Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55254
Title: Size-Specific Dose Estimates for Thoracic Imaging in 320 Row Detector Computed Tomography
Other Titles: การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยขนาดต่างๆได้รับจากการตรวจทรวงอกด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 320 สไลซ์
Authors: Saowapark Yoykaew
Advisors: Anchali Krisanachinda
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Advisor's Email: Anchali.K@Chula.ac.th,anchali.kris@gmail.com
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The patient dose from CT scan is normally displayed in Dose Length Product (DLP) and volume CT dose index (CTDIvol). Actually, CTDIvol represents the scanner output, does not address patient size, can be used to estimate patient radiation dose but the dose value is inaccurate as it is estimated from the cylindrical phantom of particular size. AAPM Report no.204 [1] introduced in 2011 and AAPM Report no.220 [2] introduced in 2014 on the size-specific dose estimates (SSDEs) for CT examination in order to provide high accuracy on radiation dose to the patient. The purpose of this study was to determine the patient radiation dose using SSDEs for thoracic imaging in 320 MDCT and the parameters influenced SSDEs. This study is retrospective analysis with 230 patients, 115 male and 115 female of the age range from 18 to 93 years old, the selected weight range from 40 to 70 kg. All of the patients underwent the thoracic contrast enhancement with venous phase protocol scanned by 320 MDCT. The patient radiation dose in terms of SSDE was calculated based on AP+LAT dimension, effective diameter, and water equivalent diameter. The conversion factors following the body size and composition according to the AAPM no.204 and 220 recommendations were applied. SSDE was measured from middle slice of chest and middle slice of scan range. The results showed that the SSDE calculated from the middle of scan range was a little higher than SSDE calculated from middle of organ. At the middle slice of organ, the range of SSDEAP+LAT SSDEEFF and SSDEDw were 10.50-24.45, 10.43-24.25 and 11.66-26.83 mGy respectively. At the middle slice of scan range, the range of SSDEAP+LAT, SSDEEFF and SSDEDw were 10.83-24.85, 10.70-24.70 and 11.33-27.13 mGy respectively. The correlation of CTDIvol, body weight, BMI, AP+LAT dimension, effective diameter and water equivalent diameter with SSDE were moderately linear relationship. In conclusions, SSDE had been estimated using 3 methods (SSDEAP+LAT, SSDEEFF and SSDEDw) of body configurations in CT dosimetry. SSDEDw is most appropriate for determination as the CT patient dose indicator further from CTDIvol especially in various body sizes and body composition in thorax region.
Other Abstract: ในปัจจุบันนี้ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แสดงในรูปของค่าปริมาณรังสีตลอดช่วงความยาวของการสแกนหรือ ค่า DLP (dose length product) และ ค่า CT dose index volume (CTDIVol) ซึ่งค่า CTDIVol เป็นค่าที่ใช้ประเมินปริมาณรังสีโดยเฉลี่ยสำหรับตัวกลางที่มีค่าการดูดกลืนคล้ายมนุษย์ ซึ่งอ้างอิงจากหุ่นจำลองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 และ 32 ซม. โดยไม่มีการคำนึงถึงขนาดของผู้ป่วย ในขณะที่ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับขึ้นอยู่กับการตั้งค่าพารามิเตอร์ เช่น ค่าความต่างศักย์หลอด (kVp), ค่ากระแสไฟฟ้าหลอด (mA) เป็นต้น และขนาดของผู้ป่วย ดังนั้นการแสดงค่าปริมาณรังสีโดยประเมินจากหุ่นจำลองจึงไม่ถูกต้องและไม่ตรงกับความเป็นจริง AAPM no.204 และ 220 ได้รายงาน การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยขนาดต่างๆได้รับ โดยแนะนำเทอม SSDEและคำนึงถึงขนาดของผู้ป่วยและการลดทอนปริมาณรังสีสำหรับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยขนาดต่างๆได้รับจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนทรวงอก (CT Chest) และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบการเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 230 ราย (ผู้ชาย 115 ราย และ ผู้หญิง 115 ราย) ซึ่งมีอายุ ในช่วง 18 ถึง 93 ปี และ มีน้ำหนักในช่วง 40 ถึง70 กิโลกรัม ได้รับการตรวจ จากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนช่องอกด้วยการฉีดสารทึบรังสี (Venous phase protocol) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 320 แถวของหัววัด ผลิตภัณฑ์ของบริษัทโตชิบา รุ่น Aquilion One และ การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยขนาดต่างๆได้รับ (SSDE) คำนวณโดย พิจารณาขนาดตัวของผู้ป่วยและขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูลน้ำจากภาพตัดขวางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ได้นำค่าแก้ของขนาดตัวของผู้ป่วยมาจากการรายงานของ AAPM no.204 และ 220 มาคำนวณ การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยขนาดต่างๆได้รับ (SSDE) ได้คำนวณจากภาพตัดขวางของผู้ป่วยในตำแหน่งตรงกลางทรวงอกและตรงกลางของระยะสแกน โดยจากการทดลองพบว่า ค่า SSDE ที่ได้จากการคำนวณจากภาพตัดขวางของตำแหน่งตรงกลางของระยะสแกนสูงกว่าตำแหน่งตรงกลางทรวงอกเล็กน้อย ค่าSSDE จากภาพตัดขวางของตำแหน่งตรงกลางของทรวงอก มีค่า SSDEAP+LAT SSDEEFF และSSDEDw คือ 10.50-24.45, 10.43-24.25 และ 11.66-26.83 มิลลิเกรย์ ตามลำดับ และ SSDE จากภาพตัดขวางของตำแหน่งตรงกลางของระยะสแกน มีค่า SSDEAP+LAT SSDEEFF และ SSDEDw คือ 10.83-24.85, 10.70-24.70 และ 11.33-27.13 มิลลิเกรย์ ตามลำดับ การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ เช่น ค่า CTDIvol, น้ำหนัก, ดัชนีมวลกาย, ความกว้างและระยะจากซ้ายไปขวา, เส้นผ่านศูนย์กลาง และ ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูลน้ำ ต่อปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ(SSDE) อยู่ในระดับปานกลาง สรุป การประเมินปริมาณรังสีบริเวณช่องอกที่ผู้ป่วยขนาดต่างๆได้รับ (SSDE) โดยคำนึงถึงขนาดตัวของผู้ป่วย จาก 3 วิธี ( SSDEAP+LAT, SSDEEFF and SSDEDw) พบว่า SSDEDw เหมาะสมที่สุดในการแสดงค่าการประเมินปริมาณรังสีของผู้ป่วยขนาดต่างๆ มากกว่า ค่า CTDIvol ซึ่งสามารถให้ผลที่ถูกต้องเพราะจากการพิจารณาร่วมทั้งขนาดตัวของผู้ป่วยและส่วนประกอบภายในช่องอก
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Imaging
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55254
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1699
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1699
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5874086330.pdf9.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.