Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/383
Title: | โครงการฝึกอบรมพัฒนาทักษะการต่อรองด้วยวิธีอวัจนะภาษา ของสตรีขายบริการทางเพศให้ลูกค้าใช้ถุงยางอนามัยในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | การฝึกอบรมพัฒนาทักษะการต่อรองด้วยวิธีอวัจนะภาษา ของสตรีขายบริการทางเพศให้ลูกค้าใช้ถุงยางอนามัยในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส : รายงานการวิจัย Intervention experiment to improve non-verbal negotiation skills among female sex workers in Sungai Kolok, Thailand |
Authors: | ภัสสร ลิมานนท์ Griensven, Godfried J.P. van จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันประชากรศาสตร์ |
Email: | Bhassorn.L@chula.ac.th |
Subjects: | โสเภณี ถุงยางอนามัย เพศสัมพันธ์ |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการฝึกอบรมนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการต่อรองด้วยวิธีอวัจนะภาษา (non-verbal negotiation skills) ของสตรีขายบริการทางเพศในเขตอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อให้ลูกค้าชาวต่างชาติใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับตน โดยที่ทางโครงการได้พัฒนาคู่มือและอุปกรณ์การอบรมในรูปวีดิทัศน์ที่จัดสร้างขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ข้อมูลความรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่สตรีขายบริการ เรียนรู้ทักษะในการต่อรองการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งทักษะการต่อรองจะเป็นรูปบบที่ไม่ใช้ภาษาพูด แต่จะใช้การแสดง ท่าทาง ใช้ภาษามือ และสัญญลักษณ์ต่าง ๆ การแสดงสีหน้าเพื่อบ่งอารมณ์ความรู้สึกในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งฝึกหัดให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ วิธีการจูงใจ หรือโน้มน้าวอย่างมีประสิทธิภาพที่จะให้ลูกค้าตกลงยินยอมใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อใช้บริการทางเพศ หลังจากการฝึกอบรมสตรีขายบริการจะถูกขอให้น้ำไปทดลองใช้กับลูกค้าเพื่อนำปัญหามาอภิปรายและซักถามข้อสงสัย การวิจัยครั้งนี้มีการประเมินผลกระทบของกิจกรรมอบรมโดยการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งก่อนและหลัง 9pre-post tests) ในกลุ่มสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 200 คน สตรีครึ่งหนึ่งจะถูกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลอง (experiment group) เข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะในช่วงการวิจัยและจำนวนที่เหลือจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่มควบคุม (control group) ซึ่งจะได้รับการอบรมพัฒนาทักษะภายหลังการวิจัยได้เสร็จสิ้นลง กิจกรรมเวลาการอบรมและเก็บรวบรวมข้อมูลมีระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ผลจากการประเมินความแตกต่างที่เกิดกับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในการเข้ารับการอบรมครั้งนี้พบว่า โดยรวม สตรีกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและเห็นได้ชัดเจนกว่ากลุ่มควบคุมในเรื่องความรู้ การรับรู้ถึงความร้ายแรงของโรค ความเสี่ยงที่ตนจะติดโรคและการถ่ายทอดเชื้อ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในทักษะที่จะสื่อสารโน้มน้าวหรือปฏิเสธลูกค้าได้ในเรื่องการใช้ถุงยางอนามัย การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็คือ สตรีกลุ่มทดลองมีการปรับปรุงพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ โดยการใช้ถุงยางอนามัยกับคู่นอนที่มิใช่ลูกค้ามากขึ้น ซึ่งปกติกพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะรณรงค์ จึงน่าที่จะนำเอาสื่อที่ผลิตขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการต่อรองของสตรีขายบริการให้ลูกค้าใช้ถุงยางอนามัย มาดัดแปลงใช้ในการอบรมทักษะของสตรีในกลุ่มประชากรทั่วไปซึ่งมักมีปัญหาในการต่อรองหรือจูงใจคู่เพศสัมพันธ์ให้ใช้ถุงยางอนามัย เพื่อลดการแพร่ระบาดโรคเอดส์ได้อีกทางหนึ่ง |
Description: | โดยความร่วมมือกับสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนโครงการโรคเอดส์ สหภาพยุโรป |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/383 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1998.223 |
ISBN: | 9746393278 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1998.223 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pop - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bhassorn(improve).pdf | 8.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.