Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51350
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขจร ตีรณธนากุล | en_US |
dc.contributor.author | วันจักร พงษ์สิทธิศักดิ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T06:05:12Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T06:05:12Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51350 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มตัวอย่างที่มีการควบคุมตัวแปรและมีตัวเปรียบเทียบของ การขจัดสาร พี-ครีซอล ด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิ ลเตชั่นประสิทธิภาพ มาตรฐานที่ใช้ตัวกรองชนิดที่มีรูกรองใหญ่พิเศษ วันจักร พงษ์สิทธิศักดิ์1, ขจร ตีรณธนากุล1, สุพีชา วิทยเลิศปัญญา2, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ 1 1หน่วยโรคไต, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2ภาควิชาเภสัชวิทยา, สภากาชาดไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความสำคัญและเหตุผล: สารพิษยูรีเมียที่ได้รับความสนใจในขณะนี้ คือ พี-ครีซอล เป็นสารพิษที่จับกับ โปรตีนขนาดใหญ่มีซึ่งการศึกษาพบว่ามีความสำพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด และ สารนีไม่สามารถนำออกจากร่างกายได้ด้วยวิธีฟอกเลือดแบบมาตรฐาน มีการศึกษาพบว่าการทำฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูงช่วยขจัดพี-ครีซอลได้เพิ่มขึ้น และ ช่วยลดอัตรา การเสียชีวิตได้ร้อยละ 30 เป็นที่น่าเสียดายผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดพบว่ามี ปัญหาเรื่องเส้นที่ใช้ฟอกเลือดได้บ่อยไม่สามารถส่งจ่ายเลือดด้วยความเร็วสูงได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงไม่ได้รับ การฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูง วิธีการฟอกเลือดด้วยวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่น ประสิทธิภาพมาตรฐานที่ใช้ตัวกรองชนิดที่มีรูกรองใหญ่พิเศษจึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อเพิ่มการขจัด-พีครีซอล และ สารพิษยูรีเมียอื่น ๆ ระเบียบวิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาท่งคลินิกแบบสุ่มที่มีการควบคุมตัวแปรในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือด 9 คน โดยเปรียบเทียบระหว่าง 2 วิธีคือ ฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพ มาตรฐานที่ใช้ตัวกรองชนิดที่มีรูกรองใหญ่พิเศษ และ ฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูง วิธีละ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยเปรียบเทียบการขจัดสารพิษยูรีเมียทั้ง 3 ชนิด คือ พี-ครีซอล, เบต้าทู-ไมโครกลอบบูลิน และ ยูเรีย รวมถึงติดตามปริมาณอัลบูมินที่เสียมาในน้ำยาฟอกเลือด และ ภาวะแทรกซ้อนจากการฟอกเลือด ผลลัพธ์: วิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพมาตรฐานที่ใช้ตัวกรองชนิดที่มีรูกรองใหญ่พิเศษมีอัตราการลด พี-ครีซอล ร้อยละ 59.5 (IQR; 49.1,62.6) เทียบเท่ากับวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูงมีอัตราการลด พี-ครีซอล ร้อยละ 54.7 (IQR; 48.6,58.2) (p-value = 0.441) เบต้าทู-ไมโครกลอบบูลินยังถูกขจัดออกด้วย วิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพมาตรฐานที่ใช้ตัวกรองชนิดที่มีรูกรองใหญ่พิเศษได้ดีกว่า และ ทั้งสองวิธี มีการขจัดยูเรียที่ดี การใช้ตัวกรองที่มีรูใหญ่พิเศษนั้นส่งผลให้มีอัลบูมินออกมากับน้ำยาฟอกไต 5.51 ±0.72 กรัม เทียบกับ 0.51 ± 0.31 กรัม จากวิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.008) แต่อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ป่วยที่เกิดระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ และ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ เกิดจากการฟอกเลือด บทสรุป: วิธีฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพมาตรฐานที่ใช้ตัวกรองชนิดที่มีรูกรองใหญ่พิเศษ มี ประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษยูรีเมียได้ดีรวมถึงสารพิษชนิดที่จับกับโปรตีนขนาดใหญ่ จึงเป็นวิธีการฟอก เลือดวิธีใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดที่มีปัญหา ของเส้นฟอกเลือดที่อยู่ระหว่างรอการแก้ไข หรือ ไม่สามารถแก้ไขได้ และ อาจมีผลต่ออัตราการรอดชีวิตที่ เพิ่มขึ้นในระยะยาว | en_US |
