Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28485
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพร วิชชาวุธ-
dc.contributor.authorศรีจิตต์ สิริปัญญาวิทย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-01-16T07:56:32Z-
dc.date.available2013-01-16T07:56:32Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745670316-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28485-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงผลของตำแหน่งคำคุณศัพท์ขยายคำนามของภาษาพูดในภาษาอังกฤษต่อความจำระยะสั้น และมุ่งทดสอบแบบจำลองการเข้ารหัสนามวลีว่า รูปแบบใดสอดคล้องกับผลการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนนานาชาติ (ร่วมฤดีศึกษา) ระดับ เกรด 9-12 (เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของไทย) ในปีการศึกษา 2527 จำนวน 36 คน เป็นชายและหญิงกลุ่มละ 18 คน การทดลองนี้ใช้แบบการวัดผู้รับการทดลองซ้ำเพื่อศึกษาตัวแปรเดียว ในการทดลองนี้ใช้เครื่องฉายสไลด์ตู้ (Telex Camate 4000) ทดสอบผู้รับการทดลองเป็นคู่ ชายและหญิงแล้วให้ระลึกทันที แบบทดสอบแต่ละชุดการทดลองประกอบด้วย 18 วลี รวม 18 ชุดการทดลอง แต่ละวลีประกอบด้วยคำนาม 1 คำ ที่มีคำขยาย 3 คำ คำคุณศัพท์บอกคุณภาพ(A 1) บอกขนาดหรือลักษณะรูปทรง (A2) และบอกสี (A3) ประกอบหน้าในลักษณะสลับที่กัน 6 แบบ คือ A1A2A3N, A1A3A2N, A2A1A3N, A2A3A1N, A3A1A2N, A3A2A1N เมื่อฟังวลีหนึ่ง 1 ครั้งแล้ว (4 วินาที) ก็ให้อ่านตัวเลขจากสไลด์ (3 วินาที) แล้วจงเขียนสิ่งที่ไค้ยินลงในกระดาษคำตอบ (10 วินาที) ในการตรวจให้คะแนน ถ้าตอบถูกคำและตำแหน่งไค้ 1 คะแนน ตอบผิดไม่ว่ากรณีใดได้ 0 คะแนน แต่ละวลีมีคะแนนเต็ม 4 คะแนน นำคะแนนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเคียว ค่าสัดส่วนของการตอบถูกในแต่ละกรณี ค่าไคสแควร์ และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนสองทาง ผลการวิเคราะห์พบว่า 1. ตำแหน่งของคำคุณศัพท์ขยายคำนามของภาษาพูดในภาษาอังกฤษ มีผลต่อความจำระยะสั้นแตกต่างกัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 2. รูปแบบจำลองที่สร้างขึ้นเพื่ออธิบายการเข้ารหัสนามวลี ไม่สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลไม่สอดคล้องกับแบบจำลองที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยจึงตั้งสมมุติฐาน ขึ้นใหม่ และทำการวิเคราะห์ทดสอบ ผลการวิเคราะห์มีดังนี้คือ 1.การเข้ารหัสนามวลี ยึดคำนามเป็นหลัก 2. การเข้ารหัสนามวลี ไม่มีการสลับที่คำคุณศัพท์ แต่มีลำดับเป็นไปตามลำดับของรูปแบบวลีนำเสนอ 3. คำคุณศัพท์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด เมื่ออยู่ในอันดับแรก จำได้ดีที่สุด และจำได้น้อยลงเมื่ออยู่ในอันดับสองและสามตามลำดับ 4.การจำคำคุณศัพท์ใดๆ เมื่อคำคุณศัพท์นั้นอยู่ติดกัน จำได้ดีกว่า เมื่อคำคุณศัพท์นั้นมีตัวแทรก 5. การจำคำคุณศัพท์พร้อมคำนาม คำคุณศัพท์ที่อยู่ติดคำนาม จำได้ดีกว่าเปรียบเทียบกับกรณีที่อยู่ห่างจากคำนาม ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปไค้ว่า การเข้ารหัสนามวลีมีลำดับเป็นไปตามลำดับ รูปแบบนำเสนอ ในลักษณะที่ คำคุณศัพท์ไม่ว่าประเภทใดที่อยู่ติดกันในรูปแบบนำเสนอ จะเข้ารหัสกัน และคำคุณศัพท์ที่อยู่ติดกับคำนามก็จะเข้ารหัสกัน ค่าเฉลี่ยของการตอบคำคุณศัพท์กับคำนามที่อยู่ติดกัน มีค่าสูงเป็นอันดับแรก ค่าเฉลี่ยของการตอบคำคุณศัพท์ตัวที่หนึ่งกับตัวที่สอง และค่าเฉลี่ยของการตอบคำคุณศัพท์ตัวที่สองกับตัวที่สาม มีค่าน้อยลงตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effect of modifier position in the English spoken language on Short-Term Memory and to test which model is suitable to explain coding operation. The subject consisted of thirty-six high school students, grade 9-12, from Ruam Rudee International school in the year 1984. The subjects