Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21188
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพรรณ พนัสพัฒนา | - |
dc.contributor.author | พันธุ์สยาม ห้วยแก้ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-27T06:39:48Z | - |
dc.date.available | 2012-07-27T06:39:48Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21188 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเฉพาะความรับผิดที่เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากในปัจจุบันปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตได้สร้างความเสียหายร้ายแรงแก่บรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ แม้การละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตมิใช่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามหากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้ความร่วมมือแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวย่อมลดลง นอกจากนี้ในบางขั้นตอนของการให้บริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเองก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำขึ้นโดยที่ผู้ให้บริการเองมิได้ตั้งใจและเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นกระบวนที่จำเป็นต่อเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผู้เขียนได้ศึกษาความตกลงระหว่างประเทศรวมถึงกฎหมายภายในของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศสิงคโปร์ พบว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องกำหนดข้อจำกัดและยกเว้นความรับผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยที่ข้อจำกัดและยกเว้นความรับผิดนั้นมีเงื่อนไขที่ทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องให้ความร่วมมือแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ในการป้องกันและปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีการกำหนดมาตรการการแจ้งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทราบถึงการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต ในส่วนกฎหมายไทย คือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ผู้เขียนเห็นว่าในปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวกำหนดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไว้อย่างไม่เหมาะสม ดังนั้น สมควรที่จะปรับปรุงกฎหมายโดยกำหนดข้อจำกัดและยกเว้นความรับผิดให้แก่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยกำหนดเงื่อนไขและหน้าที่บางประการเพื่อป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้แล้วยังควรกำหนดมาตรการการแจ้งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทราบถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พศ. 2537 ด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis focuses its study on liability of Internet Service Provider (ISP) particularly in liability for copyright infringement. Since, currently, internet copyright infringement problem has become severely detrimental to many copyright owners. Despite the observable fact that a great majority of such infringement was attributable to internet users – not ISPs, it is highly probable that the severity of the problem will be attenuated if the ISPs operate in alliance with the copyright owners. Such cooperation shall be even more justifiable upon reconsidering the other fact that the infringement also occurs, from time to time, as a result of the ISPs' operations which inevitably and indispensably entail reproduction of the works of the copyright owners. The study has likewise embraced a review of relevant international agreements and domestic laws of the United States of America, the United Kingdom, and Singapore. It is thus found that the key solution to such problem is to provide ISPs the limitations and exemptions of copyright infringement liability. The mentioned limitation and exception have to impose on ISPs duties to cooperate with the copyright owner in preventing an internet copyright infringement. Moreover stipulation on Notice and Takedown (NTD) is required. Concerning the Thai Copyright Act B.E. 2537, in my point of view, its insufficient and inappropriate provisions regarding the liability of an ISP, it is recommended that the Act be improved and amended as follows: stipulating the limitations and exemptions of copyright infringement liability to ISP; imposing the duties of ISP as conditions of such limitations and exemptions to help prevent an internet copyright infringement; and, lastly, stipulating the NTD measure. | en |
dc.format.extent | 3523352 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.299 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ลิขสิทธิ์ | en |
dc.subject | การละเมิดลิขสิทธิ์ | en |
dc.subject | ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต | en |
dc.title | ความรับผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต | en |
dc.title.alternative | Liability of internet service provider for copyright infringement | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Orabhund.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.299 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phansayam_Hu.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.