Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยวนิตย์ อินทรามะ
dc.contributor.advisorสมบูรณ์วัลย์ เหมศาสตร์
dc.contributor.authorบุญฑา วิศวไพศาล
dc.date.accessioned2012-11-23T03:10:54Z
dc.date.available2012-11-23T03:10:54Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745609455
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25462
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารพัฒนบริหารศาสตร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขต ปริมาณ และแนวโน้มของเนื้อหาบทความในวารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นวารสารวิชาการทางสังคมศาสตร์ ที่มีพัฒนาการมาจากวารสารรัฐประศาสนศาสตร์ และปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดทำ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้เลือกจากบทความในวารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ปี ที่ 14 มกราคม 2517 ถึงฉบับที่ 4 ปีที่ 20 ตุลาคม 2523 รวมทั้งสิ้น 230 บทความโดยเลือกจากคอลัมน์ต่าง ๆ 5 คอลัมน์ การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยต่อจากที่ สมพิศ คูศรีพิทักษ์ ได้เคยทำวิจัยเสนอคณะกรรมการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2518 ในหัวข้อเรื่อง “แนวโน้มการศึกษาด้านรัฐประศาสนศาสร์ : บทความในวารสารรัฐประศาสนศาสตร์ และวารสารพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ. 2503 – 2516)” ในการดำเนินการวิจัย ได้ศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และอ่านบทความที่เป็นกลุ่มตัวอย่างอย่างละเอียด นำมาพิจารณาจัดกลุ่มตามสาขาวิชาในหมวดสังคมศาสตร์ ตามหลักเกณฑ์การแบ่งสาขาวิชาขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งองค์การสหประชาชาติ รวมจำนวนบทความในแต่ละกลุ่มและหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เนื้อหาบทความในวารสารแบ่งตามหลักเกณฑ์การแบ่งขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งองค์การสหประชาชาติได้ 7 สาขาวิชา คือ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ สถิติ สังคมศาสตร์ (ทั่วไป) และสาขาอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะประยุกต์ มีเนื้อหาด้านการศึกษา การวิจัยดำเนินงาน และคอมพิวเตอร์ อีก 1 สาขาวิชา กลุ่มสาขาวิชาที่มีเนื้อหามากที่สุด คือ รัฐประศาสนศาสตร์ มี 88 บทความ จากบทความทั้งหมด 230 บทความ คิดเป็นร้อยละ 38.26 รองลงมาอันดับที่ 2 คือ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มี 53 บทความ คิดเป็นร้อยละ 23.04 และรองอันดับที่ 3 คือ สาขาวิชาสังคมวิทยา มี 36 บทความ คิดเป็นร้อยละ 15.65 ส่วนสาขาวิชาที่มีเนื้อหาน้อยที่สุด คือ สถิติ และสังคมศาสตร์ (ทั่วไป) มีสาขาวิชาละ 4 บทความ คิดเป็นร้อยละ 1.74 ซึ่งผลการวิจัยที่ได้ครั้งนี้คล้ายกับผลการวิจัยของสมพิศ คูศรีพิทักษ์ ที่ได้วิจัยไว้เมื่อปี พ.ศ. 2518 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยขั้นต่อไปคือ ควรจะได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินคุณค่าวารสารพัฒนบริหารศาสตร์ โดยการวิเคราะห์การอ้างถึงในงานเขียนและงานวิจัยอื่น ๆ รวมทั้งศึกษาความสนใจของผู้อ่านและผู้เขียนบทความ ที่มีต่อเนื้อหาในสาขาที่มีปริมาณมากที่สุด 3 สาขาวิชา และน้อยที่สุดนั้นด้วย เพื่อจะได้สรุปได้ว่าความสนใจของผู้อ่านและผู้เขียนที่มีต่อเนื้อหาด้านต่าง ๆ นั้น สอดคล้องกับปริมาณเนื้อหาด้วยหรือไม่
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research on “A Content Analysis of Thai Journal of Development Administration” was to examine the scope, amount, and trend of the contents of the articles published in the aforementioned social science journal. This journal was developed from the former “Thai Journal of Public Administration”, and currently, under the management and supervision of the national Institute of Development Administration. The samples of this study were randomly selected from the articles published in the journal starting from the first issue of the fourteenth year, January. 1974 to the fourth issue of the twentieth year, October, 1980. In total, 230 articles were randomly selected from five different columns. This research is a further study of the work, presented to the Research Committee, the National Institute of Development Administration, in 1975, by Sompit Cusripituck under the title “the Trend in Public Administration Studies: an Article in the Thai Journal of Public Administration and the Thai Journal of Development Administration (1960-1973)”. In conducting the research, the researcher had reviewed all relevant literature, and carefully read the sample articles. Using the criteria established by Unesco, the articles were, then, categorized according the academic field of specialization in social sciences. The number of articles in each category were added up, and its percentage was computed. The results of the research could be summarized as the following: Using the criteria set by Unesco, article contents published in the journal were divided into 7 categories: Political Science, Economics, Sociology, Public Administration, Business Administration, Statistics, Social Sciences, and the other applied field consisting of Education, Operations Research, and Computer Science. The category with most contents was Public Administration. It had 88 out of the total number of 230 articles, or 38.26 percent. The categories with second and third most contents were Economics and Sociology respectively. Economics category had 53 articles, or 23.04 percent, and Sociology category had 36 articles, or 15.65 percent. The categories with least contents were Statistics and Social Sciences. Both had four articles each, or 1.74 percent. The findings of this research were similar to those of Cusripitucks’ research conducted in 1975. The following are recommendations for future studies: A citation analysis in various reports and researches should be done to evaluate this journal. In addition, readers’ as well as authors’ interests towards the contents in the categories with most, second most, third most, and least articles should also be investigated in order to find out if the readers and authors’ interests towards various contents affect the amount of the contents.
dc.format.extent4456484 bytes
dc.format.extent5131092 bytes
dc.format.extent5350743 bytes
dc.format.extent7700201 bytes
dc.format.extent5598206 bytes
dc.format.extent39645630 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์เนื้อหาวารสารพัฒนบริหารศาสตร์en
dc.title.alternativeA content analysis of Thai Journal of Development Administrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonta_Wi_front.pdf4.35 MBAdobe PDFView/Open
Boonta_Wi_Ch1.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open
Boonta_Wi_Ch2.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Boonta_Wi_Ch3.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open
Boonta_Wi_Ch4.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open
Boonta_Wi_back.pdf38.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.