were divided into two groups, male and female. Each group comprised eighteen students. The experimental design was the single factor experiment with repeated measures. In the experiment, a 'Telex Camate 4000, a slide projector, was used under the condition that subjects, performing immediate serial recall, were tested in pairs, a boy and a girl. Each test was composed of eighteen phrases. Each phrase contained a noun with three modifiers describing quality (A1), size or shape (A2) and color (A3) , in six different patterns: A1A2A3N, A1A3A2N, A2A1A3N, A2A3A1N, A3A1A2N and A3A2A1N In order to control the time of presentation, each phrase included a one-syllable word for both noun and modifiers. After listening to each pattern for 4 seconds and reading numbers on a slide for 3 seconds, the subjects were asked to write what they had heard on their answer sheets Answers were marked as follow: one point was given for a word which was correct in both spelling and position. Full marks for each phrase were four points. The data were analyzed through means, one way analysis of variance, proportion, Chi-Square and Two way analysis of variance. Findings are as follow: 1. Different positions of the modifiers influence Short- Term Memory, significant at the .01 level. 2. Encoding models established to explain encoding operations were not in accordance with the findings. For the sake of further analysis, new hypotheses were tested as follow: 1. The encoding process depends on nouns. 2. There is no shift in position before encoding. The encoding process depends on input order. 3. Any modifier in the first position, regardless of type, results in better memory than in the second or the third position. 4. In series, regardless of type, adjoining modifiers are much easier to memorize. 5. For nouns with a series of modifiers, regardless of type, the modifier immediately preceding the noun is much easier to memorize. According to the findings, the encoding process depends on input orders in such a way that adjoining modifiers, regardless of type, are encoded together and that modifiers immediately preceding nouns are encoded with the nouns. The highest recall marks were for recalling nouns with immediately preceding modifiers; next were marks for recalling the first modifiers with the second ones; last were the marks for recalling the second modifiers with the third ones.-
dc.format.extent5722051 bytes-
dc.format.extent7527440 bytes-
dc.format.extent1795509 bytes-
dc.format.extent3209153 bytes-
dc.format.extent8059123 bytes-
dc.format.extent2155733 bytes-
dc.format.extent3103562 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของตำแหน่งคำคุณศัพท์ขยายคำนามของภาษาพูด ในภาษาอังกฤษต่อความจำระยะสั้นen
dc.title.alternativeThe effect of modifier postion in English spoken language on short-term memoryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srichitt_si_front.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Srichitt_si_ch1.pdf7.35 MBAdobe PDFView/Open
Srichitt_si_ch2.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Srichitt_si_ch3.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Srichitt_si_ch4.pdf7.87 MBAdobe PDFView/Open
Srichitt_si_ch5.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Srichitt_si_back.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.