Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52125
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุพจน์ ศรีมหาโชตะ | en_US |
dc.contributor.advisor | สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง | en_US |
dc.contributor.advisor | ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | สุดารัตน์ สถิตธรรมนิตย์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T03:00:28Z | - |
dc.date.available | 2017-03-03T03:00:28Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52125 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา: ผู้ป่วยบีตาธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี มีระดับความรุนแรงของโรคปานกลาง เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดได้หลายอย่าง โดยเกิดจากกลไกตั้งแต่การสร้างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง และภาวะเหล็กเกินในร่างกาย โดยระยะแรกอาจเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ปัญหาความผิดปกติของหลอดเลือดเป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยมีการศึกษาพบว่าเกี่ยวข้องกับไนตริกอ๊อกไซด์ที่ลดลง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริง วิธีการศึกษา: กลุ่มผู้ป่วยบีตาธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี จำนวน 43 ราย และกลุ่มควบคุมที่เป็นอาสาสมัครปกติ 43 ราย ที่อายุและเพศตรงกัน ส่งตรวจเลือดหาระดับไนตริกอ๊อกไซด์ prostaglandin E2 และ soluble thrombomodulin ในพลาสมา และในวันเดียวกันผู้ป่วยได้รับการตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงผิดปกติด้วยวิธี flow-mediated dilatation (FMD) ที่ตำแหน่ง brachial artery และตรวจการทำงานของหัวใจด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ผลการศึกษา: กลุ่มผู้ป่วยบีตาธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี มีอายุเฉลี่ย 34.6+/-9.7 ปี และกลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 36.7+/-8.6 ปี เพศชาย 22 คน เพศหญิง 21 คน ค่าเฉลี่ยของขนาดหลอดเลือดของกลุ่มผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีขนาดเล็กกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (32.3+/-5.1 มม. กับ 37.1+/-5.8 มม. p<0.01) และมีความผิดปกติของหลอดเลือดจริง ที่ค่า FMD เทียบกับกลุ่มควบคุมเป็น ร้อยละ 5.0+/-5.9 กับ 9.0+/-4.0, p <0.01 แต่ไม่แตกต่างกันเมื่อมีการให้ยา nitroglycerine ที่ร้อยละ18.4+/-8.3 กับ 17.8+/-6.3, p=0.71 ระดับไนตริกอ๊อกไซด์ และระดับ prostaglandin E2 ในพลาสมาของผู้ป่วยบีตาธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอีน้อยกว่า แต่ระดับ soluble thrombomodulin มากกว่าคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า 117.2+/-27.3 กับ 135.8+/-11.3 µmol/L, p<0.001 และ 701.9+/-676.0 กับ 1374.7+/-716.5 pg/ml, p<0.001 และ 3587.7+/-1310.9 กับ 3093.9+/-583.8 pg/ml, p=0.028 ตามลำดับ พบความสัมพันธ์กันระหว่างภาวะผนังหลอดเลือดแดงผิดปกติกับภาวะพร่องไนตริกอ๊อกไซด์และ prostaglandin E2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า r = 0.28, p=0.017 และ r=0.38, p=0.001 ตามลำดับ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหลอดเลือดแดงผิดปกติกับระดับ soluble thrombomodulin สรุปผลการศึกษา: ในผู้ป่วยบีตาธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี พบว่ามีความสัมพันธ์ของภาวะผนังหลอดเลือดผิดปกติกับการพร่องไนตริกอ๊อกไซด์ และ prostaglandin E2 จริง โดยเป็นการศึกษาแรกที่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยตรง ซึ่งต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาว่าการพร่องไนตริกอ๊อกไซด์ และ prostaglandin E2 เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background: β-thalassemia/Hb E patients suffer from many systemic complications due to ineffective erythrocytosis, chronic hemolysis and iron overload. Vascular complications are essential, and previous studies proposed that impaired nitric oxide bioavailability is one of mechanisms. The alteration of nitric oxide may contribute to endothelial dysfunction. There are limited studies to determine an association between nitric oxide depletion and endothelial dysfunction in this particular population. Methods: Forty three β-thalassemia/HbE patients without clinically documented vascular symptoms from hematology clinic and 43 age-sex matched healthy controls were enrolled. The endothelial function was measured using the flow-mediated dilatation (FMD) test of the brachial artery before and after nitroglycerine (NTG) administration which were defined as endothelium-dependent and –independent, respectively. Plasma nitric oxide metabolites (nitrite/nitrate; NOx), prostaglandin E2 (PGE2) and soluble thrombomodulin (sTM) levels were measured. Results: The mean age of thalassemia and control group were 34.6+/-9.7 and 36.7+/-8.6 years old, respectively. Males and females were equal. The mean of baseline diameters of brachial artery in thalassemia was smaller than the control group (32.3+/-5.1 mm. vs. 37.1+/-5.8 mm, p<0.01). The mean of percent changes in diameter of FMD test before NTG administration in thalassemia group was significantly less than control subjects (5.0+/-5.9% vs. 9.0+/-4.0%, p <0.01) but no significant changes between both groups after NTG administration (18.4+/-8.3% vs. 17.8+/-6.3%, p=0.71). NOx and PGE2 levels were significantly decreased in thalassemia patients compared to healthy controls (117.2+/-27.3 vs. 135.8+/-11.3 µmol/L, p<0.01) and (701.9+/-676.0 vs. 1,374.7+/-716.5 pg/ml, p<0.01), respectively, while a significant elevation in sTM levels (3,587.7+/-1,310.0 vs. 3,093.9 +/-583.8 pg/ml, p =0.028) in thalassemia group. NOx and PGE2 levels were significantly correlated with endothelial dysfunction (r =0.28, p=0.038) and (r=0.38, p=0.001), respectively, whereas no significant correlation between sTM and endothelial dysfunction was observed. Conclusion: This is the first study that has demonstrated the association of endothelial dysfunction and nitric oxide as well as PGE2 depletion in patients with β-thalassemia/HbE without vascular symptoms. Further studies to define the mechanisms of nitric oxide and PGE2 depletion-related endothelial dysfunction are warranted. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1269 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เลือดจาง | - |
dc.subject | ไนตริกออกไซด์ | - |
dc.subject | Anemia | - |
dc.subject | Nitric oxide | - |
dc.title | ภาวะพร่องไนตริกอ๊อกไซด์สัมพันธ์กับความผิดปกติของผนังหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคโลหิตจางบีตาธาลัสซีเมียฮีโมโกลบินอี | en_US |
dc.title.alternative | Depleted nitric oxide levels are correlated with endothelial dysfunction in β-thalassemia/Hb E patients | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | s_srimahachota@yahoo.co.th,s_srimahachota@yahoo.co.th | en_US |
dc.email.advisor | Smonporn.B@Chula.ac.th,bsmonporn@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Piyaratana.T@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1269 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5375365130.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.