Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55651
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุวดี ศิริ-
dc.contributor.authorสุเนตร สงวนวงค์วิจิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:43:29Z-
dc.date.available2017-10-30T04:43:29Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55651-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มีที่ตั้งอยู่ห่างจากเขตเมืองกรุงเทพมหานคร จึงทำให้เสียเวลาในการเดินทาง นักศึกษาส่วนใหญ่จึงเลือกพักอาศัยใกล้มหาวิทยาลัยแทน และเนื่องจากจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีทำให้หอพักที่มีอยู่รอบมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอกับความต้องการ บริษัทพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) จึงสนใจลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจหอพักให้เช่า คือ โครงการยูนิลอฟท์ ศาลายา โดยนำแนวคิดของการออกแบบอาคารชุดมาใช้ในการออกแบบเพื่อดึงดูดผู้เช่า แต่เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่เคยมีการเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรม เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกว่ามีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่ออกแบบไว้หรือไม่ ผู้วิจัยจึงสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการตอบสนองความต้องการมากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ภายในห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในหอพัก เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ และเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับผู้ประกอบการหอพักต่อไป โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ จดบันทึกและถ่ายภาพประกอบเพื่อรวบรวมข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่า 1.การใช้พื้นที่ในห้องพัก สรุปได้ดังนี้ 1) ห้องนอน 1 2) ห้องนอน 2 พบว่ามีกิจกรรมการใช้พื้นที่มากกว่าที่ทางโครงการออกแบบไว้ทำให้พื้นที่คับแคบไม่สะดวกในการใช้งาน 3) ห้องสันทนาการ พบว่ามีกิจกรรมการใช้พื้นที่ตรงตามวัตถุประสงค์แต่มีการอุ่นอาหารและรับประทานอาหารในห้องพัก และไม่มีการเตรียมพื้นที่สำหรับอุ่นอาหารและล้างจานชาม 4) ห้องน้ำ พบว่ามีกิจกรรมการใช้พื้นที่ตรงตามวัตถุประสงค์แต่มีการซักผ้าในห้องน้ำจึงทำให้พื้นที่คับแคบใช้งานไม่สะดวก 5) ห้องแต่งตัว พบว่ามีกิจกรรมการใช้พื้นที่ตรงตามวัตถุประสงค์แต่มีการประกอบกิจกรรมอื่นที่มากกว่าที่ทางโครงการออกแบบไว้ทำให้พื้นที่สกปรกได้ง่าย 6) ระเบียง พบว่ามีกิจกรรมการใช้พื้นที่ตรงตามวัตถุประสงค์ แต่ไม่มีการเตรียมราวตากผ้าไว้ให้ 2.การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพัก สรุปได้ดังนี้ คือ ผู้อยู่อาศัยมีการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก ตามที่ทางโครงการหอพักได้จัดเตรียมไว้ให้ แต่พบว่ามีการซื้ออุปกรณ์มาเพิ่มเติม ตามแต่ลักษณะเฉพาะตัวของผู้อยู่อาศัยเอง 3.การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ สรุปได้ดังนี้ คือ อยู่อาศัยมีการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก ตามตามวัตถุประสงค์ที่ทางโครงการหอพักได้จัดเตรียมไว้ให้ ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีการใช้งานในเวลาเดียวกันจึงทำให้มีพื้นที่และเครื่องเรือนไม่เพียงพอ ไม่สะดวกกับการใช้บริการ ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องออกไปใช้บริการนอกหอพักแทน จึงสรุปได้ว่า โครงการมีการออกแบบพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของผู้พักอาศัย แต่เนื่องจากผู้พักอาศัยเป็นนักศึกษา จึงทำให้มีกิจกรรมที่จำเป็นเพิ่มเติม คือ การประชุมกลุ่ม ทำรายงาน ส่งผลให้มีความต้องการพื้นที่ส่วนกลางในการทำกิจกรรมดังกล่าว แต่เนื่องจากโครงการมีรูปแบบเป็นหอพัก ทำให้ต้องเปิดปิดเป็นเวลา เป็นข้อจำกัดในการทำกิจกรรม ดังนั้น ผู้ออกแบบและผู้ประกอบการหอพักจึงควรคำนึงถึงพฤติกรรมเพิ่มเติมดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบ พื้นที่ในห้องพักและสิ่งอำนวยความสะดวกในหอพักต่อไป-
dc.description.abstractalternativeMahidol University, Salaya Campus is located far from Bangkok’s metropolitan area. Thus, to avoid a long commuting time, most students choose to stay in accommodation close to the campus. However, due to an increase in the number of the students annually, there is an inadequate supply of off-campus accommodation. As a result, Property Perfect Public Company Limited has decided to invest in a dormitory project called Uniloft Salaya, which offers a condominium-like atmosphere to attract residents. However, no data has ever been collected regarding the residents’ behaviour towards the use of residential areas and facilities. As a result, this study aims to examine whether such usage corresponds to what the project’s designers have intended so that the residents’ demand can be better met. In other words, the results will shed light on how residents make use of common facilities and the space inside their room. The methodology included interviews, observation, note-taking and photographing. The findings reveal the following characteristics. Regarding own space usage, activities were conducted in Bedroom 1 and Bedroom 2 to the extent that they went beyond the capacity of what had been designed. In terms of the recreation area, activities were conducted in line with the designers’ objective. Nevertheless, it was discovered that the area was also used for food heating and washing dishes for which the designers unfortunately had not made sufficient room. Concerning the bathroom, activities were conducted in line with the designers’ objective. However, it was discovered that it was also used for doing the laundry which, in turn, made the residents feel physically uncomfortable. In regards to the changing room, activities were conducted in line with the designers’ objective, but there were also additional activities which could easily make it dirty. Finally, as for the balcony, activities were conducted in line with the designers’ objective. However, no clothes lines had been prepared. Regarding their own facility usage, the residents used the facilities provided by the operator. However, it was discovered that additional equipment had been purchased to suit individual lifestyles. Regarding the use of common in-house facilities, they were used according to the designers’ objective. Unfortunately, most residents used them at the same time, causing an insufficient supply. As a result, some had to rely on facilities elsewhere. It can be concluded that the project has designed an area and facilities which can meet the residents’ needs. However, it is worth noting that since most residents are students, they may seek a common area to engage in extra activities such as holding group discussions or doing term papers. The project imposes a limitation on this matter because it fixes opening and closing times. Therefore, to better address their needs, it is suggested that the project operator take this matter into consideration.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.174-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleพฤติกรรมการใช้พื้นที่ในห้องพักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการกรณีศึกษา โครงการยูนิลอฟท์ ศาลายา-
dc.title.alternativeBEHAVIOR OF USING AREA INSIDE ROOM AND FACILITY IN DORMITORY IN CASESTUDY OF UNILOFT SALAYA PROJECT-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorYuwadee.S@Chula.ac.th,Yuwadee.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.174-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873594625.pdf9.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.