Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43722
Title: | ผลของโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า |
Other Titles: | THE EFFECT OF THE INTEGRATED PROGRAM EMPHASIZING COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY ON DEPRESSION OF PATIENTS WITH MAJOR DEPRESSIVE DISORDER |
Authors: | วนิดา พันธ์สุรินทร์ |
Advisors: | รังสิมันต์ สุนทรไชยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | rangsiman.s@chula.ac.th |
Subjects: | ความซึมเศร้า ผู้ป่วย -- การดูแล Depression Care of the sick |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อน-หลังแบบมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรม และ 2) เปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้าร่วมโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรมและผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่เข้ารับการรักษาในกลุ่มงานจิตเวช แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 40 คน ได้รับการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนกลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับการทำกลุ่มบำบัดโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรม 2) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติทางลบ 3) แบบประเมินแรงจูงใจในการรักษา 4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ5) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่2, 3 และ 5มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ.93, .89 และ .90 ตามลำดับ มีค่าความเที่ยงอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95, .89 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 11.42). 2. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมแบบบูรณาการที่เน้นแนวคิดการบำบัดทางความคิดพฤติกรรมต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -6.94) |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research using the pretest-posttest control group design were: 1) to compare depression of patients with major depressive disorder before and after receiving the integrated program emphasizing Cognitive Behavioral Therapy, and 2) to compare depression of patients with major depressive disorder who received the integrated program emphasizing Cognitive Behavioral Therapy and those who received regular nursing intervention. Forty samples were patients with major depressive disorder, who sought for services at a psychiatric unit, out-patient department, general hospital. The samples were matched pair and then randomly assigned into experimental group and control group, 20 in each group. The experimental group received The Integrated Program emphasizing Cognitive Behavioral Therapy developed by the researcher .The control group received regular nursing intervention. The research instruments consisted of: 1) the integrated program emphasizing Cognitive Behavioral Therapy, 2) Negative Autonomic Thought Questionnaire, 3) Treatment Motivation Questionnaire, 4) Demographic Questionnaire, and 5) Beck Depressive Inventory Scale. All instruments were validated for content validity by five experts. The content validity index of the 2nd, 3rd and 5th tools were .93, .89 and .90 respectively. The reliability of the 2nd, 3rd and 5th tools were reported by Cronbach’s Alpha as of .95, .89 and .86 respectively. The t-test used in date analysis. Major findings were as follows: 1. The depression of patients with major depressive disorder after received the integrated program emphasizing Cognitive Behavioral Therapy was lower than that before (t = 11.42, p < 0.05). 2. The depression of patients with major depressive disorder after received the integrated program emphasizing Cognitive Behavioral Therapy was lower than those who received the regular caring activities (t = -6.49, p < 0.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43722 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1183 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1183 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5377818536.pdf | 4.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.