Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุรธา วัฒนะชีวะกุล
dc.contributor.advisorพรทิพย์ โรจนสุนันท์
dc.contributor.authorธนพร วุฒิกรวิภาค
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-16T04:06:17Z
dc.date.available2012-11-16T04:06:17Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741728239
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24268
dc.descriptionวิทยานิพธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractปัจจุบันกระบวนการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก นับเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทุกฝ่ายควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความจำเป็นในการนำมาใช้ในการพิสูจน์ความจริงในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น อันเป็นความผิดอาญาร้ายแรง และมักมีการปกปิดซ่อนเร้น อำพราง ยากแก่การพิสูจน์ให้ได้ความจริงจนปราศจากข้อสงสัย ซึ่งการพิสูจน์ความผิดโดยประจักษ์พยานในปัจจุบันมีข้อจำกัดในเรื่องขีดความสามารถในการรับรู้ การจดจำ ตลอดจนการถ่ายทอดเรื่องราวของแต่ละบุคคล ทั้งยังสามารถบิดเบือนข้อเท็จจริงได้อย่างง่ายดายอาศัยเพียงถ้อยคำพูดของ พยานเท่านั้น ในขณะที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องดังกล่าว ทั้งยังสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดได้อย่างถูกต้องชัดเจน อย่างไรก็ตาม การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนซึ่งบุคคลทั่วไปไม่อาจเข้าใจได้ จำต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญโดยเฉพาะ ฉะนั้น เพื่อให้พยานหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์สามารถใช้ในการตรวจพิสูจน์ความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือและลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างแน่นอน จึงต้องมีการกำหนดมาตรการและมาตรฐานในการจัดเก็บ การตรวจพิสูจน์ การรายงานผลให้มีความรัดกุมถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ หน่วยงานผู้ปฏิบัติต้องมีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากอิทธิพลใดๆ นอกจากนี้ยังต้องกำหนดมาตรฐานในการกลั่นกรองและการรับฟังพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนให้ชัดเจนรัดกุม กระบวนการทุกขั้นตอนต้องสามารถตรวจสอบได้ มีหน่วยงานกลางที่กำหนดมาตรฐานของการพิสูจน์ให้ได้มาตรฐานสากล และช่วยเหลือคู่ความในคดีให้มีโอกาสในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้พยานหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์มีคุณค่าในการพิสูจน์ความจริงได้โดยปราศจากข้อสงสัย
dc.description.abstractalternativeNowadays much progress has been made in the scientific proving process. It is necessary for the persons involved in the judicial process to be knowledgeable, able to understand and aware of the necessity to bring the process into the fearing of fact in murder, a felony which often causes covering up, hiding of evidence, and difficulties in proving the facts to the extent of beyond any doubt. Whereas the proof of fact by eyewitness at the present moment does have limitations on ability to perceive and narration of the matter of each particular person. The distortion of fact can be easily done through the words given by the witness. Whereas, scientific evidence can prove facts related to the elements of offence without said limitation. However, scientific proving is a delicate matter which layman may not be able to understand. It has to rely on expert. There must be a setup of measures and standards in collection, proof and report with correctness to the extent of being transparent and accountable. The acting unit should be independent and uninfluenceable by any mean. Furthermore, these should be two standards for reviewing and hearing of scientific to cut back the discretion of the authority concerned. Hence in this thesis the author proposes the revision of the Criminal Procedure Code in regard of the collection of evidence at the investigation stage to yield clarity and incorruptibleness. Each and every stage must be accountable. These should be one control unit to set standards of proving to reflect international standards and to help the parties equally in proving offence or innocence. This is to ensure that scientific evidence would be valuable in proving the fact to the extent that it entertains no doubt.
dc.format.extent3405865 bytes
dc.format.extent2497342 bytes
dc.format.extent19161069 bytes
dc.format.extent32537113 bytes
dc.format.extent36705859 bytes
dc.format.extent7346063 bytes
dc.format.extent2695290 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleพยานหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นen
dc.title.alternativeScience evidence in nurder caseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanaporn_wu_front.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_wu_ch1.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_wu_ch2.pdf18.71 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_wu_ch3.pdf31.77 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_wu_ch4.pdf35.85 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_wu_ch5.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open
Thanaporn_wu_back.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.