Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56796
Title: โครงการ "เมตตาธรรม-ความเป็นธรรมในเวสสันดรชาดก" (เศรษฐธรรมแห่งการให้กับความเป็นธรรมในเวสสันดรชาดก) : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: เมตตาธรรม-ความเป็นธรรมในเวสสันดรชาดก : เศรษฐธรรมแห่งการให้กับความเป็นธรรมในเวสสันดรชาดก Compassion and justice in Vessantara Jataka Tale
Authors: สุวรรณา สถาอานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: เวสสันดรชาดก -- การวิจารณ์และการตีความ
เวสสันดรชาดก -- ปรัชญา
ชาดก -- ปรัชญา
Jataka stories -- Philosophy
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องความเป็นธรรมใน เวสสันดรชาดก เริ่มจากการวิเคราะห์การบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรในฐานะเศรษฐธรรมแห่งการให้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการถกเถียงเรื่องความเป็นธรรมทางศีลธรรม (moral justice) ในเวสสันดรชาดก ขึ้นอยู่กับการใช้กรอบการวิเคราะห์ที่ทอดยาวออกไปมากน้อยเพียงใด หากกำหนดกรอบการวิเคราะห์ไว้เฉพาะเหตุการณ์และเวลาที่เกิดขึ้นในตัวบท การให้ทานของพระเวสสันดรหรือการบริจาคบุตร-ภริยานั้น ถือว่าเป็นกิจกรรมที่บำเพ็ญเพื่อแลกเอาพระโพธิญาณในอนาคต ซึ่งหมายความว่าการบำเพ็ญทานบารมียังอยู่ในตรรกะแห่งการแลกเปลี่ยน (Logic of exchange) การวิเคราะห์ในกรอบนี้ทำให้พิจารณาได้ว่า ไม่มี “ความเป็นธรรมทางศีลธรรม” ในเวสสันดรชาดก ทั้งนี้เพราะการให้ทานเป็นการ “แลกเปลี่ยน” แบบหนึ่ง เพื่อเป้าหมายของพระเวสสันดรเอง ทั้งนี้เป็นการ “ใช้” ความทุกข์ของครอบครัวเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสำหรับวัตถุประสงค์ในอนาคตของพระเวสสันดร อย่างไรก็ตาม หากกำหนดกรอบการวิเคราะห์ที่ทอดยาวออกไปถึงพระชาติต่อไปที่พระเวสสันดรประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและบรรลุโพธิญาณตามปณิธานได้สำเร็จ ความหมายของการบริจาคบุตร-ภริยา ถือว่าอยู่ในตรรกะแห่งการให้ทาน (Logic of giving) เพราะเป็นเงื่อนไขจำเป็นต่อการบรรลุโพธิญาณ อันจะทำให้การบริจาคของพระเวสสันดรมิได้อยู่ในตรรกะแห่งการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์ในกรอบนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีความเป็นธรรมทางศีลธรรมในแง่ที่ว่า การบรรลุโพธิญาณของพระพุทธองค์เป็นการชี้นำทางให้มนุษย์ทั้งมวลได้ปฏิบัติตนเพื่อการพ้นทุกข์ ในแง่นี้ ความทุกข์ยากของครอบครัวพระเวสสันดรจะมีความหมายใหม่ในเงื่อนไขอีกชุดหนึ่ง
Other Abstract: This study of the question of justice in Vessantara Jataka Tale is based on an analysis of the great giving of Vessantara as indicating an “economy of giving.” This study illustrates that the discussion of moral justice in Vessantara Jataka Tale depends on the conceptual framework adopted. A framework which focuses the analysis only within the time frame and events in the story would indicate that Vessantara’s giving is actually a form of exchange, ie., a giving in exchange for future enlightenment. This means that there is no “moral justice” in the story as “giving” is merely a form of exchange for Vessantara’s own spiritual purpose. It raises great concern regarding the use of his family’s suffereings as a pledge for his own purpose. However, if the adopted conceptual framework focuses on the time frame beyond the story, ie., covering the next birth as Prince Siddhatta, then Vessantara’s giving of his wife and children would indicate a logic of giving, as this sacrifice is a necessary pre-requisite for enlightenment. Within this latter framework, some form of moral justice could be constructed as the ultimate aim of the Buddha’s enlightenment is for the cessation of suffering of all peoples. The suffering of Vessantara’s family would be recast within a different condition and therefore given a different meaning.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56796
Type: Technical Report
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_sa_014848.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.