Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50803
Title: การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
Other Titles: A COMPARATIVE STUDY OF INQUISITORIAL PROCESS OF PUBLIC SECTOR ANTI-CORRUPTION COMMISSION AND NATIONAL ANTI-CORRUPTION COMMISSION
Authors: ศริยา ห่านศรีสุข
Advisors: คณพล จันทน์หอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kanaphon.C@Chula.ac.th,Kanaphon.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานด้านการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2551 ซึ่งส่งผลให้กระบวนการดังกล่าวยังขาดความรวดเร็ว การตรวจสอบความโปร่งใสที่ชัดเจน จนทำให้ภารกิจด้านการไต่สวนข้อเท็จจริงซึ่งเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ พ.ศ. 2551 ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น อันได้แก่ ปัญหาการใช้ระบบศูนย์รวมอำนาจทั้งหมดอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุด ซึ่งส่งผลทำให้การปฏิบัติภารกิจในการไต่สวนข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความล่าช้าและไม่ทันต่อปริมาณคดีที่เข้ามา รวมไปถึงปัญหาที่เกิดจากกรอบอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ท. ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จึงเสนอให้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจยกเรื่องกล่าวหาขึ้นไต่สวนข้อเท็จจริงได้ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินห้าปี, ให้เลขาธิการดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในเรื่องที่กล่าวหาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพียงพอต่อการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการ ป.ป.ท. ไม่จำเป็นต้องเข้ามาดำเนินการเองทุกเรื่องและควรมีระบบการกลั่นกรองคดีเพื่อให้แต่ละคดีดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โปร่งใสและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยพิจารณาจากระดับความสำคัญของคดี, ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้โดยมิต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ท. หากเป็นคดีที่เกี่ยวกับพนักงานสอบสวนด้วย, คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วต่อไปได้โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จแตกต่างไปจากเรื่องอื่น ๆ และให้มีการตรวจสอบความโปร่งใสในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลว่าเรื่องกล่าวหาไม่มีมูล
Other Abstract: This thesis is basically about the study of the practical obstacles occurred in the inquisitorial process of the Public Sector Anti-Corruption Commission in accordance with the Executive Measures in Anti-Corruption Act B.E. 2551 (2008) which are causing such process to be delayed and non-transparent as it should have been. Moreover, such problems have apparently leaded to the ineffective and inefficient performance of the Public Sector Anti-Corruption Commission. However, the study reveals that the Executive Measures in Anti-Corruption Act B.E. 2551 (2008) is still consisted of flaws for instance; the centralized management of power of the Commission itself which makes the process delayed and causes many of overloaded undue cases and also the limitation of inquisitorial power of the Commission. Therefore, to overcome this situation, this research recommends that the above mentioned Act should be amended to provide more power to the Commission to investigate the accused who are no longer the official more than 5 years, to allow the Secretary to preliminary investigate the accusation relating to corruption without the approval from the Commission for the fast track, to classify the cases before further proceeding, to be able to check the transparency of decision of the Commission.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50803
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586031534.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.