Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55448
Title: | วิเคราะห์หลักกฎหมายระหว่างประเทศในคดีตีความคำพิพากษาเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ค.ศ. 2013 |
Other Titles: | Analysis of the rule of International law on the Judgement of the Request for Interpretation of the Judgement in the case Concerning the Temple of Preah Vihear 2013 |
Authors: | ธีรพงศ์ เรืองขำ |
Advisors: | ชุมพร ปัจจุสานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chumphorn.P@Chula.ac.th,chumphorn.P@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีคำพิพากษาคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ค.ศ. 1962 ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และประเทศไทยต้องถอนกองกำลังทหาร ตำรวจ หรือผู้ดูแล ออกจากบริเวณใกล้เคียงบนดินแดนกัมพูชา และต้องคืนโบราณวัตถุที่ได้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หากแต่ปัญหาข้อพิพาทได้เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 2007 เมื่อกัมพูชาขอให้องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นแหล่งมรดกโลก ประเทศไทยจึงได้ประท้วงแผนผังการจัดเขตพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งแสดงพื้นที่ทับซ้อน จำนวน 4.6 ตารางกิโลเมตรโดยประมาณ ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 คณะกรรมการมรดกโลกได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ได้นำไปสู่การปะทะกันทางอาวุธในพื้นที่ชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหารหลายครั้ง ระหว่างปี ค.ศ. 2008 - ค.ศ. 2011 กัมพูชาจึงร้องขอให้ศาลฯ มีคำขอให้ตีความคำพิพากษาคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ค.ศ. 1962 โดยมีประเด็นสำคัญคือ ขอให้ศาลฯ กำหนดสถานะทางกฎหมายของ “แผนที่ภาคผนวก 1” พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอคำสั่งมาตรการชั่วคราว การวิเคราะห์คำพิพากษาคดีตีความเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ค.ศ. 2013 ทำให้ทราบถึงวิธีการเข้าสู่ปัญหาของศาลฯ ฐานทางกฎหมาย (legal basis) และวิธีการที่ศาลฯ ปรับใช้หลักกฎหมาย (approach) ทั้งการอธิบายและขยายตัวบท ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่า (Value added) ในบริบทของกฎหมายระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี วิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้นำเสนอบทบาทสำคัญของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในการปรับใช้หลักกฎหมายในการตีความคำพิพากษา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการพัฒนาความรู้ในบริบทของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ผลที่ปรากฏชัดเจนภายหลังจากมีคำพิพากษาคดีตีความเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ค.ศ. 2013 ย่อมเป็นสิ่งยืนยันถึงการทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม โดยนำไปสู่การคลี่คลายของข้อพิพาท “อธิปไตยเหนือบริเวณของปราสาทพระวิหาร” ที่มีต่อเนื่องยาวนานและยุติสถานการณ์การปะทะกันทางอาวุธระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้สำเร็จ |
Other Abstract: | On 15th June 1962, the International Court of Justice (ICJ) delivered the judgement in the Case Concerning the Temple of Preah Vihear, finds that “the Temple of Preah Vihear is situated in territory under the sovereignty of Cambodia” and Thailand is under an obligation to withdraw at the Temple, or in its "vicinity on Cambodian territory” and to restore any objects, have been removed from the Temple or “the Temple area.” But the reoccurrence of dispute in 2007, Cambodia requested the UNESCO for the registration of Preah Vihear Temple as a World Heritage by the site management plan showed the disputed territory of 4.6 square kilometers between Thailand. In 2008, the inscription of Preah Vihear Temple, leading to several armed conflicts along the border area close to Preah Vihear Temple in 2008-2011. Eventually, the application for the interpretation of 1962 judgment was submitted by Cambodia and also requested to issue the provisional measure to ICJ which one of the important issues in such request concerned the determination of legal status of “Annex 1 map.” The analysis of 2013 ruling on the interpretation of Preah Vihear Temple case of this thesis led to the understanding of ICJ’s admission of problems, legal basis and approach used in explaining and expanding legal texts. It was regarded as the added value within the international law context in accordance with ICJ’s roles and missions for peaceful dispute settlement to the success not only in alleviating long disputes concerning “sovereignty over the region of the Temple of Preah Vihear” but also in ceasing armed conflicts between Thailand and Cambodia. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55448 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.474 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.474 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685979434.pdf | 14.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.