Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46622
Title: | บทบาทเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์แบบโรแมนติก |
Other Titles: | ROLES OF ONLINE SOCIAL NETWORKING ON ROMANTIC RELATIONSHIP DEVELOPMENT |
Authors: | สีตลา ชาญวิเศษ |
Advisors: | ดวงกมล ชาติประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.C@Chula.ac.th,Duangkamol.C@chula.ac.th |
Subjects: | ความสัมพันธ์ระหว่างบุรุษและสตรี เครือข่ายสังคมออนไลน์ สื่อสังคมออนไลน์ Man-woman relationships Online social networks Social media |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สื่อออนไลน์กลายมาเป็นช่องทางสื่อสารหนึ่งที่ผู้คนใช้ในการพัฒนาความสัมพันธ์แบบโรแมนติก หรือการจีบกัน แต่เนื่องจากสื่อออนไลน์แตกต่างจากการสื่อสารแบบในอดีต หรือการสื่อสารแบบตัวต่อตัว ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า บทบาทสื่อออนไลน์ในการพัฒนาความความสัมพันธ์แบบโรแมนติกนั้นเป็นอย่างไร และแตกต่างจากการสื่อสารแบบตัวต่อตัวในอดีตอย่างไร จากการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกคู่รักชายหญิงที่มีประสบการณ์การพัฒนาความสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ อายุ 23-35 ปี จำนวน 15 คู่ พบว่า ประการที่ 1 สื่อออนไลน์มีบทบาทสำคัญใน 3 ขั้นตอนแรกตามทฤษฎีลำดับความสัมพันธ์(Relationship stages) นั่นคือ ขั้นทำความรู้จัก ขั้นศึกษากัน และขั้นกระชับความสัมพันธ์ช่วงต้น ประการที่ 2 คู่รักจะใช้การสื่อสารแบบตัวต่อตัวในขั้นกระชับความสัมพันธ์ช่วงปลายและขั้นหลอมรวมความสัมพันธ์ ประการที่ 3 เมื่อตกลงคบหากันแล้ว คู่รักจะกลับมาใช้สื่อออนไลน์อีกครั้งเพื่อประกาศความสัมพันธ์ของพวกเขาให้คนรอบข้างรับรู้ และประการที่ 4 การพัฒนาความสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์แตกต่างจากการสื่อสารแบบตัวต่ออยู่ 4 ประเด็น คือ 1. ความใกล้ชิด(Proximity) ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์กับคนที่ไม่มีทางจะมารู้จักกันได้ 2. การเปิดเผยตัวตนและลักษณะที่ดึงดูดใจ(Self-disclosure and attraction) กล่าวคือ สื่อออนไลน์ซึ่งเอื้อให้เกิดการเปิดเผยตัวตนได้ง่ายขึ้นทำให้เกิดความประทับใจที่ตัวตนมากกว่ารูปลักษณ์หน้าตา 3. คุณภาพความสัมพันธ์(Quality of relationship) กล่าวคือ สื่อออนไลน์ที่ช่วยให้ปฏิสัมพันธ์กับคนจำนวนมากได้ง่ายและถูกนั้นส่งผลให้ความเชื่อมั่นในความสัมพันธ์นั้นต่ำลง เมื่อเทียบกับการสื่อสารแบบตัวต่อตัว และ 4. การสื่อสารเป็นกันเองแบบเหนือจริง(Hyperpersonal communication) กล่าวคือ คุณลักษณะและลูกเล่นของสื่อออนไลน์ส่งผลให้เกิดการเปิดเผยตัวตนและการรับรู้อีกฝ่ายแบบเหนือจริง |
Other Abstract: | Online Social Networking has become one of the important communication tools used in romantic relationship development. However, this online tool is inherently different from a traditional face-to-face communication. Thus, this research aims to explore Online Social Networking’s impact on romantic relationship development, and to compare Online Social Networking with the face-to-face communication. This has been done by interviewing 15 heterosexual couples, aged 23-35 years old. The results are 1) Online Social Networking has affected the first 3 in Relationship Stages: Initiating, Experimenting and early Intensifying stages, 2) Couples used face-to-face communication in later Intensifying and Integrating stages, 3) After getting together, the couple will use Online Social Networking again in order to let other people know about their relationship, and 4) The factors that make Online Social Networking different from face-to-face communication are 1. Proximity: Online Social Networking brings people who never come to know one another together, and lead them to initiate a romantic relationship; 2. Self-disclosure and attraction: in Online Social Networking, individuals are more relax to disclose themselves and allows them to be interested by their attitudinal attractiveness rather than physical attractiveness; 3. Quality of relationship: Online Social Networking does help individuals in contacting with a large number of other people in a low-cost and easy way, given that fact, it has affected a lower rate of reliability in the relationship when compared to face-to-face communication, and 4. Hyperpersonal communication: the saliences and features of Online Social Networking lead to hyperreal self-disclosure and perception of one another. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46622 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1361 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1361 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684698928.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.