and lead adsorption capacities increased with decreasing solution pH in the range of study. The presence of EDTA, at a EDTA concentration of 150 ppm showed the maximum chromium and lead adsorption efficiencies. Expected that EDTA effect of gravity on biomass, if addition of EDTA in the appropriate concentration the results showed that the adsorption of biomass efficiencies increased but if addition of EDTA in exceed concentration the results showed that the adsorption of biomass efficiencies decreased. From adsorption isotherm test cannot conclude exactly by langmuir isotherm and frundlich isotherm due to the nearby R2 equal. Adsorption capacities are 81.15 and 40.19 mg/g biomass. The column experiment results shown that the volume of wastewater pass through the column ensured the chromium and lead concentrations in filtered water complied with the industrial wastewater standards in every experiment which take 20 times of batch experiment to reach equilibrium. The average efficiencies to reach the breakthrough point of chromium and lead adsorptions were 99.46 and 99.57 respectivelyen
dc.format.extent2683779 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.447-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโครเมียมen
dc.subjectตะกั่วen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโครเมียมen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดตะกั่วen
dc.subjectการดูดซับen
dc.titleผลของอีดีทีเอต่อการดูดซับโครเมียมและตะกั่วจากน้ำเสียด้วยมวลชีวภาพของสับปะรดen
dc.title.alternativeEffect of EDTA on chromium and lead adsorption from wastewater by biomass of ananus comosus (L.) Merren
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpantawat.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.447-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamonthip_Do.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.