Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46836
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระวัฒน์ ชุติมา-
dc.contributor.advisorสุมน มาลาสิทธิ์-
dc.contributor.authorสมชาย นรามณฑล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2015-10-22T07:17:23Z-
dc.date.available2015-10-22T07:17:23Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745642282-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46836-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractการศึกษาการจัดการของอุตสาหกรรมนมข้นหวานในประเทศไทยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ:- 1. ศึกษาถึงวิธีการและผลกระทบของการจัดการที่มีต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมนมข้นหวานในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา 2. ศึกษาทัศนคติของผู้บริหารก่อการจัดการของอุตสาหกรรมนมข้นหวานในประเทศไทย การศึกษานี้ได้ดังสมมติฐานว่า “กระบวนการจัดการที่ดีจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมนมข้นหวานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลจากการศึกษาทราบว่า 1. บริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานได้ดำเนินการตามกระบวนการจัดการจำแนกตามหน้าที่ดังที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม โดยพิจารณาจากการที่บริษัทสามารถขยายการผลิตสินค้าชนิดใหม่มากขึ้นหลายชนิด จนต้องขยายโรงงานแต่อัตราการใช้กำลังคนกลับเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยคือ อยู่ในช่วง -10.28% ถึง 14.18% เท่านั้น อัตราการเข้าออกของพนักงานอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำและที่สำคัญคือสถาบันการเงินภายในประเทศทุกแห่งยินดีสนับสนุนให้สินเชื่อกับบริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานเหล่านี้ อย่างไรก็ดี การจัดการของบริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานก็ยังคงมีปัญหาบางประการ ดังจะได้พิจารณาในแต่ละด้านดังนี้ ด้านการเงิน โครงสร้างของเงินทุนของบริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานโดยเฉลี่ยแล้วจะประกอบด้วยทุนที่มาจากหนี้สินระยะสั้นประมาณ 65% ทุนเรือนหุ้น 15% และกำไรสะสมอีกร้อยละ 20 ส่วนหนี้สินระยะยาวมีน้อยมาก ฉะนั้นในช่วงที่บริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานเกือบทุกแห่งขยายการผลิตสินค้าชนิดใหม่หลายชนิดนั้น จึงใช้หนี้สินระยะสั้นในการลงทุนทรัพย์สินถาวร ซึ่งนับได้ว่าเป็นการใช้เงินทุนที่ไม่เหมาะสม เพราะควรใช้หนี้สินระยะยาวแทนเพื่อบริษัทจะได้มีระยะเวลานานพอควรในการเตรียมตัวชำระหนี้ นอกจากนี้การที่บริษัทมีจำนวนหนี้สินระยะสั้นมากเกินไป ก็อาจทำให้บริษัทอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงได้ ดังนั้น จึงควรพาทางแก้ไขโดยการเพิ่มเงินทุนส่วนของเจ้าของกิจการหรือกำไรสะสมให้มากขึ้น ด้านการตลาด ส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศเป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานต่างพยายามที่จะยึดครองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังจะเห็นได้ว่าในช่วง พ.ศ.2525-2527 บริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานได้ทำการส่งเสริมการขายทั้งในด้านผู้บริโภคและร้านค้าอย่างมากมาย ส่วนปริมาณการส่งนมข้นหวานออกจำหน่ายต่างประเทศนั้นได้ลดน้อยลงดังใน พ.ศ. 2524 ปริมาณการส่งออกได้ลดลงจาก พ.ศ. 2523 ถึง 33.92% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ บริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานไม่สามารถใช้กลยุทธทางการตลาดในตลาดต่างประเทศได้อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงและผู้สั่งซื้อในตลาดต่างประเทศมักคำนึงถึงราคาที่ถูกกว่าเป็นสำคัญ ด้านการผลิต บริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานประสบปัญหาในด้านปริมาณการผลิตที่ผลิตได้ไม่เต็มกำลังการผลิต เพราะปริมาณการผลิตจะต้องขึ้นอยู่กับยอดขายของบริษัท ต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้บริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานจึงต้องใช้กลยุทธทางการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นและต้องหาทางลดต้นทุนการผลิตให้น้อยลง ด้านบุคลาการ โดยทั่วไปบริษัทผู้ผลิตนมข้นหวานต่างคำนึงถึงความปลอดภัยรายได้และการเจริญก้าวหน้าของพนักงานเป็นสำคัญ ดังนั้นพนักงานส่วนมากจึงเกิดความพอใจ ตั้งใจและเต็มใจทำงานให้กับบริษัทอย่างเต็มความสามารถ แต่ถึงกระนั้นผู้บริหารต่างพยายามที่จะหาวิธีการทำให้พนักงานทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการทำให้พนักงานขาดงานน้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ และมีความคิดว่าบริษัทควรมีหนังสือระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงาน เพื่อเป็นหลักในการปกครองพนักงานทุกคนของบริษัท 2. สำหรับการศึกษาทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อการจัดการนั้น ผู้บริหารทุกท่านมีความคิดเห็นว่า กระบวนการจัดการที่เป็นอยู่โดยดำเนินการตามกระบวนการจัดการจำแนกตามหน้าที่นั้นนับได้ว่าดีอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องดำเนินการให้รัดกุมยิ่งขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นจากผลการศึกษาข้างต้น จึงทำให้ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า “กระบวนการจัดการที่ดีจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมนมข้นหวานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล”en_US
