Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49036
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุสรณ์ ลิ่มมณี | - |
dc.contributor.author | สมศักดิ์ เจตสุรกานต์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-12T02:40:43Z | - |
dc.date.available | 2016-06-12T02:40:43Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746363107 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49036 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความขัดแย้งระหว่างข้าราชการเมืองกับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะกรณีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญระดับสูง (ระดับ 9 ขึ้นไป) โดยข้าราชการการเมืองพยายามที่จะแทรกแซงอำนาจการบรรจุแต่งตั้ง ซึ่งเป็นกระบวนการบริหารงานบุคคลในระบบราชการพลเรือน สำหรับวิธีการศึกษา ได้ทำการศึกษาจากเอกสารและวารสารวิชาการ รวมทั้งบทสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ความขัดแย้งระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำเกี่ยวกับอำนาจการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง (ระดับ 9 ขึ้นไป) เกิดขึ้นเมื่อข้าราชการการเมืองพยายามแทรกแซงอำนาจการบริหารงานบุคคล โดยเห็นได้จากความพยายามในการแก้ไขกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจการสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการประจำระดับสูงของข้าราชการการเมืองถึง 4 ครั้ง ในช่วงระยะเวลา 17 ปี ( พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2535) ถึงแม้ว่าจะได้มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบในการจัดโครงสร้างองค์กรและการบริหารราชการแผ่นดิน และกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของข้าราชการแต่ละฝ่ายไว้อย่างชัดเจนแล้วก็ตาม แต่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมิได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดขึ้นเนื่องจาก 3 ปัจจัย คือ ภูมิหลังของข้าราชการทั้งสองประเภทแตกต่างกัน การรับรู้เป้าหมายและวิธีการบริหารราชการแตกต่างกัน และการขาดการยอมรับและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน อันนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและการแทรกแซงระหว่างกัน โดยเฉพาะการแทรกแซงอำนาจการบริหารงานบุคคลในเรื่องอำนาจการสั่งบรรจุและแต่งตั้งดังกล่าว ซึ่งท้ายที่สุดทำให้เกิดผลกระทบต่อราชการ นโยบายการบริหารประเทศ ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลในการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร รวมทั้งความรู้สึกนึกคิด ความเห็นและภาพพจน์ของฝ่ายบริหาร ในสายตาของประชาชน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis is to study the conflict between politicians and civil servants. The scope is focused on the appointment authority of the high ranked civil servants (rank 9 up). The method used in the study is literature review by gathering and analyzing data from various official documents, articles as well as interview documents of the related stakeholders. The findings from the study provide insights into : 1) The power struggle of the politicians regarding the intervention over the non-policy related personnel administration. Albeit a well-designed organizational structure and well-defined scope of authority, accountability and responsibility, evidence has shown that many politicians try consistently to change the regulations particularly ones related to appointment authority of the high ranking civil servants; 2) The factors underlying the conflict between the politicians and civil servants. The finding of this study indicates three major related factors. First is the differences in their social background involved. Second is the difference in realizing the objectives, goals and means of management and administration. And third is the lack of mutual respect and trust. All three factors leads to interpersonal conflict as well as the attempt to intervene with each other which, in turn, adversely affect the entire bureaucratic processes and systems on one hand and the public image on the other. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ข้าราชการการเมือง | en_US |
dc.subject | ข้าราชการพลเรือน -- การบรรจุ | en_US |
dc.title | ความขัดแย้งระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำ เกี่ยวกับอำนาจในการบรรจุแต่งตั้ง | en_US |
dc.title.alternative | Conflict over appointment authority between politician and civil servant | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การปกครอง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Anusorn.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somsak_ch_front.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_ch_ch1.pdf | 8.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_ch_ch2.pdf | 7.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_ch_ch3.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_ch_ch4.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_ch_ch5.pdf | 9.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somsak_ch_back.pdf | 3.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.