Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51335
Title: การคำนวณปริมาณยาคาร์โบพลาตินโดยใช้สูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทยเปรียบเทียบกับการใช้สูตรของค็อกครอฟท์-กอล์ท
Other Titles: COMPARISON CARBOPLATIN DOSE CALCULATION BY USING THAI EGFR EQUATION AND COCKCROFT-GAULT FORMULA
Authors: ก่อเกียรติ์ กังวาลทัศน์
Advisors: สืบพงศ์ ธนสารวิมล
พิสุทธิ์ กตเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Suebpong.T@chula.ac.th,surbpong@yahoo.com,surbpong@yahoo.com
Pisut.K@chula.ac.th
Subjects: คาร์โบพลาติน
ยา -- ขนาดยา
โกลเมอรุลาฟิลเตรชั่นเรต
Carboplatin
Drugs -- Dosage
Glomerular filtration rate
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ในปัจจุบันการคำนวณขนาดยาคาร์โบพลาตินจะใช้สูตรคำนวณของคาลเวิร์ต และจะใช้ค่าอัตราการกรองของไตมาร่วมคำนวณ โดยจะยอมรับให้ใช้การประมาณค่าการขจัดสารครีเอตินินซึ่งถูกคำนวนมาจากสูตรของค็อกครอฟท์-กอล์ทมาแทนค่าอัตราการกรองของไต แต่ระยะหลังได้มีการแนะนำการประเมินการทำงานของไตโดยใช้สูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทย อย่างไรก็ตามจะพบว่าขนาดยาคาร์โบพลาตินที่ใช้สูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทยจะมีความแตกต่างกับการใช้สูตรของค็อกครอฟท์-กอล์ทที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้ผู้ทำวิจัยต้องการทำการศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบตัดขวางเพื่อเปรียบเทียบขนาดยาคาร์โบพลาตินโดยใช้สูตรของค็อกครอฟท์-กอล์ทกับสูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทยโดยใช้อัตราการขจัดสารครีเอตินินในปัสสาวะเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเป็นค่าอ้างอิง วิธีการศึกษา: อาสาสมัครจะเลือกจากผู้ป่วยโรคมะเร็งเชื้อชาติไทยที่จะได้รับยาคาร์โบพลาตินที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยจะส่งตรวจระดับสารครีเอตินินในเลือดและ เก็บปัสสาวะตรวจสารครีเอตินินเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นเปรียบเทียบขนาดยาคาร์โบพลาตินที่คำนวณจากสูตรของค็อกครอฟท์-กอล์ทและสูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทยกับขนาดยาที่คำนวณจากอัตราการขจัดสารครีเอตินินในปัสสาวะเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ผลการศึกษา: อาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษามีจำนวน 108 ราย โดยมีอายุเฉลี่ย 61.2 ปี เป็นชายร้อยละ 61.1 มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 21.9 (13.4-36) กิโลกรัม/เมตร2 มีค่าเฉลี่ยของสารครีเอตินินในเลือดเท่ากับ 0.80 (0.29-2.56) มิลลิกรัม/เดซิลิตร โรคที่พบมากที่สุดคือมะเร็งปอดโดยพบร้อยละ 42.6 และสูตรยาคาร์โบพลาตินร่วมกับพาซิแทกเซลเป็นสูตรที่ใช้มากที่สุดโดยใช้ร้อยละ 23.1 ค่าเฉลี่ยของขนาดยาคาร์โบพลาตินที่คำนวณจากจากการเก็บปัสสาวะตรวจสารครีเอตินินเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากสูตรของค็อกครอฟท์-กอล์ทและสูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทยเท่ากับ 537.9 (±210.3), 532.3 (±167.4) และ 580.9 (±162.1) มิลลิกรัมตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดของสูตรค็อกครอฟท์-กอล์ทและสูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทยเมื่อเทียบกับการคำนวณจากจากการเก็บปัสสาวะตรวจสารครีเอตินินเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากับร้อยละ 3.7 (±23.3) และ 14.9 (±28.6) ตามลำดับ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สรุปผล: ในผู้ป่วยมะเร็งเชื้อชาติไทยการใช้สูตรค็อกครอฟท์-กอล์ทในสูตรคำนวนของคาลเวิร์ตในการคำนวณขนาดยาคาร์โบพลาตินพบว่ามีความแม่นยำมากกว่าการใช้สูตรการประมาณค่าอัตราการกรองของไตของประชากรไทย
Other Abstract: Background: In current practice, carboplatin dose is calculated by Calvert formula. Although, originally measured glomerular filtration rate (GFR) was used in the formula, creatinine clearance (CrCl) estimation by Cockcroft-Gault (CG) formula is widely accepted. The estimated GFR (eGFR) by Thai eGFR equation based on serum creatinine level has been established and endorsed to apply in clinical practice. However, there was a discrepancy between CG formula and Thai eGFR reported in the practice. Thus, we conducted a cross sectional study to compare accuracy of calculation carboplatin dosage between CG formula and Thai eGFR by used 24 hours urine CrCl to be a reference value. Patients and methods: Patients receiving carboplatin based regimens at King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled. Before the chemotherapy session, patients were collected blood and urine 24 hours for measure plasma creatinine level and 24 hours urine CrCl, respectively. Based on the carboplatin dosage which calculated from 24 hours urine CrCl, we compared the accuracy of carboplatin dose calculation by CG formula and Thai eGFR equation. Results: Of total 108 enrolled patients, 61.1% were male and the mean age was 61.2 years. The mean BMI was 21.9 (13.4-36) kg/m2 and mean plasma creatinine levels was 0.80 (0.29-2.56) mg/dl. Lung cancer was the most common diagnosis (42.6%) and majority was received carboplatin with paclitaxel regimen (23.1%). The mean carboplatin dosage which calculated by urine CrCl, CG formula and Thai eGFR were 537.9 (±210.3), 532.3 (±167.4) and 580.9 (±162.1) mg, respectively. The mean percentage error (MPE) of carboplatin dosage which calculated by CG and Thai eGFR were 3.7 (±23.3) and 14.9 (±28.6) %, respectively, p<0.001. Conclusions: The Calvert formula using CG formula is more accurate than using Thai eGFR in Thai cancer patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51335
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.707
DOI: 10.14457/CU.the.2015.707
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774002530.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.