Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43663
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิพัฒน์ เหล่าวัฒนบัณฑิตen_US
dc.contributor.authorธีระนันท์ คงกันen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:43:45Z
dc.date.available2015-06-24T06:43:45Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43663
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาการประเมินผลกระทบของแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดที่มีต่อเสถียรภาพความลาดชันของผนังบ่อเหมือง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมและวิธีการวิเคราะห์เชิงตัวเลข โดยเริ่มจากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล โครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหิน มุมเท แนวการวางตัว รวมทั้งคุณสมบัติทางกลศาสตร์ของหิน และใช้วิธีการวิเคราะห์ทางจลน์ศาสตร์และขีดจำกัดสมดุล ในการประเมินค่าเสถียรภาพของความลาด ผลลัพธ์ที่ได้คือการพังแบบระนาบที่เป็นการพังหลัก ของผนังบ่อเหมืองที่ปรากฏในแต่ละพื้นที่ จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์ขีดจำกัดสมดุลสถิตเพื่อคำนวณหาค่าเสถียรภาพของผนังบ่อเหมืองในรูปแบบสัมประสิทธิ์ความปลอดภัยในกรณีที่ไม่มีผลของแรงสั่นสะเทือนเข้ามาเกี่ยวข้อง และหลังจากมีการระเบิดบริเวณใกล้เคียงเกิดขึ้น พฤติกรรมของแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิด ถูกวิเคราะห์ในรูปแบบความเร็วอนุภาคสูงสุด โดยความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วอนุภาคสูงสุด ปริมาณวัตถุระเบิดที่ใช้และระยะห่างของจุดทำการวัดและจุดที่ทำการระเบิดถูกนำมาวิเคราะห์ และสร้างสมการที่เป็นตัวแทนของพฤติกรรมของแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดในพื้นที่ศึกษาในรูปแบบความเร่ง วิธีการวิเคราะห์ขีดจำกัดสมดุลแบบพลศาสตร์ถูกนำไปใช้ในการศึกษาผลกระทบของแรงสั่นสะเทือนที่มีต่อการวิเคราะห์เสถียรภาพ จากการศึกษาพบว่าในระหว่างที่มีแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดมาเกี่ยวข้อง ค่าสัมประสิทธิ์ความปลอดภัยของผนังบ่อเหมือง มีค่าลดลงอยู่ในช่วง 15 เปอร์เซ็นต์ และ 21 เปอร์เซ็นต์ จากการศึกษาสามารถบอกได้ว่า ระดับความรุนแรงของผลกระทบ ขึ้นกับขนาดความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือนและความชันของผนังบ่อเหมือง นอกจากนี้แล้ว ในการวิเคราะห์เสถียรภาพด้วย วิธีการวิเคราะห์เชิงตัวเลข โดยอาศัยโปรแกรม FLAC2D เป็นเครื่องมือ ในการวิเคราะห์แบบสถิตเพื่อการจำลองและประเมินเถียรภาพนั้น ผลลัพธ์ที่ได้คือค่าสัมประสิทธิ์ความปลอดภัยและพฤติกรรมการพังของผนังบ่อเหมืองที่เกิดขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to investigate the blasting vibration effect on rock slope stability. Both conventional and numerical methods were performed. Geological structure, dip angle, dip direction and rock mechanical properties were collected and used in evaluation of slope stability by kinematic and limit equilibrium analysis. The result demonstrated that plane failure is a major mode of failure in each zone. Static limit equilibrium method was carried out in non-blasting vibration for stability analysis in term of factor of safety. When nearby blasting was applied in this area the characteristics of blasting vibration was evaluated in peak particle velocity (PPV) term. The relationship between PPV, quantity of explosive and distance was evaluated in order to characterize the blasting vibration which leads to the equation of peak acceleration. Pseudo-static limit equilibrium analysis was conducted in the study of blasting vibration effect on the stability analysis. During blasting vibration acted in this area the factor of safety of pit slope was reduced in range of 15% to 21%. From this study, it can conclude that degree of effect depends on magnitude of vibration and slope angle. In addition, numerical analysis was used that FLAC2D will execute in static analysis to simulate and estimate stability of slope. The result is the factor of safety and failure behavior of pit slope.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1108-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการระเบิด (วิศวกรรมศาสตร์)
dc.subjectเหมืองแร่
dc.subjectธรณีวิทยา
dc.subjectBlasting
dc.subjectMines and mineral resources
dc.subjectGeology
dc.titleผลกระทบของแรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดต่อเสถียรภาพของลาดหินในเหมืองหินปูนen_US
dc.title.alternativeBLASTING VIBRATION EFFECT ON ROCK SLOPE STABILITY IN A LIMESTONE QUARRYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมทรัพยากรธรณีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpipat.l@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1108-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5370261621.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.