Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2496
Title: พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี
Other Titles: Self health promoting behavior of the elderly of the Aging Club at Chaophya Abhaibhubejhr Hospital in Prachin Buri province
Authors: นิรมล อินทฤทธิ์, 2505-
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัย
การส่งเสริมสุขภาพ
ความนับถือตนเองในผู้สูงอายุ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตัวอย่างประชากรที่ศึกษา เป็นผู้สูงอายุจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ตามวิธีของโรเซนเบอร์ก (1965) และ แบบวัดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตามแนวคิดของ เพนเดอร์ (1987) ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับสูง 2. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับสูง คิดเป็น ร้อยละ 68.85 และผู้สูงอายุที่มีคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับ ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 31.15 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา แหล่งรายได้หลัก รายได้ อาชีพ ความรู้สึกเห็น คุณค่าในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ตัวแปรที่มีความสำคัญ ในการร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุ คือ การเห็นคุณค่าในตนเอง สถานภาพการสมรส และระดับการศึกษา ซึ่งร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 23.1
Other Abstract: The purpose of this research were to study the self health promoting behaviors of the elderly of the Aging Club at Chaopraya Abhaibhubejhr Hospital in Prachinburi province and to study the related factors in self health promoting behaviors of the elderly. The research subjects consisted of 260 elderly, selected by simple random sampling. Instruments used in this study were questionnaire asking for personal information, evaluating for self-esteem by using Rosenbergs selfesteem scale (1965), and evaluating for the self health promoting behaviors by using Penders self health promoting behaviors scale (1987). The finding were as followed: 1. The mean of the self health promoting behaviors of the elderly was in the good level. 2. Most of the elderly who had the rating score of the self health promoting behaviors on the high level represented for 68.85 %, and on the moderate level represented for 31.15% of the whole samples. 3. Factors affecting on the self health promoting behaviors of the elderly were age, marital status, educational level, source of income, income ,occupation and self- esteem at a statistical significant level 0.01. 4. Factors significantly predicted the self health promoting behaviors of the elderly were self-esteem, marital status and educational level. These factors accounted for 23.1 % predicting the self health promoting behaviors of the elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2496
ISBN: 9745314064
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niramon.pdf978.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.