Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36607
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.advisorแน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว.-
dc.contributor.authorชญาณิน จิตรานุเคราะห์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-11-06T14:04:28Z-
dc.date.available2013-11-06T14:04:28Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36607-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractเรือนไทยภาคกลางในอดีตใช้ภูมิปัญญาในการออกแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในเขต ร้อนชื้น แต่ผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบตะวันตก การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และสภาวะโลกร้อน รวมทั้งมลภาวะทางอากาศและเสียงทำให้เรือนไทยไม่สามารถตอบสนองต่อการใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายเช่นในอดีต การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์คุณค่ามรดกด้านการปรุงแต่งองค์ประกอบสถาปัตยกรรมและการใช้สอย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อนุรักษ์ และต่อยอดองค์ความรู้อย่างแท้จริงจากอดีตสู่ปัจจุบัน การวิจัยนี้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากปัจจัยที่มีอิทธิพลในอดีต คือ ภูมิประเทศ สภาพอากาศ และวัฒนธรรมในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เปรียบเทียบกับข้อมูลในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า เทคโนโลยีการปรับสภาพแวดล้อมของเรือนไทยในอดีต ทำให้ร่างกายมนุษย์รู้สึกสบายโดยการผสมผสาน 6 ตัวแปร ของสภาวะน่าสบาย ประกอบด้วย ตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมแต่ปรุงแต่งได้ ด้วยวิธีการลดอุณหภูมิอากาศ และลดความชื้นสัมพัทธ์ ตัวแปรที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ด้วยวิธีลดอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโดยรอบ ลดค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้า ลดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และเพิ่มความเร็วลม โดยสามารถจำแนกการปรุงแต่ง ดังนี้ 1) การปรุงแต่งอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวสภาพแวดล้อมรอบนอกเรือนให้ต่ำ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของการใช้อุณหภูมิดินในร่ม การระเหยของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ การใช้ต้นไม้ขนาดใหญ่เพื่อให้ร่มเงา ใช้ประโยชน์จากการคายน้ำ และการปรับทิศทางลม 2) การปรุงแต่งอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโดยรอบในเรือนให้ต่ำจากการใช้มุมเอียง และการบังเงาของหลังคา การกันแดดจากตัวเรือน ชายคา การต้านทานความร้อน การลอยตัวและแทรกผ่านของอากาศร้อนสู่สภาพแวดล้อมของวัสดุมุงหลังคา การแลกเปลี่ยนรังสีความร้อนของหลังคากับท้องฟ้าในเวลากลางคืน 3) การปรุงแต่งวัฒนธรรมด้วยผ้าที่บางเบาและน้อยชิ้น ซึ่งช่วยลดค่าความเป็นฉนวนของเสื้อผ้า การใช้กิริยามารยาทที่เนิบช้า ซึ่งช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายมีค่าต่ำ 4) การผสมผสานวิถีชีวิตภายในเรือนเพื่อสร้างความสบาย โดยใช้ที่โล่งของพาไล ใช้ใต้ถุนเรือนในเวลากลางวัน และใช้ที่บนเรือนในเวลากลางคืน แนวทางจากการปรุงแต่งตัวแปรทั้งหมดเป็นสาระสำคัญในการส่งเสริมความสบายโดยการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างสูงสุด ดังนั้นการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยในอนาคตจึงควรคำนึงถึงการอยู่อาศัยอย่างสบาย มีคุณภาพชีวิต ด้วยการปรับใช้สาระสำคัญของเรือนไทย ไม่ใช่คำนึงแต่รูปลักษณ์ของเรือนไทยเพียงอย่างเดียวen_US
dc.description.abstractalternativeThe past traditional Thai-style house of Central Thailand was utilized the philosophy and conceptual design for hot-humid climate but transferring technology, changing culture, and global warming affect today’s traditional Thai house in a way far removed from its own intellectual, especially comfortable living inside. The research objective is to reveal the legacy of good micro modifiers in order to learn and appreciate the genuine advantages it has provided from the past to the present. The data has been collected and analyzed incorporating the historical impact factors of topography, weather and culture during the early Rattanakosin era, compared to current data. It is found that to integrate 6 factors of thermal comfort can improve human sensation to reach the comfort zone; reducing air temperature and relative humidity which is found that could not be control; utilizing usable factors by reducing mean radiant temperature (MRT), clo-value, metabolism rate, and increasing wind velocity. The modifications were follows: 1) Reduced MRT in environment by; using shaded soil temperature, evaporative cooling, shaded tree, transpiration, natural ventilation. 2) Reduced MRT in traditional Thai house by; using roof angle, shaded from roof and building, shading devices, high resistance roof material, night sky radiation and increasing heat penetrate through roof material. 3) Reduced clo-value and metabolism rate by; using less and light fabric and gentle movement. 4) Utilized living area to maximize comfort such as by staying on the veranda and the ground floor in the daytime and sleeping on the raised floor in the nighttime. These modifications were the essential factors to achieve thermal comfort by taking full advantage of nature. Thai Architecture in the future should provide not only style, but also comfortable living integrating essential factors in traditional Thai house.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.819-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเรือนไทยen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมไทย (ภาคกลาง)en_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยen_US
dc.subjectThai houseen_US
dc.subjectArchitecture, Thai -- Thailand, Centralen_US
dc.subjectArchitecture, Domesticen_US
dc.titleการวิเคราะห์สาระสำคัญของเทคโนโลยีเรือนไทยภาคกลางen_US
dc.title.alternativeThe analysis of essential factors in traditional Thai house technology : Central Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSoontorn.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNangnoi.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.819-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jayanin_ch.pdf8.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.