Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3327
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ | - |
dc.contributor.advisor | ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | กมล โพธิเย็น | - |
dc.date.accessioned | 2007-01-11T09:44:49Z | - |
dc.date.available | 2007-01-11T09:44:49Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745312975 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3327 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเสริมความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลด์ และประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นโดยเปรียบเทียบคะแนน ความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทย และด้านการคิดอย่างเป็นระบบของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และของนักศึกษาที่เรียนตามปกติ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เริ่มจากการวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีไตรอาร์ขิก การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบ สแกฟโฟลด์ เทคนิคการระดมสมอง เทคนิคผังความคิด และวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นโดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร จำนวน 90 คน แบ่งแบบสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้คะแนนความสามารถพื้นฐานทางการเขียน เป็นตัวควบคุม โดยแต่ละกลุ่มจะมีตัวอย่าง 30 คน การทดลอง 6 สัปดาห์ รวม 18 ชั่วโมง โดยมีการวัดความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทย และด้านการคิดอย่างเป็นระบบของกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ One way analysis of variance และ Two way analysis of variance และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยหลักการคือ การช่วยเหลือสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ โดยการวางแผนความคิดอย่างเป็นระบบและชัดเจน ก่อนที่จะลงมือเขียนและมอบหมายงานให้แก่ผู้เรียน ต้องเหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างเสริมความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ขั้นตอนการเรียนมี 6 ขั้น ได้แก่ 1) สร้างความน่าสนใจและให้เสรีในการฝึก 2) ใช้ประสบการณ์และปรับบริบทในการเรียนรู้ 3) สร้างความชัดเจนทางความคิด 4) ตรวจสอบทบทวนความคิด 5) ลงมือปฏิบัติงานตามผังโครงร่างความคิด 6) ตรวจประเมินผลงานเพื่อการปรับปรุง การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มีทั้งระหว่างและภายหลังการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอน 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียน พบว่า 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 2.1 คะแนนความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทยของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 คะแนนความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทยของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 คะแนนความสามารถด้านการคิดอย่างเป็นระบบของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4 คะแนนความสามารถด้านการคิดอย่างเป็นระบบของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.5 การวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกผลการเรียนรู้ของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม แสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบและพัฒนาความสามารถด้านทักษะการเขียนความเรียงภาษาไทย อันเป็นผลจากการที่ผู้เรียนได้สร้างแผนผังโครงร่างความคิดก่อนลงมือเขียน ได้มีปฏิสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันและช่วยเหลือการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน | en |
dc.description.abstractalternative | To develop a pedagogical model for developing systematic thinking to improve Thai language writing skill abilities and systematic thinking abilities for undergraduate students to Triarchic theory and Scaffolding approach and test its effectiveness. The researcher analyzed related data and developed them into a pedagogical model. Then the model was evaluated by being tried out with the samples of 90 undergraduate students of Rajamangala Institute of Technology, the Bangkok Commercial Campus in semester 2 of the academic year 2004. The students were classified into groups according to their scores in basic writing abilities. There were two experimental groups and one control group with 30 students in each. The experimental duration was six weeks or 18 hours. The Thai language writing skill abilities and systematic thinking abilities test was tried out with the two experimental groups both before and after the experiment. The data analysis was done by comparing the average scores among the students in the experimental groups and the control group using "One way analysis of variance" and "Two way analysis of variance". The learning result records of the experimental groups were also analyzed by content analysis. The developed pedagogical model consisted of the principles that the learner would be helped and supported in his/her clear and systematic learning before writing, and the assigned task had to suit his/her ability. The six steps or procedures were 1) create interest and freedom in practising 2) Use experience and adapt the context in learning 3) Create thinking clearness 4) Inspect and revise ideas 5) Start writing according to the thinking structure diagram 6) Inspect and evaluate the writing in order to improve; the measurement and evaluation of the instruction would happen during and after the instruction. As for the model effectiveness, the experimental showed that the scores in Thai language composition writing skill abilities and systematic thinking abilities higher average scores in post-test and repeated measures than in pre-test at the significant level of .05. | en |
dc.format.extent | 4602700 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.333 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- การเขียน | en |
dc.subject | ความคิดและการคิด | en |
dc.title | รูปแบบการพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเสริมความสามารถ ด้านทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้แนวคิดทฤษฎีไตรอาร์ขิกและวิธีการแบบสแกฟโฟลดิ์ | en |
dc.title.alternative | A model for developing systematic thinking to improve Thai language writing skill abilities for undergraduate students based on Triarchic theory and Scaffolding approach | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.333 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KamolPho.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.