Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42918
Title: การปรับปรุงระบบจัดการอะไหล่ในโรงงานบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ
Other Titles: IMPROVEMENT OF SPARE PART MANAGEMENT SYSTEM IN A PAPER PACKGING FACTORY
Authors: ธงชัย วุฒิจันทร์
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: cpaveena@gmail.com
Subjects: การควบคุมสินค้าคงคลัง
การจัดการคลังสินค้า
Inventory control
Warehouses -- Management
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอการปรับปรุงมูลค่าคงคลังอะไหล่ให้ลดลงจากการพบปัญหาหลัก 3 ปัญหา คือ 1.มูลค่าคงคลังสูง 2.อะไหล่ขาดมือบางรายการ และ 3.วิธีการทำงานที่ไม่ชัดเจน แนวทางการแก้ไขเริ่มต้นจากการปรับระดับคงคลังที่เป็น Dead stock หรือ ไม่เคลื่อนไหวมาก ในส่วนของอะไหล่ที่เหลือได้วิเคราะห์แต่ละรายการว่ามีระดับคงคลังปัจจุบันที่เหมาะสมหรือไม่ และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยใช้วิธีการ Why why เมื่อได้สาเหตุของปัญหาแล้วจึงได้แบ่งกลุ่มของอะไหล่โดยใช้ 2 แนวทางร่วมกัน คือ MCA Analysis (Multi Criteria Analysis) โดยใช้เลือกใช้ตัวแปร 4 ตัว คือ 1.มูลค่าการใช้จ่ายต่อปี 2. เวลานำ 3.ความสำคัญของอะไหล่ 4. มูลค่าต่อชิ้นและการแบ่งกลุ่มโดยใช้อัตราการเคลื่อนไหวของอะไหล่ หลังจากแบ่งกลุ่มอะไหล่ตามแนวทางทั้งสองแล้ว ได้มีการพิจารณารายการอะไหล่ที่ไม่จำเป็นต้องเก็บโดยใช้ 2 เกณฑ์ คือ อะไหล่ที่มีสามารถทดแทนได้หรือไม่ กับ อัตราส่วนความคุ้มทุน (Cost ratio) ระหว่างค่าเสียหายที่เกิดจากเครื่องจักรหยุดและต้นทุนในการเก็บของอะไหล่ สำหรับกลุ่มอะไหล่ที่ต้องมีคงคลังจะถูกนำมาพิจารณาตามพฤติกรรมความต้องการของอะไหล่ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ Lumpy และ Intermittent ผู้วิจัยนำเสนอวิธีการใหม่และเลือกนโยบายเฉพาะกลุ่ม A และ B โดยกำหนดนโยบายของกลุ่ม Lumpy ให้ใช้นโยบาย Max min ส่วนกลุ่ม Intermittent แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มอะไหล่ที่จัดหาภายในประเทศใช้นโยบายแบบ (s,S) และกลุ่มที่จัดหาจากต่างประเทศเลือกใช้นโยบายแบบ Periodic Review ร่วมกับการจัดซื้อแบบร่วมในช่วงเวลาที่เท่ากันโดยจัดทำวิธีการเช็คอะไหล่ที่มีคำสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายเดียวกันในช่วงเวลาใกล้เคียงขณะนั้น 1 สัปดาห์ ทั้งยังปรับปรุงกระบวนการทำงานในขั้นตอนประเมินปริมาณอะไหล่ที่นำเข้า สต๊อก รวมทั้งการปรับปริมาณเข้าสต๊อกโดยหน่วยงานคลังสินค้า, จากการทดสอบนโยบายใหม่พบว่าค่าเฉลี่ยของมูลค่าคงคลังลดลงจาก 6.9 ล้านบาท/เดือน เป็น 6.3 ล้านบาท/เดือน ค่าเฉลี่ยอัตราการขาดอะไหล่ ร้อยละ 1.16 เป็น 0.73 และคงระดับ Fill rate เฉลี่ย ไว้ที่ ร้อยละ 99
Other Abstract: The objective of this thesis is to reduce spare part inventory value caused by 3 main reasons : 1.Excessive inventory value 2.Spare parts shortage and 3. Inappropriate work instuction. Initailly, non-moving parts are identified and eliminated. The remaining spare parts are analyzed for their appropriate inventory levels, and then why-why analysis is applied to determine cause of inappropriateness. In this thesis, two methods are applied to classify inventory into ABC group. The first method is MCA (Multi Criteria Analysis), based on 4 variants which are 1) Annual expenses, 2) Lead time, 3) the importance of that item and 4) Unit price. Combined with MCA, the inventory is also classified by its usage rate. Not all spare parts are kept in inventory which are determined by two criteria: 1.Substitution of parts, and 2.Cost ratio. For those spare parts kept in inventory, their demand patterns can be described by either intermittent or lumpy demamd pattern. For those spare parts in class A and B with lumpy demand pattern, the Max-Min policy is recommended. For intermittent demand pattern, the (s,S) is recommended for oversea parts, while periodic review with joint ordering policy is recommended for domestic parts. Researcher provided the work instruction to review and estimate quantity before keep them. As a result of using new policies, the average of inventory value reduces from THB 6.9 million bahts per month to THB 6.3 million baht per month, the average spare part shortage reduced from 1.16% to 0.73% and Finally the service level of fill rate remained at 99% .
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42918
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.387
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.387
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470939621.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.