Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4430
Title: ผลของการเสนอตัวอย่างในการสอนตามแนวสื่อสารต่อความเข้าใจมโนทัศน์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนแตกต่างกัน
Other Titles: Effects of instances presentation using communication approach on understanding English concept of mathayom suksa one students with different learning achievements
Authors: เปรมจิตต์ ปิตุรักษ์พงษา
Advisors: นิรันดร์ แสงสวัสดิ์
ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัีย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
prasan@kbu.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ความคิดรวบยอด
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเสนอตัวอย่างในการสอนตามแนวสื่อสารต่อความเข้าใจมโนทัศน์ ภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2542 จำนวน 72 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 26 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีผลการเรียนสูง 9 คน ปานกลาง 12 คน และต่ำกว่า 15 คน ทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองได้รับการสอนแบบเสนอตัวอย่าง ส่วนกลุ่มควบคุมจะใช้วิธีการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ทั้งสองกลุ่มสอนโดยครูคนเดียวกัน ใช้เวลาในการสอน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 คาบ เก็บข้อมูลโดยใช้การทดสอบวัดความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษก่อนและหลัง การทดลองแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทอง (two-way analysis of variance) การเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ การหาค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีการเสนอตัวอย่างและนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีปกติ มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการทดลองนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีเสนอตัวอย่างและนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีการปกติในกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนสูง มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการทดลองนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีเสนอตัวอย่างและนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีการปกติในกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนปานกลาง มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการทดลองนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีเสนอตัวอย่างและนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีการปกติในกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนต่ำ มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีการเสนอตัวอย่างในกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนสูง มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ ภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีการเสนอตัวอย่างในกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนปานกลางมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 7. นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษตามแนวสื่อสารด้วยวิธีการเสนอตัวอย่างในกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนต่ำ มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 8. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการสอนและระดับผลการเรียนที่แตกต่างกันที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ที่ระดับ ความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of instances presentation using communication approach on understanding English concept of Mathayom Suksa one students with different learning achievements. The subjects were 72 Mathayom Suksa one students from hadammara-aksornluckwittaya school, academic year 1999. The students were devided into two groups, 36 students in each group, each consisted of 9 high learning achievement, 12 middle learning achievement and 15 low learning achievement. Four weeks (four periods per week) were taken to teach the same content. The experimental group was taught by instances presentation; the control group by conventional English teaching. The two way analysis of variance, scheffe and t-test are used for the data analysis. The results were : 1. There was no significance difference (p<.05) in understanding English concept between the experimental group and the control group. 2. There was no significance difference (p<.05) in understanding English concept between the experimental group and the control group in the high learning achievement group. 3. There was no significance difference (p<.05) in understanding English concept between the experimental group and the control group in the middle learning achievement group. 4. There was no significance difference (p<.05) in understanding English concept between the experimental group and the control group in the low learning achievement group. 5. The high learning achievement group in the experimental group had significantly higher English achievement in posttest than in pretest at the .05 level. 6. The middle learning achievement group in the experimental grop had no significance difference (p<.05) in English achievement between pretest and posttest. 7. The low learning achievement group in the experimental group had no significance difference (p<.05) in English achievement between pretest and in posttest. 8. There was interaction at the 0.05 level of significance between the instances presentation and the conventional Englishteaching and the level of learning achievement upon understanding English concept.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4430
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.465
ISBN: 9743344675
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.465
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
premjit.pdf7.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.