Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20527
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.advisorทวีวัฒน์ ปิตยานนท์-
dc.contributor.authorเจริญศรี พันปี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-07T04:44:51Z-
dc.date.available2012-07-07T04:44:51Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20527-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractศึกษา 1) ประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่บริหารงานตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่บริหารงานตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่บริหารงานตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่บริหารงานตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา 380 แห่ง ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝง จำนวน 6 ตัวแปร ได้แก่ ลักษณะขององค์การ สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อมภายใน ลักษณะของบุคลากร นโยบายการบริหารและการปฏิบัติ และประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยวัดจากตัวแปรสังเกตได้ 19 ตัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และ 2) เครื่องมือที่เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึก แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยมีผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ประสิทธิผลในการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการเงินและงบประมาณมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การเรียนรู้และพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่า ประสิทธิผลทั้งสี่ด้านตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ประธานกรรมการสถานศึกษา และครู ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า 2.1 โมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์เท่ากับ 48.31 ที่องศาอิสระ 69 มีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ .972 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืนมีค่าเท่ากับ 1.00 ตัวแปรปัจจัยด้านต่างๆ สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ 90% 2.2 ปัจจัยมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สูงสุดคือ ลักษณะองค์การ รองลงมาคือ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติ สภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยที่มีอิทธิทางอ้อมสูงสุด คือสภาพแวดล้อมภายใน รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมภายนอก ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิรวมมากที่สุดคือ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติ รองลงมาคือลักษณะองค์การ สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกด้านมีความสัมพันธ์กันที่นัยสำคัญทางสถิติ .01 และพบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด ได้แก่ การบริหารการเปลี่ยนแปลงกับการตัดสินใจ รองลงมา ได้แก่ การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารทรัพยากร ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันน้อยที่สุด ได้แก่ ภาวะผู้นำกับการติดต่อสื่อสารen
dc.description.abstractalternativeTo 1) study the effectiveness of basic education institutions, 2) study the factors that affect or have an impact on the effectiveness of basic education institutions based on the principle of decentralization in administration and management, and 3) analyze the relationship between the factors that have an impact on the effectiveness of basic education institutions. The data samples of this research study consisted of 380 basic education institutions that had been participating in the ministerial regulations on decentralization of educational administration and management. The research had six latent variables, including organizational characteristics, external environment, internal environment, employee characteristics, managerial policies and practices, and the effectiveness of basic education institutions. These latent variables were then measured by nineteen observed variables. The research quantitative data were collected using questionnaires, while the qualitative data were gathered from several interviews. The questionnaires were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s product-moment correlation coefficient and LISREL analysis, while the interviews were analyzed by observations, contents and contexts. The research findings were as follows: 1. The average score of the four aspects of the measurements of the effectiveness of basic education institutions was quite high, with individual aspect achieving high score as well. The four aspects, which included satisfaction of the users, learning and development, finance and budget and management, were rated at the high level. The highest score was achieved by finance and budget, followed by user satisfaction, while the lowest score was achieved by learning and development. When making comparison among scores from interviewers, it was found that scores from institutional administrators were the highest, followed by those from chairman of the educational institutions, and followed by those from teachers. 2. The study on the factors that affected the effectiveness of basic education institutions found that: 2.1 The factors affecting the effectiveness of basic education institutions were valid and fit to the empirical data with Chi-square = 48.31, df = 69, p = 0.972 and GFI = 1.00. The factors could explain the variance in effectiveness of basic education institutions for 90% 2.2 Organizational characteristics factor had the highest positive impact on the effectiveness of basic education institutions. However, internal environment factors had the negative impact on the effectiveness of basic education institutions. 3. All of the factors affecting the effectiveness of basic education institutions had a statistically significant level of .01. The study found that the factors that had the highest correlation were management of change and decision making, followed by strategic management and resource management. The factors that had the least correlation were leadership and communications.en
dc.format.extent5593597 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2188-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectประสิทธิผลองค์การ-
dc.subjectการศึกษาขั้นพื้นฐาน-
dc.subjectการกระจายอำนาจการบริหาร-
dc.subjectการบริหารการศึกษา-
dc.subjectOrganizational effectiveness-
dc.subjectBasic education-
dc.subjectDecentralization in management-
dc.subjectSchool management and organization-
dc.titleการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่บริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาen
dc.title.alternativeAn analysis of factors affecting the effectiveness of basic education institutions in implementing the ministerial regulations on decentralization of educational administration and managementen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPruet.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTaweewat.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.2188-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charoensri_pu.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.