Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36276
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบล-
dc.contributor.advisorวิศนี ศิลตระกูล-
dc.contributor.authorแก้วตะวัน ศิริลักขณานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-19T05:10:50Z-
dc.date.available2013-10-19T05:10:50Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36276-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractศึกษา 1) ความต้องการเรียนรู้ของผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาแก่บุตรหลานวัยรุ่น 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาแก่บุตรหลานวัยรุ่น 3) ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นสำหรับผู้ปกครอง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาแก่บุตรหลานวัยรุ่น และ 4) ปัจจัย เงื่อนไขและปัญหาของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ประชากรเป็นผู้ปกครองที่มีบุตรหลานมีอายุอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นระหว่าง 11-14 ปี พักอาศัยอยู่ด้วยกัน ที่เข้ารับคำปรึกษา ที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และสนใจเข้าร่วมโปรแกรมการให้การศึกษาสำหรับผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาแก่บุตรหลาน กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 20 คนและกลุ่มควบคุม20 คน โดยวิเคราะห์ผลก่อนและหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองมีความต้องการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยต้องการเรียนรู้ในด้านทักษะส่วนบุคคล ด้านพฤติกรรมทางเพศ ด้านสุขอนามัยทางเพศ และด้านการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา อยู่ในระดับมาก ในขณะที่บุตรหลานต้องการเรื่องเพศศึกษาอยู่ในระดับมาก โดยต้องการเรียนรู้ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านสุขอนามัยทางเพศและด้านสังคมและวัฒนธรรมอยู่ในระดับปานกลาง 2) โปรแกรมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาประกอบด้วย 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ การเข้าใจเรื่องเพศ การสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลานวัยรุ่น เมื่อลูกโตเป็นหนุ่มเป็นสาว การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทักษะการแก้ไขปัญหา และการเข้าใจสัมพันธภาพของวัยรุ่น 3) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น สามารถเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาของผู้ปกครองแก่บุตรหลานวัยรุ่นได้ โดยผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศศึกษา เจตคติต่อการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา ทักษะการปฏิบัติการสื่อสารเรื่องเพศศึกษา และการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง และเพิ่มสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้บุตรหลานของกลุ่มทดลองก็มีการรับรู้ว่าความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาของผู้ปกครองเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วย 4) ปัจจัยที่ส่งเสริมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นคือปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านเนื้อหาและด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนเงื่อนไขของการใช้โปรแกรมคือเจตคติของผู้เรียน การออกแบบกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสม ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติ ส่วนปัญหาในการนำโปรแกรมไปใช้คือ การใช้สื่อการเรียนรู้ในการอบรม และสถานที่อบรมen_US
dc.description.abstractalternativeTo 1)study the parents’ learning needs for enhancing their communicative abilities on sex education of their adolescent children; 2) develop a non-formal education program for the parents to enhance their communicative abilities on sex education of their adolescent children; 3)implement a non-formal education program for the parents to enhance their communicative abilities on sex education of their adolescent children; and 4)study the supporting factors together with the obstacles and problems which effect the non-formal education program. The research samples were 40 parents and 40 adolescent children between 11-14 years old, 20 were in the experimental group and 20 were in the controlled group. The data were analyzed by using pre-post-test process. The research findings were as follows: 1) The parents’ learning needs were average while their adolescent children’s learning needs were high; 2)The education program for enhancing parents’ communicative abilities on sex education included six learning units, i.e. understanding of sex, communication on sex issue with teenagers, premature sexual relations, skills resolution, along with understanding of teenagers’ relationship; 3) The non-formal education program developed was able to enhance the parents’ communicative abilities on sex education of their adolescent children. According to the experiment, the parents in the experimental group had more increase in sex knowledge, self-efficacy including attitude and skills in sex education than before experiment and the control group at .05 level of significance. In addition, the adolescent children in the experimental group also perceived their parents’ increasing communication in sex education at .05 level of significance; 4) the supported factors were the learners, the facilitator, content and activities, the problems were the learning resources, materials and training place.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1131-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.subjectผู้ปกครองกับเด็กen_US
dc.subjectเพศศึกษาen_US
dc.subjectการสื่อสารกับเพศen_US
dc.subjectNon-formal educationen_US
dc.subjectParent and childen_US
dc.subjectSex instructionen_US
dc.subjectCommunication in sexen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสำหรับผู้ปกครองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารเรื่องเพศศึกษาแก่บุตรหลานวัยรุ่นen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a non-formal education program for parents to enhance communicative abilities on sex education of their adolescent childrenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArchanya.R@Chula.ac.th-
dc.email.advisorwisanee@nfe.go.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1131-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kaewtawan_si.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.