Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42862
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคาen_US
dc.contributor.authorธนภณ บุญพลอยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:59Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:59Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42862
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (2) วิเคราะห์การรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล และ (3) วิเคราะห์ตัวแปรจำแนกการรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 358 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์จำแนก (discriminant analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก คือ มีความรู้ทางวิชาการที่เป็นเลิศ มีทักษะด้านภาษา มี่ทักษะในการคิดขั้นสูง มีความสามารถในการผลิตผลงานอย่างสร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีหลักในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 โดยเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ที่มีความเป็นสากล เรียกว่า การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) ประกอบด้วย 3 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ IS1 – การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) IS2 - การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation) IS3 – การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) ซึ่งใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า บันได 5 ขั้นของการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ประกอบด้วย (1) การตั้งประเด็นคำถามและปัญหา (2) การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (3) การสรุปองค์ความรู้ (4) การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ และ (5) การบริการสังคมและจิตสาธารณะ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ใช้หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งพิจารณาจากคุณภาพของหลักฐานการเรียนรู้ในแต่ละขั้นของกิจกรรมการเรียนการสอน 2. ครูในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลมีการรับรู้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากลโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการรับรู้มากที่สุดในด้านเป้าหมายคุณภาพนักเรียน รองลงมาคือแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และการจัดสาระการเรียนรู้ที่มีความเป็นสากลลงในหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ ส่วนศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีศักยภาพด้านการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนในสาระการเรียนรู้ที่มีความเป็นสากลมากที่สุด รองลงมาคือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ที่มีความเป็นสากลตามลำดับ 3. ตัวแปรจำแนกการรับรู้ของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 50.55 จำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 85.2 ตัวแปรที่จำแนกการรับรู้ของครูที่ดีที่สุด คือ ตัวแปรดัมมี่ความเป็นครูที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท ส่วนตัวแปรจำแนกศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 16.56 จำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 69.6 ตัวแปรที่จำแนกศักยภาพของครูที่ดีที่สุดคือ ตัวแปรดัมมี่ความเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่en_US
dc.description.abstractalternativeThe research objectives are 1) to analyze instructional in schools management with world-class standards 2) to analyze teachers’ perception and potential in instructional schools management moving towards world-class standards and 3) analyze the predictor of teachers’ perception and potential in instructional schools management moving towards world-class standards. The research methodology is quantitative, based on questionnaires responded by 358 schools teachers under the Office of The Basic Education Commission, who participated in the 2nd class of World Class Standard School in academic year 2013. The analysis consists of descriptive statistics, t-test and discriminant analysis, which can be concluded as follows; 1. Schools moving towards world-class standards have a goal to develop students with potentials of global citizen, which possess academic excellence, language skills, critical thinking, creativity and social responsibility. The curriculum is based on Basic education core curriculum year 2008 by supplementing a subject which is international, called IS or Independent Study. It consists of 3 key areas, IS1 Research and Knowledge Formation, IS2 Communication and Presentation and IS3 Social Service Activity. Teaching procedure of 5 steps are employed, 1) hypothesis formulation 2) searching for information 3) knowledge formation 4) effective communication and 5) public service. Assessment and evaluation is according to the basic education core curriculum year 2008. 2. Teachers in schools moving towards world-class standards have good perception of instructional management. With the best perception in learner’s quality goal, concept of instructional management, and arranging curriculum with Independent Study respectively. In addition, teachers’ potential of instructional management in schools moving towards world-class standards is average. The proficiency goes giving guidance to students, arranging activities and assessment, respectively. 3. After the analysis, the teachers’ perception in instructional management predictors could explained that the variance of the groups are 50.55% and 85.20% correctly classified. The best predictor was the Master's degree dummy. While the teachers' potential in instructional management predictors could explained that the variance of groups are 16.56% and 69.60% correctly classified. The best predictor was large school size dummy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.358-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครู -- การประเมิน
dc.subjectการศึกษา -- มาตรฐาน
dc.subjectTeachers -- Rating of
dc.subjectEducation -- Standards
dc.titleการวิเคราะห์การรับรู้และศักยภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่มุ่งสู่มาตรฐานสากลen_US
dc.title.alternativeAN ANALYSIS OF TEACHERS’ PERCEPTION AND POTENTIAL IN INSTRUCTIONAL MANAGEMENT IN SCHOOLS MOVING TOWARDS WORLD-CLASS STANDARDSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsiripaarn.s@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.358-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5383832127.pdf11.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.