Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36393
Title: ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์ขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม
Other Titles: The effectiveness of public relations of non-government environmental organizations
Authors: ธีรวันท์ โอภาสบุตร
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Patchanee.C@chula.ac.th
Subjects: องค์กรพัฒนาเอกชน
การประชาสัมพันธ์
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
การเปิดรับข่าวสาร
Non-governmental organizations
Public relations
Environmental protection
Media exposure
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความตระหนัก และความเชื่อถือที่มีต่อเนื้อหาของข่าวสารประชาสัมพันธ์และต่อองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งเเวดล้อม โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการประมวลผลผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อบุคคลในระดับต่ำ และจากสื่ออินเทอร์เน็ตในระดับต่ำมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ประชาชนมีความตระหนักต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และความสำคัญขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งเเวดล้อมในระดับสูง และมีความเชื่อถือต่อเนื้อหาของข่าวสารประชาสัมพันธ์และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งเเวดล้อมในระดับสูง 2. ประชาชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อบุคคล แตกต่างกันเป็นบางส่วน 3. การเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตระหนักต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความสำคัญขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งเเวดล้อม แต่การเปิดรับข่าวสารจากสื่ออินเทอร์เน็ตไม่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และความสำคัญขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งเเวดล้อม 4. การเปิดรับข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อบุคคล และสื่ออินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเชื่อถือต่อเนื้อหาของข่าวสารประชาสัมพันธ์และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งเเวดล้อม
Other Abstract: To study media exposure toward environmental problems and examine the correlation among media exposure, awareness and perceived credibility among Bangkok metropolis residents. Questionnaires were used to collect the data from a total of 400 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, one-way ANOVA and Pearson’s product moment correlation coefficient were employed for the data analysis. SPSS for windows application was selected for data processing. The research results are as followings : 1. Most people are exposed to the problem of environment on mass media, specialized media, interpersonal communication channel at low level, and even lower on the internet. However, their awareness and credibility are at high level. 2. Residents different in sex, age, education, occupation and income are exposed to mass media, specialized media, internet and interpersonal communication channel are different in some parts. 3. The exposure to environmental problems on mass media, specialized media and interpersonal communication channel are positively correlated with their awareness regarding environmental problems and the importance of non-government environmental organizations. Whereas, the exposure on the internet is not correlated. 4. The exposure to environmental problems on mass media, specialized media, internet and interpersonal communication channel is positively correlated with their credibility regarding content of the environmental problems and the importance of non-government environmental organizations.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36393
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.415
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.415
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
teerawan_op.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.