Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53075
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorปรางทิพย์ โพธิ์แก้ววรางกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-06-22T09:17:51Z-
dc.date.available2017-06-22T09:17:51Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53075-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractเนื่องจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมหลายๆ อย่างอันได้แก่มาตรการทางกฎหมายที่หละหลวม ความล้าหลังไม่ทันสมัย ผู้กระทำความผิดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจนมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม อีกทั้งวิธีดำเนินงานเป็นไปอย่างแยบยลปกปิดวิธีดำเนินการ เช่นนี้ทำให้มาตรการทางกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ขาดประสิทธิภาพ จึงมีความเหมาะสมที่จะนำเอามาตรการทางกฎหมายที่ถือเป็นความผิดตั้งแต่ขั้นสมคบ นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มาตรการสมคบกันกระทำความผิด จัดเป็นอีกมาตรการหนึ่งในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ที่มุ่งเอาผิดหรือลงโทษต่อเมื่อมี "การตกลงกัน" (Agreement) อันเป็นความประสงค์ที่จะร่วมกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยรู้ตัว (A conscious union of wills for a common undertaking) โดยที่ไม่จำต้องให้เกิดการกระทำความผิดตามที่ตกลงกันก่อนแต่อย่างใด ซึ่งวัตถุประสงค์ของการห้ามมิให้มีการตกลงเนื่องมาจากความต้องการที่จะเข้าไปแทรกแซงขั้นตอนเริ่มแรก (Early Stage) ของการกระทำความผิดขั้นต่อไป และป้องกันมิให้บุคคลกระทำหรือร่วมกระทำความผิดตามที่ได้ตกลงกันอันเป็นการกระทำความผิดหลักเกิดขึ้น ซึ่งมาตรการนี้ช่วยให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิการสาวไปไม่ถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังของการกระทำความผิด หรือการยากต่อการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อเอาผิดแก่ผู้ที่กระทำความผิด เป็นต้น ประเทศไทยมีการนำเอามาตรการสมคบกันกระทำความผิด มาใช้บังคับกับความผิดเฉพาะฐานความผิดเท่านั้น อาทิความผิดที่เกี่ยวกับมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ เห็นได้ว่าความรับผิดฐานสมคบมีประโยชน์มากต่อการนำผู้กระทำผิด ซึ่งโดยปกติเป็นการยากที่จะได้ตัวมาลงโทษ และถือเป็นความผิดสำเร็จทันทีที่มีการตกลงกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำการอันเป็นความผิดโดยที่ไม่จำต้องเกิดการกระทำความผิดตามที่ตกลงกันก่อนแต่อย่างใด ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาถึงมาตรการสมคบกันกระทำความผิด และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยให้นำมาตรการสมคบกันกระทำความผิดมาใช้บังคับกับการทุจริตคอร์รัปชัน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหากระทำได้อย่างลุล่วงและทรงประสิทธิภาพมากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeSince the problem of official corruption is becoming more severe of so many stimulating factors such as lenient law enforcement, out-of-date legal measure and an increasing number of the offenders who are establishing organized crimes. Moreover, the criminals' activities are covert and concealed from the law enforcement perception. These factors render the governing legal measure to be inefficient therefore it is necessary to introduce a new legal measure that enables incrimination the offense at the conspiracy stage to prevent the problem. Criterion against conspiracy of the offense is one of common law criteria which aim to incriminate the activities when there is an "Agreement" intending to commit the offense with "a conscious union of wills for a common undertaking" regardless of whether the agreed offense is actually committed or not because of the need to interrupt the activities at the "early stage" of he whole offense and discourage a person from committing or participating the commission of the agreed offense, hence this criterion induces prevention and suppression official corruption to be more efficiently implemented such as to overcome the impotence of prosecution the master mind or difficulty of evidence collection to prosecute the offenders etc. Thailand has been introducing the criterion against conspiracy of the offense only for prevention and suppression of some particular offenses such as for prevention and suppression of narcotic offense, trafficking of children and women, money laundering and abuse of governmental procurement. Seemingly, the liability for conspiracy facilitates the incrimination of criminals whom is normally hard to prosecute and provides that the act of agreeing between two or more persons for commission of the offenses is a punishable crime without element of actual commission of the offense. This thesis is a study of the criterion against conspiracy of the offense and suggests some models to solve the problem by introducing the criterion against conspiracy of the offense to prevent and suppress the crime of official corruption under the organic law of counter corruption B.E. 2542 for precaution against and solution to the problem are implemented totally and efficiently as much as possible.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1266-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการทุจริตและประพฤติมิชอบen_US
dc.subjectความผิด (กฎหมาย)en_US
dc.subjectพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542en_US
dc.subjectGuilt (Law)en_US
dc.subjectCorruptionen_US
dc.subjectOrganic Act on Counter Corruption, B.E.2542 (1999)en_US
dc.titleการนำเอามาตรการสมคบกันกระทำความผิดมาบังคับใช้กับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542en_US
dc.title.alternativeEnforcement of conspiracy theory against Organic Act on Counter Corruption, B.E.2542 (1999)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorViraphong.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1266-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prangtip_ph_front.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
prangtip_ph_ch1.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
prangtip_ph_ch2.pdf12.69 MBAdobe PDFView/Open
prangtip_ph_ch3.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
prangtip_ph_ch4.pdf8.33 MBAdobe PDFView/Open
prangtip_ph_ch5.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
prangtip_ph_ch6.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
prangtip_ph_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.