Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42849
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนีญา อุทัยสุขen_US
dc.contributor.authorปพิชญา เสียงประเสริฐen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:53Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:53Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42849
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาประวัติและความเป็นตัวตนของครูชนก สาคริก 2) วิเคราะห์ทัศนมิติและกระบวนการถ่ายทอดดนตรีไทยของครูชนก สาคริก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บทความ การสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูชนก สาคริก เป็นผู้สืบทอดสายตระกูลศิลปบรรเลงและได้รับการปลูกฝังด้านการสอนและคุณธรรมจากครอบครัว ส่งผลให้ครูชนก สาคริก มีบุคลิก ความสนใจและความเป็นครูที่เป็นเอกลักษณ์ 2) ทัศนมิติและกระบวนการถ่ายทอดดนตรีไทยของครูชนก สาคริก แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ การทำงานให้เต็มที่และดีที่สุด ทำโดยไม่หวังผลและทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มีกระบวนการ คือ ประพฤติตนเป็นแบบอย่าง เผยแพร่ดนตรีสู่สาธารณะ ผลิตสื่อออนไลน์ เผยแพร่ธรรมะและร่วมก่อตั้งมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ด้านการสอน แบ่งเป็น การอนุรักษ์ คือ ปลูกฝังดนตรีไทยให้กับเด็ก รักษาภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนและรักษาระเบียบจารีตที่เป็นมา โดยใช้กระบวนการ จัดทำการ์ตูนดนตรีไทย อนุรักษ์ทางเพลงของครูหลวงประดิษฐไพเราะฯอนุรักษ์ระบบโน้ตตัวเลข 9 ตัวและร่วมจัดพิธีไหว้ครู และการพัฒนา คือ การเปลี่ยนวิธีการนำเสนอดนตรีไทยสู่สังคม เผยแพร่ผ่านสื่อและเทคโนโลยี โดย ประยุกต์เครื่องดนตรีอื่นๆมาบรรเลงเพลงไทย พัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี พัฒนาเทคนิคและวิธีสอน ประพันธ์เพลงและพัฒนาตำรา บทความและเอกสารต่างๆ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นคนเก่ง ดีและเรียนรู้ดนตรีไทยอย่างมีความสุข ให้เก่ง โดยใช้วิธีการสอนและสื่อที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน และฝึกให้ผู้เรียน มีกระบวนการคิดและถ่ายทอดได้ ให้ดี โดย การสอดแทรกมารยาท คุณธรรม คุณค่าของดนตรีและวัฒนธรรม ให้มีความสุข โดย เน้นให้ผู้เรียนสนุก ผ่อนคลาย อบอุ่นและผูกพันen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are 1) to study the background and identity of Chanok Sagarik, and 2) to analyze perspectives and the Thai musical transmission methods of Chanok Sagarik by qualitative research with data collected from documents, articles and interviews. The data were interpreted, inferentially concluded and presented in written form. The results are that 1) Chanok Sagarik was a descendant of the Silpabanleng family and was passed on the tradition of teaching and sense of morality from his family. This gave Chanok Sagarik a unique personality, interest and teaching style. 2) The perspectives and Thai musical transmission methods of Chanok Sagarik are divided into 3 parts. First is behavior, which refers to dedication and doing one’s best in work without expecting anything in return and in a socially responsible manner. For him, the process involved being a role model, promoting music, producing online materials, practicing Dharma, and establishing the Luangpraditphairor Foundation. Second is teaching which is divided into conservation i.e. passing on Thai music to children, preserving the past generations’ knowledge and customs by creating Thai musical cartoons, conserving Luangpraditphairor’s songs and the nine-musical note system, and organizing the Wai Khru (paying respect to teachers) ceremony. The other aspect of teaching is development by changing the way to present Thai music to society through media and technology by adapting other musical instruments for Thai songs, developing teaching materials with technology, developing techniques and teaching styles, writing songs, and developing textbooks, articles and documents. Third is developing competent, good and happy Thai musical instrument learners. Competent students are developed by combining different teaching styles using a variety of materials appropriate for the learners. These train students to master the understanding and pass on their knowledge. Good students are developed by teaching manners, morality, and appreciation of the value of music and culture. Happy students are developed by emphasizing the learner’s enjoyment, relaxation, warmth, and attachment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.346-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครูดนตรีไทย
dc.subjectทัศนียภาพวิทยา
dc.subjectPerspective
dc.titleการวิเคราะห์ทัศนมิติและกระบวนการถ่ายทอดดนตรีไทยของครูชนก สาคริกen_US
dc.title.alternativeAN ANALYSIS OF CHANOK SAGARIK’S PERSPECTIVES AND THAI MUSICAL TRANSMISSION METHODSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornoonnin@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.346-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383351627.pdf7.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.