Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41779
Title: กลวิธีการแสดงเป็นนางวิฬาร์ ในละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์
Other Titles: Wilar Dance Techniques In Lakon Nok "Chaiyachet"
Authors: จิราพรรณ เอี่ยมแก้ว
Advisors: สวภา เวชสุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากลวิธีการแสดงเป็นนางวิฬาร์ ในละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์ เกี่ยวกับความเป็นมาของบทบาทการแสดงของนางวิฬาร์ องค์ประกอบของการรำของนางวิฬาร์ กระบวนท่ารำ และกลวิธีการรำของนางวิฬาร์ โดยศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการและบทความที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ จากการสัมภาษณ์อาจารย์นพรัตน์ หวังในธรรม อาจารย์เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ ศึกษาจากการแสดงจริงและวีดีทัศน์การแสดง รวมถึงการฝึกปฏิบัติท่ารำ ผลการศึกษาพบว่า นางวิฬาร์เป็นตัวนางที่เป็นแมวหรือสัตว์เดียรัจฉาน มีความสามารถและความรู้สึกนึกคิดแบบมนุษย์ เป็นพี่เลี้ยงคอยรับใช้และช่วยเหลือนางสุวิญชาตลอดทั้งเรื่อง นางวิฬาร์มีบทบาทเด่น 3 ตอน คือตอนอุบายนางทั้งเจ็ด ตอนพบพระโอรส และตอนนางแมวเย้ยซุ้ม ละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์นิยมแสดงมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน โดยมีเนื้อเรื่องย่อคือ พระไชยเชษฐ์คิดว่านางสุวิญชาคลอดลูกเป็นท่อนไม้จึงขับไล่นางสุวิญชา โดยมีนางวิฬาร์ติดตามไปด้วย เมื่อพระไชยเชษฐ์ออกติดตามนางสุวิญชา ลักษณะท่ารำของนางวิฬาร์เลียนแบบธรรมชาติของแมว เน้นการรำตีบทสอดแทรกอารมณ์ด้วยท่าทางการแสดงท่ารำมักรำแบบร้อนรน สะบัดสะบิ้ง ลอยหน้า ห่มเข่าแรง โน้มลำตัวไปข้างหน้ามาก กระโดดลอยตัว การรำบางท่าสอดแทรกกิริยาการกระแอมกระไอ และส่งเสียงร้องอย่างแมว หลักอันเป็นกลวิธีการรำคือ นางแมวต้องแสดงออกทางสีหน้า สื่อออกมาด้วยดวงตา แต่การแสดงออกทางแววตานั้นต้องมีความสอดคล้องกับหน้าตาที่แสดงด้วย กลวิธีการแสดงที่ผู้แสดงที่เป็นมนุษย์ต้องแสดงความเป็นแมว คือการจินตนาการณ์ว่าตนเองเป็นแมวจริง ๆ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการเข้าใจในบทละครอย่างท่องแท้และการเรียนรู้พฤติกรรมของแมวตามธรรมชาติ จะเป็นส่วนเสริมบุคลิกของนางวิฬาร์ให้ชัดเจนมากกระทั่งผู้ชมเข้าใจว่าเป็นแมวจริงๆ การวิจัยกลวิธีการรำของตัวละครที่มีบุคลิกพิเศษมีน้อยมาก ควรมีการวิจัยในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์แก่วงการนาฏยศิลป์ต่อไป
Other Abstract: This thesis is to study performance techniques of Wilar, a leading character in Lakon Nok named Chaiyachet including its hislory, performance elements, dance patterns, technique and style. Research methodology are documentary, intervicwing experts, observing real performance and VCD, and researcher’s training with the experts. The research finds that Wilar is a cat who can think and act as a human being. She is the maid in service of Queen Suwincha. Her outstanding role appears in 3 episodes: Trickery of the Seven Concubines, Finding the Prince, and Mocking the King. Chaiyachet has been performed since Ayutthaya period. Its story is about King Chaiyachet is lured by his seven concubines to believe that Suwincha, his Queen, gives birth as a piece of wood. The Queen with Wilar is sent into exile. The King, after knowing the truth, goes out to search for his Queen. On his way, he is challenged by Naraithibet who is actually his son. He takes him to meet the Queen. While the King is waiting at the city gate, Wilar comes out and mocks him. Finally, the King and Queen meet with happiness. Wilar’s danc is characterized by the nature of the cat such as swift movements, facial expressions strongly knee flexing, leaning forword most of the time, jumpsing, and producing some cat sounds. Dancer who portrays Wilar’s role must understand the nature of movements and emotions of the cat in order to play this role perfectly. Researches on dance techniques for these special roles are rare. There should be more studies in order to enrich the dance knowledge.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41779
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chiraphan_ie_front.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Chiraphan_ie_ch1.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Chiraphan_ie_ch2.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open
Chiraphan_ie_ch3.pdf6.83 MBAdobe PDFView/Open
Chiraphan_ie_ch4.pdf19.17 MBAdobe PDFView/Open
Chiraphan_ie_ch5.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Chiraphan_ie_back.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.