Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29846
Title: | นิเวศพันธุศาสตร์ของพืชสกุลถั่วแปบช้าง (Afgekia Craib) ในประเทศไทย |
Other Titles: | Ecological genetics of the genus Afgekia Craib in Thailand |
Authors: | ปรีชา ประเทพา |
Advisors: | ทวีศักดิ์ บุญเกิด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พืชสกุลถั่วแปบช้าง (Afgekia Craib) มีรายงานว่าพบครั้งแรกในประเทศไทย มีสองชนิดคือถั่วแปบช้าง (Afgekia sericea Craib) และ กันภัย (Afgekia mahidolae Burtt & Chermsirivathana) และจากข้อมูลในปัจจุบันเชื่อว่า เป็นพืชที่พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ด้านวิวัฒนาการของพืชทั้งสองชนิด โดยการศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยา เซลล์พันธุศาสตร์ รวมถึงลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการ จากผลการศึกษาการวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาของพืชสกุลนี้รวม 20 ลักษณะ โดยใช้วิธีการจัดจำแนกประเภท พบว่ามี 16 ลักษณะที่สามารถใช้ในการจัดจำแนกถั่วแปบช้างและกันภัย แต่อย่างไรก็ตาม สัณฐานวิทยาของเรณูของพืชทั้งสองชนิดมีความคล้ายคลึงกันมาก โดยมีขนาดและลวดลายผนังชั้นนอกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผลการศึกษาเซลล์พันธุศาสตร์แสดงให้เห็นว่า พืชทั้งสองชนิดมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน คือ 2n = 16 และในระยะเมทาเฟสแรกพบ 8 ไบเวเลนท์ในไมโครสปอร์โรไซต์ จากผลการทดสอบความมีชีวิตของละอองเรณู พบว่าพืชทั้งสองชนิดมีเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตสูงถึงร้อยละเก้าสิบ แต่กลับพบว่าไม่มีละอองเรณูที่สามารถงอกหลอดละอองเรณูได้ในสูตรอาหารต่างๆ ที่ใช้ในการทดลอง ผลการวิเคราะห์ไอโซโซม์ 2 ระบบ คือ เปอร์ออกซิเดส และเอสเทอเรส โดยใช้วิธีโพลิอะคริลาไมด์เจล อิเลคโตรโพรีซิสพบว่ารูปแบบของแถบไอโซไซม์ของถั่วแปบช้างและกันภัย แตกต่างกันอย่างชัดเจน ผลการศึกษานิเวศสรีรวิทยา พบว่าการเจริญเติบโตของพืชทั้งสองชนิดสอดคล้องกับปริมาณคลอโรฟิลล์ และปริมาณ soluble โปรตีน ซึ่งกันภัยมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าถั่วแปบช้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์ผลโดยสรุปแล้ว ผลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุศาสตร์ เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า พืชทั้งสองชนิดที่อยู่ในสกุลถั่วแปบช้าง มีสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการใกล้เคียงกัน และข้อมูลจากการศึกษาทางนิเวศสรีรวิทยา ชี้ให้เห็นว่าถั่วแปบช้างและกันภัยได้ผ่านการปรับตัวให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของแต่ละถิ่นอาศัยมาแล้วในอดีต |
Other Abstract: | The genus Afgekia Craib has been found for the first time in Thailand, represented by two species; Thua paep chaang (Afgekia sericea Craib) and Kan phai (Afgekia mahidolae Burtt & Chermsirivathana) and from the most up to data information they seem to be endemic to Thailand. The present research is aim to investigate the phylogenic relationships of the two species by means of morphological analyses, genetical and physiological studies. From the analysis of twenty morphological characteristics using discriminant method, sixteen characters are responsible to distinguish the two species. However, the two species are very similar in their pollen morphology with slightly different in their size and exine sculpturing. Cytological studies was demonstrated that the two species have the same chromosome number, 2n = 16 and 8 bivalents was found in microsporocyte during first metaphase. Pollen viability test of both species shows highly percentage of viability (90%), but however, no pollen was found to germinate on the medium studied. Polyacrylamide gel electrophoresis of two isozyme systems : peroxidase and esterase, successfully differented the two species. Ecophysiological studies using plant growth analysis and determination of total chlorophyll as well as soluble protein contents expressed in the same way that Kan phai had significantly higher growth attribute than Thua paep chaang. To sum up, the evidence from morphological analyses and genetical studies show that the two species of Afgekia have some phylogenic relationships. Whereas the results of ecophysiological investigation indicate that each species has been well adapted to each ecological environments. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29846 |
ISBN: | 9745782025 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preecha_pr_front.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_pr_ch1.pdf | 7.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_pr_ch2.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_pr_ch3.pdf | 9.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_pr_ch4.pdf | 18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_pr_ch5.pdf | 7.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_pr_ch6.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_pr_back.pdf | 8.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.