Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27849
Title: การวิเคราห์เชิงสถิติของการให้กู้ยืมเงินของธนาคารพาณิชย์ ในประเทศไทย
Other Titles: Statistical analysis of loans and overdrafts of commercial banks in Thailand
Authors: เอมอร ธัมวรากร
Advisors: ศรีอุไร นัยนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ นี้จะแสดงวิธีการกำหนดรูปแบบของอนุกรมเวลา เพื่อพยากรณ์เงินกู้และเงินเบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่ผู้กู้ ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์จะแยกเป็นเงินกู้และเงินเบิกเกินบัญชีของธุรกิจ 13 ชนิด ข้อมูลดังกล่าวเก็บรวบรวมจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายไตรมาศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ถึง พ.ศ. 2517 จากข้อมูลทั้ง 13 ชนิด ของการให้กู้ยืมดังกล่าว ได้นำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ของการให้กู้ยืมแต่ละชนิดเทียบกับผลรวมของการให้กู้ยืม เพื่อดูว่าการให้กู้ยืมชนิดใดมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ต่อจากนั้นก็นำข้อมูลทั้ง 13 ชุดนั้นมาเขียนกร๊าฟเพื่อดูว่าแนวโน้มของข้อมูลแต่ละชุดเป็นไปในรูปใด เมื่อทราบแนวโน้มแล้วก็ทำการคำนวณหาสมการแนวโน้มโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ทั้งแบบเอ๊กโพเนนเชียล โพลิเมียล และพาราโบล่า ได้ผลว่าการคำนวณแบบโพลิเมียลได้สมการแนวโน้มที่ให้ค่าความคาดเคลื่อนน้อยที่สุด ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดเมื่อคำนวณแล้วได้สมการแนวโน้มที่อยู่ในรูปของโพลิโนเมียลอันดับต่างๆ กันไปตามลักษณะของกร๊าฟของข้อมูลชุดนั้นๆ จากสมการแนวโน้มที่คำนวณได้ก็จะได้ค่าประมาณมาคำนวณหาเลขดัชนีฤดูกาล เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละไตรมาศของปี มีความเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างไรบ้าง จากนั้นก็แทนค่าของแต่ละไตรมาศในปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2520 ในสมการแนวโน้มจะได้ค่าพยากรณ์ แล้วนำมาคูณกับเลขดัชนีฤดูกาล ก็จะได้ค่าพยากรณ์ที่ควรจะเป็น ประโยชน์ที่ได้หลังจากการวิเคราะห์ค่าพยากรณ์ทั้งหมด คือ ทำให้ทราบว่าการให้กู้ยืมชนิดใดมีความสำคัญมากน้อยเท่าใด และปริมาณของการให้กู้ยืมที่ควรจะเป็นในปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2520 ตลอดจนปริมาณที่เพิ่มขึ้นและลดลงของการให้กู้ยืมแต่ละชนิดในปีที่พยากรณ์ดังกล่าว
Other Abstract: This thesis employs the Time Series Modeling Technique for forecasting the loans and overdrafts of the commercial banks. The data is collected from the quarterly classified report from 1967 to 1974 of the Bank of Thailand, and separating into 13 types. By calculating the percentage of each type of loans and overdrafts and comparing to the total, we found the degree of importance of such loans and overdrafts. From those data we plot curves to find the trend of the data, then we calculated to findthe trend equations by using the Least Square Method, both exponential , polynomial and parabola. The conclusion was that by using polynomial method, we got the trend equations with the smallest deviations. And each set of data gave the trend equations in different forms of polynomial at different level according to it’s graphical form. From those trend equations, we got the estimation for calculating the seasonal index to find the changes of each year in quarterly. Then we could forcast the related seasonal index by substitution the valueof each quarter from 1975 to 1977 in the trend equations and multiplying by the seasonal index. From this analysis, we found many results, those are the degree of importance of each type of loans and overdrafts, the estimation of loans and overdrafts of the commercial banks from 1975 to 1977 and also the amount of increasing and decreasing of each type in the forcasting year.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27849
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Em-on_Th_front.pdf455.14 kBAdobe PDFView/Open
Em-on_Th_ch1.pdf425.1 kBAdobe PDFView/Open
Em-on_Th_ch2.pdf514.21 kBAdobe PDFView/Open
Em-on_Th_ch3.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Em-on_Th_ch4.pdf391.99 kBAdobe PDFView/Open
Em-on_Th_ch5.pdf321.65 kBAdobe PDFView/Open
Em-on_Th_back.pdf228.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.