Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29359
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลินทร์ พินิจภูวดล
dc.contributor.authorมงคล กัลยกฤต
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-07T04:18:07Z
dc.date.available2013-03-07T04:18:07Z
dc.date.issued2537
dc.identifier.isbn9745835595
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29359
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างรัฐกับเอกชนต่างประเทศซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สัญญาประเภทนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่างประเทศ จุดประสงค์ของการศึกษาคือ ต้องการทราบถึงลักษณะทาง กฎหมายของสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนต่างประเทศ ปัญหาทางกฎหมายว่าด้วยกฎหมายที่บังคับใช้กับสัญญาในทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศและข้อขัดแย้งระหว่างความผูกพันของสัญญากับการใช้อำนาจของรัฐ ผลการศึกษาพบว่าสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนต่างประเทศเป็นสัญญาที่รัฐในฐานะองค์อธิปัตย์ได้ทำขึ้นกับเอกชนต่างประเทศ มีลักษณะเป็นการต่างตอบแทน สัญญานี้ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายภายในก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่เจตนาของคู่กรณี การที่คู่กรณีเลือกกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้สัญญาประเภทนี้พ้นจากอำนาจของกฎหมายภายในรัฐ เมื่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ นำมาใช้บังคับกับสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนต่างประเทศแล้ว ในทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศหมายถึง หลักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับกับทั่วไปย่อมนำมาใช้บังคับกับสัญญานี้ สำหรับกรณีศึกษาสัญญาสำรวจและแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า สัมปทานปิโตรเลียมตามความในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เป็นสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนต่างประเทศเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียม สัมปทานี้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทยโดยสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีอนุญาโตตุลาการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท ผลการวิเคราะห์ข้อกำหนดในการระงับข้อพิพาท พบว่ายังไม่มีความเหมาะสมเนื่องจากขอบเขตอำนาจของอนุญาโตตุลาการยังจำกัดอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีข้อบทเกี่ยวกับการประกันความมั่นคง ซึ่งส่งผลให้มีการห้ามการเปลี่ยนแปลงสิทธิ และหน้าที่ของคู่สัญญาโดยการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้มีการเจรจาสัญญาใหม่ได้เมื่อสภาวการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis aims to illustrate the legal regime of State Contract or Contract concluded between state agency and foreign private person. This contract serves as legal instrument to stabilize and ascertain the rights and duties of the parties concerned. A number of questions may be raised concerning the applicable law, nationalization and stabilization clause in the area of this contract. The findings of this thesis are as follows : 1. Domestic law or International law could be served as applicable law by the free choice of the parties. 2. When International law has been adopted as applicable law, general principle of law plays an important role for settling the dispute. These principles are emanated from the comparative study of legal system concerned. 3. In case of the Petroleum concession, the Ministry of Industry is competent authority in accordance with the Petroleum Act as guidance for concluding the concession under this Act. Thai law and legislation as well as international law will be adopted as applicable law. 4. Under Thai practices as petroleum contract, the jurisdiction of the arbitrator is very limited in a certain area. 5. Regarding the stabilization clause, rights and duties of the private part of the contract cannot be altered by unilateral act of state. Renegotiation is allowed for both parties if the circumstances have been considerably changed.
dc.format.extent3788964 bytes
dc.format.extent3519093 bytes
dc.format.extent9165473 bytes
dc.format.extent24164008 bytes
dc.format.extent15895314 bytes
dc.format.extent12456911 bytes
dc.format.extent1792873 bytes
dc.format.extent19781998 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนต่างประเทศ (state contract) ในกฎหมายระหว่างประเทศ : กรณีศึกษาสัญญาสำรวจและแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในประเทศไทยen
dc.title.alternativeState contract in international law : a case study of petroleum agreement in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mongkol_ka_front.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_ka_ch1.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_ka_ch2.pdf8.95 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_ka_ch3.pdf23.6 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_ka_ch4.pdf15.52 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_ka_ch5.pdf12.16 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_ka_ch6.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_ka_back.pdf19.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.