dc.description.abstractalternativeThis is a study on management of the sweetened condensed milk industry in Thailand. This objectives of this study are as follows:- 1. To study the method of management and its impact on the operations of this industry in Thailand as well as the investigation of possible solutions for the problems. 2. To study the executives’ attitudes towards managing this industry in Thailand. The hypothesis being set here for this study is that “ a good management process shall bring about efficiency and effectiveness for the operations of the sweetened condensed milk industry” The results of this study are summarized as follows:- 1. Management process used in the sweetened condensed milk manufacturing companies is based on the well-known Theory of “ management by functions”. Successful operations of the companies could be evidenced by the increasing volume of production in various new product lines and the expansion of production capacity. On the manpower side, however, the utilization of labor force showed a low rate of change ranging from -10.28 percent to 14.18 percent. The inflowing and outflowing rates of manpower were also lower than normal. A prominent aspect of this industry in that every financial institution has been willing to grant credit support towards these companies. However, the executives of sweetened condensed milk manufacturing companies still face certain problems, each of which is considered separatedly as follows:- Financial conditions Sources of operating fund from which the sweetened condensed milk manufacturing companies utilized, in average, comprised of 65 percent short term liabilities, 15 percent paid up share capital, and 20 percent retained earnings, while the long term liabilities accounted for a small proportion. Therefore, during the period which most of the sweetened condensed milk manufacturing companies expanded their new product line, the major part of short term liabilities were converted into fixed assets, and this may be regarded as a misure of fund. In general, it is more appropriate to utilize long term liabilities for this expansion which would provide enough time for repayment of the debts. In addition, the over-utilization of short term liabilities may cause destabilization effect to the operations of these companies. An increase of shareholder’s equity, through either increment in share capital or retained earnings, is therefore recommended. Marketing conditions Most sweetened condensed milk manufacturing companies always tried to dominate domestic market share as much as possible. During 1982-1984, they launched a great deal of sale promotion programs to win more customers as well as to reach more sales on retail stores. On the export side, however, the volume was declining substantially. Quantity of exports in 1981 decreased by 33.92 percent compared with the figure in 1980. This was because the sweetened condensed milk manufacturing companies could not apply local marketing strategy to foreign market due to disadvantageous costs of production and the prospect customers overseas always emphasized on cheaper prices Production conditions Under-utilized capacity of production in another problem faced by the sweetened condensed milk manufacturing companies. Quantity of production depends on sales volume, cost of production, and prices of raw materials. Therefore, executives have to exploit efficient marketing strategy in order to increase sales on the one hand and to reduce total costs of production on the other. Personnel conditions The sweetened condensed milk manufacturing companies always take special interest in safety, income and prospects of advancement of their personnels. Accordingly, most of the staff are willing to work and to sacrifice for the benefits of the companies. Nevertheless, executives still try to improve the efficiency of the staff by reducing the rate of absence. A recommendation is that these companies should prepare formal regulations which provide explicit guide lines for personnel management. 2. Concerning the study on executives’ attitudes towards management system, every executive concluded that the well-known theory of management by functions is a good system. The only additional recommendation is to pay more attention on it. As a result of the above studies, the hypothesis that “a good management process shall bring about efficiency and effectiveness for the operations of the sweetened condensed milk industry” is therefore accepted.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมนมเนย -- การจัดการen_US
dc.subjectการจัดการอุตสาหกรรมen_US
dc.titleการศึกษาการจัดการของอุตสาหกรรมนมข้นหวานในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeA study on management of the sweetened condensed milk industry in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพาณิชยศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorSumon.M@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_na_front.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_na_ch1.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_na_ch2.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_na_ch3.pdf9.19 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_na_ch4.pdf10.79 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_na_ch5.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_na_back.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.