Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27500
Title: ประสิทธิผลของสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี
Other Titles: Effectiveness of anti-smoking campaign media of Thai health promotion foundation in youth aged between 15-24 years
Authors: วรารัฐ กีฬาแปง
Advisors: รัตนา จักกะพาก
สุนิดา ปรีชาวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Rattana.C@Chula.ac.th
Sunida.P@Chula.ac.th
Subjects: เยาวชน
การสูบบุหรี่
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ที่มีต่อกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อสำรวจทัศนคติของกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อการสูบบุหรี่ โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 1.กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของสสส. และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ แตกต่างกัน 2.พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของสสส. และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 3.พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจดจำสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของสสส. และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 4.พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยต่อการสูบบุหรี่ 5.พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในอนาคต กล่าวโดยสรุปประสิทธิผลสื่อรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มีประสิทธิผล ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับสื่อรณรงค์ในระดับต่ำ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสื่อรณรงค์ในระดับปานกลาง มีการจดจำเนื้อหาสื่อรณรงค์ในระดับต่ำ มีทัศนคติที่ไม่เห็นด้วยต่อการสูบบุหรี่ และมีแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในอนาคตระดับปานกลาง
Other Abstract: The purposes of this research were to study the effectiveness of Anti–Smoking Campaign Media of Thai Health Promotion Foundation (ThaiHealth) and Action On Smoking and Health Foundation Thailand (ASH Thailand) of Bangkok residents age 15-24 years and to explore the attitudes of the samples towards smoking. The method used in this research study is a quantitative. Furthermore, the participants of this research samples were 400 young Bangkok inhabitants between 15 and 24 years of age. The research findings were as follows: 1.There were significant differences in information exposure about Anti–Smoking media campaign of ThaiHealth and ASH Thailand for the participants whose demographics were different. 2.Media exposure of the youth aged 15-24 years had the positive correlation with knowledge of content for the Anti–Smoking media campaign of ThaiHealth and ASH Thailand. 3.Media exposure of the youth aged 15-24 years had the positive correlation with recognition of the Anti–Smoking media campaign of ThaiHealth and ASH Thailand. 4.Media exposure of the youth aged 15-24 years about the Anti–Smoking media campaign of ThaiHealth and ASH Thailand had the positive correlation with the participants’ negative attitude toward smoking. 5.Media exposure of the youth aged 15-24 years about the Anti–Smoking media campaign of ThaiHealth and ASH Thailand had the positive correlation with the participants’ potential to smoke. In summary, the ThaiHealth and ASH Thailand’s media campaign could yield efficient results. The participants were exposed to the low-level of media campaign’s information. Their knowledge of content for the media campaign was moderate. Recognition of the media campaign was low. A negative attitude towards smoking and trends in smoking behavior were moderate.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27500
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1992
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1992
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wararat_ke.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.