Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34944
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผ่องพรรณ นันทาภิสุทธิ์
dc.contributor.advisorสันติ ถุงสุวรรณ
dc.contributor.authorพิมพา รุ่งนพคุณ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-08-14T02:57:17Z
dc.date.available2013-08-14T02:57:17Z
dc.date.issued2526
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34944
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en_US
dc.description.abstractNeisseria gonorrhoeae เป็นสาเหตุของโรคหนองใน ซึ่งจัดเป็นกามโรคอย่างหนึ่ง มีสถิติการระบาดเป็นอันดับ 2 ของกามโรคในประเทศไทย การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นอาศัยจากลักษณะของหนอง และการย้อมสีแกรม ซึ่งจะพบลักษณะของเชื้อเป็น intracellular gram negative diplococcic จากการนำสิ่งตรวจที่เป็นหนองจากผู้ป่วย 100 รายที่มารับการตรวจรักษาในคลินิกกามโรมของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ มาทำการย้อมสีแกรม และการย้อมด้วยวิธีฟลูออเรสซีนแอนตีบอดีจากสิ่งตรวจโดยตรง และทำการเพาะเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Thayer-Martin พร้อมทั้งทำการทดสอบยืนยันว่า เชื้อที่เพาะได้นั้นเป็นเชื้อ Neisseria gonorrhoeae โดยการย้อมสีแกรม, ย้อมฟลูออเรสซีนแอนตีบอดี, การเฟอร์เมนต์น้ำตาลมัลโตส กลูโคส และซูโคส และปฏิกิริยา coagglutination จากผลการทดลองพบว่า การย้อมสีแกรมจากสิ่งตรวจโดยตรง จะพบลักษณะของเชื้อ N.gonorrhoeae ในผู้ป่วย 53 ราย ส่วนการย้อมฟลูออเรสซีนแอนตีบอดี พบว่าให้ผลบวกเพียง 50 ราย ซึ่งให้ผลที่แตกต่างกัน 3% จากคำนวณผู้ป่วย 100 ราย เมื่อนำมาเพาะเชื้อและทำการทดสอบยืนยันเชื้อที่เพาะได้ว่าเป็นเชื้อ N.gonorrhaeae พบว่าเพาะเชื้อได้เพียง 46 ราย และทดสอบยืนยันว่า เป็นเชื้อ N.gonorrhaeae โดยที่เชื้อที่เพาะได้จะให้ผลบวกกับปฏิริยาอ๊อกซิเดส และปฏิกิริยา coagglutination ทั้งหมด และเฟอร์เมนต์น้ำตาลกลูโคสเพียง 44 สายพันธุ์ เมื่อนำไปทดสอบความไวต่อยาเพนนิซิลิน พร้อมกับทดสอบการสร้างเบต้า-แลคตาเมส พบว่าเชื้อมีความไวต่อยาเพนนิซิลิน 25 สายพันธุ์ และดื้อยาเพนนิซิลิน 21 สายพันธุ์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเชื้อที่สร้างเบต้า-แลคตาเมส 18 ราย ดังนั้นการย้อมสีแกรมเพียงอย่างเดียวก็พอที่จะใช้เป็นแนวทางช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น ทั้งยังให้ความสะดวก รวดเร็วและค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการย้อมด้วยวิธีฟลูออเรสซีน แอนตีบอดี เหมาะสำหรับห้องปฏิบัติการทั่วๆ ไป
dc.description.abstractalternativeNeisseria gonorrhoeae is a causative agent of Gonorrhea which is one of the sexually transmitted diseases. Gonorrhea is the second problem in epidemioloty of such diseases in Thailand. The provisional diagnosis depends on characteristic of discharges and Gram’s staining for intracellular gram negative diplococcic of polymorphonuclear cells. Gram’s staining and fluorescent antibody technique were determined directly from 100 specimens from the patients who attended to the Venereal Disease Clinic in Bhumipol Aduljadeh Hospital. The specimens were cultured on Thayer-Martin medium for isolation of N.gonorrhoeae and confirmed by gram’s stain, fluorescent antibody technique, sugar fermentation of maltose, glucose, and sucrose, and coagglutination test. The results from Gram’s stain were found intracellular gram negative diplococcic in 53 specimens and 50 positive results by fluorescent antibody technique. The difference between Gram’s stain and fluorescent antibody technique was 3% from 100 specimens. N.gonorrhoeae were isolated from 46 specimens and save the positive results in the confirmatory tests. All isolated strains gave the positive results to exidase reagent and coagglutination test. Only 44 isolated strains fermented glucose. Twenty-five strains of N. gonorrhoeae were sensitive to penicillin and twenty-one strains had resistance to penicillin. From the beta-lactamase test. Only 18 strains resisting penicillin were beta-lactamase producing strains. Thus, Gram’s staining is easier, more rapid and less expensive than fluorescent antibody technique for the routine laboratories.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการใช้ฟลูออเรซีน แอนติบอดี เทคนิค เพื่อตรวจหาเชื้อไนซีเรีย โกโนรีเอen_US
dc.title.alternativeApplication of Fluorescent Antibody technique for detection of Neisseria gonorrhoeaeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpha_ru_front.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Pimpha_ru_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Pimpha_ru_ch2.pdf7.5 MBAdobe PDFView/Open
Pimpha_ru_ch3.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Pimpha_ru_ch4.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Pimpha_ru_ch5.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Pimpha_ru_back.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.