Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31003
Title: ผลของการฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกสูงและแบบแรงกระแทกต่ำ ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายและสารเคมีในเลือด
Other Titles: Effects of high-impact and low-impact aerobic dance on physical fitness and chemical substance in boold
Authors: ผกากรอง อุตสานนท์
ถนอมวงศ์ กฤษณเพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกสูงและแบบแรงกระแทกต่ำที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกายและสารเคมีในเลือด กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตหญิงที่พักอยู่ในหอพักของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งมิได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ จำนวน 31 คน มีอายุ 18-25 ปี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกสูง กลุ่มที่ 2 ฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำ และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุม ใช้เวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 45 นาที ทดสอบสมรรถภาพทางกายและตรวจสารเคมีในเลือดก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า "ที" (t-test) นำข้อมูล หลังการทดลองของทั้งสามกลุ่มมาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Analysis of varience) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ผลการวิจัยพบว่า ผลของการฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกสูงและแบบแรงกระแทกต่ำมีผลต่อสมรรถภาพทางกายและสารเคมีในเลือดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่กลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกสูงมีผลต่ออัตราชีพจรขณะพัก และความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตหลังการทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และความอ่อนตัวหลังการทดลองของกลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกสูงและแบบแรงกระแทกต่ำให้ผลที่ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to study and compare effects of high impact and low impact aerobic dance exercise on physical fitness and chemical substance in blood. Subjects were 31 volunteered sedentary female students stayed at Chulalongkorn University dormitory whose ages were 18-25 years old. They were devided into three groups. The first group was trained with high impact aerobic dance, the second group was trained which low impact aerobic dance and the third group was the control group. The two experimental groups were trained for 8 weeks with 3 days a week and 45 minutes a day. All three groups were then measured physical fitness and chemical substance in blood before and after the experiment. The data were analyzed in term of means, standard diviation, and t-test. The One-Way analysis of variance and Scheffe method were used to determine the statistically significant difference at the .01 level. It was found that: There was no significantly different among high impact and low impact aerobic dance after the experiment on the physical fitness and chemical substance in blood at the .01 level. However the high impact group were indicated the resting heart rate and cardiovascular endurance were better than the control group at the .01 level. After the experiment, both of the high impact and low impact aerobic dance groups had more flexibility than the control group at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31003
ISBN: 9745790176
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phakakrong_ut_front.pdf756.21 kBAdobe PDFView/Open
Phakakrong_ut_ch1.pdf756 kBAdobe PDFView/Open
Phakakrong_ut_ch2.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Phakakrong_ut_ch3.pdf497.95 kBAdobe PDFView/Open
Phakakrong_ut_ch4.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Phakakrong_ut_ch5.pdf982.29 kBAdobe PDFView/Open
Phakakrong_ut_back.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.