dc.description.abstractalternative | Efficacy of Newly Innovated Standard Efficiency Online Hemodiafiltration with High Cut off Dialyzer on P-cresol Removal: The Randomized Crossover Controlled Study. Wanjak Pongsittisak1 , Supeecha Wittayalertpanya2 , Khajohn Tiranathanagul1 , Kearkiat Praditpornsilpa1 1 Division of Nephrology, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand. 2 Division of Pharmacology, Thai Red Cross Society and Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand Background: The P-cresol (pCS) which is a protein-bound toxin were recently spotlight because it could not be removed by hemodialysis (HD) and obviously correlated with persisting high mortality of HD patients. High-efficiency post-dilution online hemodiafiltration (OL-HDF) using high-flux dialyzer and required high blood flow rate was a novel modality that added the convective to ordinary diffusive clearance. This modality could enhance pCS removal and reduce mortality rate by 30% in recent clinical trials. Unfortunately, the majority of the HD patients could not reach that high efficiency because of the limitation of their arteriovenous (A-V) access blood flow. We innovated the new online HDF modality for these patients by combination of standard efficiency pre-dilution OL-HDF withnew high cut-off membrane dialyzer (HCM). Methods: This randomized crossover control study was conducted in 9 online HDF patients to determine the efficacy especially pCS removal between the two week periods of new modality of standard efficiency OL-HDF with HCM and the high-efficiency OL-HDF. The removal of small and middle molecular weight uremic toxins as well as protein-bound uremic toxin removal were determined and compared. The pCS was measured by high-performanceliquid chromatography. The dialysate albumin loss and patient safety were also monitored. Results:This new standard efficiency OL-HDF with HCM was safe and no any adverse event was recorded. Its pCS removal efficacy in term of pCSreduction ratio (RR) was comparable withhigh efficiency OL-HDF median 59.5 (IQR; 49.1, 62.6) % and 54.7 (IQR; 48.6, 58.2) % (p-value = 0.441), respectively. β2-microglobulin was significantly removed by new modality more than high-efficiency OL-HDF. Two techniques provided adequate and small molecule removal demonstrated by urea clearance and KtVurea. No patients developed hypoalbuminemia even the higherdialysate albumin loss in HCM used(dialysate albumin loss per session; 5.51 ± 0.72g vs. 0.51 ± 0.31g, p=0.008). Serious adverse events were not observed. Conclusions: This new standard efficiency OL-HDF with HCM which was innovated for themajority of dialysis patients that had limited blood flow rate could provide effectively protein-bound uremic toxin removal comparable with high-efficiency OL-HDF and could potentially provide the comparable good long-term survival as well. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.708 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ครีซอล | - |
dc.subject | การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม | - |
dc.subject | เลือด -- การกรอง | - |
dc.subject | Cresol | - |
dc.subject | Hemodialysis | - |
dc.subject | Blood -- Filtration | - |
dc.title | การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มตัวอย่างที่มีการควบคุมตัวแปรของการขจัด พี-ครีซอล ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพสูงเทียบกับฮีโมไดอะฟิลเตชั่นประสิทธิภาพมาตรฐานที่ใช้ตัวกรองชนิดที่มีรูกรองใหญ่พิเศษ | en_US |
dc.title.alternative | P-cresol clearance of high efficiency online-hemodiafiltration versus standard efficiency online-hemodiafiltration with high cut-off membrane; an open-labelled randomized crossover control trial | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Khajohn.T@chula.ac.th,khajohn_t@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.708 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5774085630.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.