Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28599
Title: | พัฒนาการของหลักสูตรและการสอนจริยศึกษาในระดับประถมศึกษา ตั้งแต่พุทธศักราช 1826 จนถึงพุทธศักราช 2530 |
Other Titles: | Development of moral education curriculum and instruction at the elementary education level from B.E.1826 to B.E.2530 |
Authors: | ศุภวรรณ รัตนาภูผา |
Advisors: | ทิศนา แขมมณี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรและการสอนจริตศึกษาในระดับ ประถมศึกษา ตั้งแต่พุทธศักราช 1826 จนถึงพุทธศักราช 2530 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในสมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การศึกษา เป็นหน้าที่ของวัดและ พระสงฆ์ โดยมุ่งสอนหนังสือและฝึกหัดความประพฤติของผู้ เรียน เป็นรายบุคคล ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีหลักสูตรจริตศึกษาขึ้นรวมทั้งหมด 5 ฉบับ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเสนอให้มีการสอนวิชาจรรยาในหลักสูตรทุกระดับ และกำหนดให้เป็นวิชาที่ต้องสอบไล่ เพื่อช่วยให้นักเรียนหันมาสนใจทางธรรมเพิ่มขึ้น ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า อารยธรรมตะวันตกจะทำให้เยาวชนห่างเหินศาสนา นอกจากนั้นยังได้มีการเริ่มปลูกฝังคุณธรรมด้านความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และมีการนำวิธีการสอนใหม่ๆ มาใช่ เช่น การเล่นละคร เล่านิทาน และการบูรณาการวิชาจรรยากับวิชาอื่นๆ ในสมัยรัชกาลที่ 6 วิชาจรรยายังคงมีอยู่ในหลักสูตรทุกระดับ ยกเว้นระดับมัธยมสูง เพราะมีการเน้นวิชาชีพมาก ในสมัยนี้ เริ่มมีการนำวิชาลูกเสือมาสอน เพื่อฝึกคุณธรรมให้นักเรียน หลักสูตรนี้ใช่เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2475 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีการเน้นเรื่องประชาธิปไตยในหลักสูตร วิชาจรรยาได้เปลี่ยนรูปไปเป็นวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางความคิดด้านการศึกษา จากสหรัฐอเมริกา ทำให้วิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรมได้ถูกนำมารวมอยู่ในหมวดวิชาสังคมศึกษาใน หลักสูตร พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2503 ในหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 วิชาจริยศึกษาได้เป็น วิชาหนึ่งในกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่กำหนดให้เรียนคุณธรรม 30 ประการแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา แต่ เนื้อหา เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้ไปอยู่ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตแทน ต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งใน พ.ศ. 2533 โดยกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยนั้นไม่แยกออก เป็นวิชา แต่ให้บูรณาการแบ่งออกเป็น 6 หน่วย ซึ่งจะมีบางหน่วยที่ใช่วิชาจริยศึกษาเป็นแทนกลางในการสอนกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้โรงเรียนต่างๆ ใช่หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2534 เป็นต้นไป ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายหลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรและการสอนจริยศึกษาใน อดีต ได้แสดงถึงภูมิปัญญาไทยที่มีคุณค่าควรที่นักการศึกษาและครูไทยพึ่งให้ความสนใจ เป็นอย่างยิ่ง |
Other Abstract: | The objective of this research was to study the development of moral education curriculum and instruction at the Elementary Education level from B.E. 1826 to B.E. 2530 by using the historical research procedures. The results could be concluded that from Sukhothai period to Rattanakosin period, education was under the responsibility of the monks and temples which aimed at individualizing teaching in reading, writing and, moral training. During King Rama the Fifth period, there were 5 moral curricula. Ethics was the course in all levels of the curricula which required final examination. It was the strategy to draw back students' interest to the study of Buddhism. Moreover, the curricula also introduced the concepts of loyalty to the King and new teaching techniques such as dramatization, role-playing, story-telling and the idea of integration. During King Rama the Sixth period, Ethics was still in the Elementary School and Lower Secondary School curricula but was not existed as a course in the Upper Secondary Level Curriculum any more as the emphasis was changed toward Vocational Education. Boy Scout activities were used to train students' moral. Until B.E. 2475, when there was a political change to democratic government, moral education changed into a course called "Civic Responsibility and Moral." After World War II, education in Thailand was influenced by educators from the United States, the course in Civic Responsibility and Moral was then brought under Social studies Curriculum B.E. 2498 and 2503. In Elementary School Curriculum B.E. 2521, the course in Ethics was brought back under the content area on Character -Education. Thirty moral concepts were assigned to teach with no direct content on Buddhism. However, Buddhism was integrated in the content under Life Experience Area. In B.E. 2533, courses under Character Education Area were integrated in six modules in which some of them took Ethics as a core. This curriculum was announced to be officially used in elementary schools from the Academic Year B.E. 2534. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28599 |
ISBN: | 9745794171 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supawan_ra_front.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_ch1.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_ch2.pdf | 7.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_ch3.pdf | 28.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_ch4.pdf | 35.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_ch5.pdf | 33.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_ch6.pdf | 11.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_ch7.pdf | 10.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supawan_ra_back.pdf | 43.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.