Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52408
Title: แนวทางการจัดการน้ำผิวดินโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดโครงสร้างพื้นฐานเขียวกรณีศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: An Application of Green Infrastructure on Urban Surface Water Management: A Case Study of the City of Udonthani
Authors: ศิริพร หมอกใส
Advisors: สุธี อนันต์สุขสมศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sutee.A@chula.ac.th,sutee.a@chula.ac.th
Subjects: การจัดการน้ำ -- ไทย -- อุดรธานี
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทศบาลนครอุดรธานีเป็นพื้นที่เมืองที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างสูง เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของจังหวัดอุดรธานีซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และในอนาคตจังหวัดอุดรธานีมุ่งที่จะเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของภูมิภาคอินโดจีน แต่ทว่าเทศบาลนครอุดรธานียังคงมีอุปสรรคที่สำคัญในการพัฒนาเมือง คือ ปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากร นอกจากนั้นการขาดแคลนพื้นที่สีเขียวในเมืองก็เป็นปัญหาหนึ่งในการพัฒนาเทศบาลให้เป็นเมืองน่าอยู่ จุดประสงค์หลักของงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการประยุกต์ใช้แนวความคิดโครงสร้างพื้นฐานเขียว (Green Infrastructure) ในพัฒนาพื้นที่ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและพัฒนาพื้นที่กักเก็บน้ำสำหรับเป็นแหล่งน้ำสำรองหลักสำหรับการจัดการพื้นที่สีเขียวเดิมและพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้น โดยการหาพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นใช้การวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสม (Suitability Analysis) จากการใช้เครื่องมือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ด้วย ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สีเขียวเดิมในเขตเทศบาลนครอุดรธานีมีพื้นที่รวมเป็น 793,000 ตร.ม. ทำให้เมืองพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นตามค่ามาตรฐานพื้นที่สีเขียวในเมือง อีกทั้งเมื่อพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ตามแนวความคิดโครงสร้างพื้นฐานเขียวจะสามารถพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งน้ำสำรองที่มีปริมาตรเพิ่มขึ้นประมาณ 2,220,000 ลบ.ม. ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับการจัดการดูแลพื้นที่สีเขียวทั้งหมด การพัฒนานี้สามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำไม่เพียงพอและพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาของเทศบาลนครอุดรธานี จากการศึกษา พื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาตามแนวความคิดโครงสร้างพื้นฐานเขียว คือ (1) พื้นที่ที่เหมาะสมของพื้นที่หลัก (Hub) ที่ควรส่งเสริมให้พัฒนาเป็นพื้นที่เพื่อการรักษาสภาพแวดล้อมและคุณภาพน้ำด้วยวิธีการพัฒนาแบบพื้นที่ชุ่มน้ำ (Stormwater Wetland) ได้แก่ พื้นที่หนองประจักษ์ หนองสิมและหนองบัว พื้นที่ที่ส่งเสริมให้เป็นพื้นที่การกักเก็บน้ำแบบใช้พืชพรรณ (Bioretention) และวิธีหลังคาเขียว (Green roofs) ได้แก่ พื้นที่หนองเหล็ก พื้นที่หนองใหญ่ พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ราชการ และ พื้นที่อาคารสำนักงาน (2) พื้นที่ที่เหมาะสมของพื้นที่ตั้ง (Site) ที่เสนอแนะเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการใช้วิธีแบบหลุมต้นไม้ (Bioswales) และพื้นผิวแบบรูพรุน (Permeable Pavers) ได้แก่ พื้นที่ทุ่งศรีเมือง พื้นที่สถาบันราชการ พื้นที่สีเขียวรอบหนองเหล็กและหนองใหญ่ (3) พื้นที่ที่เหมาะสมของพื้นที่เชื่อมต่อ (Link) ที่เสนอแนะให้เป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมการกักเก็บน้ำสำรองและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยการใช้ต้นไม้เป็นตัวกรอง (Tree Filters) และใช้กระถางจัดการน้ำฝน (Stormwater Planters) ได้แก่ พื้นที่เส้นทางคลองระบายน้ำบริเวณศูนย์กลางเทศบาลนครอุดรธานี
Other Abstract: Udonthani Municipality has very high socioeconomic growth due to its position as an economic and transportation center of the Northeastern Region of Thailand and, in the future, Indochina Region. However, water shortage is one of the major problems hinder the urban development of the city. In addition, lacking of urban green space is another challenge of Udonthani to become a livable city. The objective of this research is to apply the idea of “Green Infrastructure” in the development of urban green spaces and water detention areas in the city. The water in the detention area will be used to maintain all existing and prospective urban green spaces. The method used to analyze the areas with potential for green infrastructure development is Suitability Analysis using Geographic Information Systems. The study shows that there are 793,000 square meters of existing and prospective urban green spaces in the city, which is higher than a standard of urban green spaces. The green infrastructure development on these urban green spaces can store 2,220,000 cubic meters, which is sufficient for maintaining all existing and prospective urban green spaces in the city. The development of green infrastructure in the city will not only alleviate a water shortage problem but also improve the quality of the environment in the city. The suitable areas for green infrastructure development in Udonthani Municipality include: (1) “Hub” areas for preserving enivironment and quality of water by using a concept of Stormwater Wetland are Nong Prajak, Nong Sim, and Nong Bua and by using concepts of Bioretention and Green Roofs are Ning Lek, Nong Yai, government center, and rural/agricultural area; (2) “Site” areas using concepts of Bioswales and Permeable Pavers are Tong Sri Muang, government center, and the areas around Nong Lek and Nong Yai; and (3) “Link” areas for improving water detention and urban green spaces using concepts of Tree Filters and Stormwater Planters are the areas around canals in the city center of Udonthani.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52408
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.216
DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.216
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873328025.pdf7.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.